คอลัมนิสต์

ชัดเจน...ทนายคนดังฟันธง แท้จริง สทศ.ไม่มีอำนาจ จัดทดสอบ 'โอเน็ต' ให้นักเรียนเลย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กว่า10 ปี หน่วยงานนี้ จัดสอบให้นักเรียนไทยทั่วประเทศ แต่ 'ทนายคนดัง' ฟันธง ชัดเจน...แท้จริง สทศ.ไม่มีอำนาจจัดทดสอบ 'โอเน็ต' ให้นักเรียนเลย.....เรื่องโดย กมลทิพย์ ใบเงิน

กำลังจะกลายเป็นเรื่องยุ่ง อีลุงตุงนัง เกี่ยวกับการทดสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 หรือป.6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือ ม.3 ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ.เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบนั้น

อ่านข่าว : ด่วน 'ณัฏฐพล' รมว.ศธ. ร่อนหนังสือถึง สทศ.ยกเลิกสอบโอเน็ต ป.6,ม.3

           : สอบหรือไม่สอบ 'โอเน็ต' สุดท้ายจบที่นักเรียน อ้างเป็นสิทธิ์ส่วนตัวได้

ดูเหมือนว่า หลังจากนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)ลงนามในหนังสือถึงผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ให้สทศ.ยกเลิกการจัดทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ตปีการศึกษา 2563 แต่สทศ.ยังเดินหน้าจัดสอบเหมือนเดิม

เหนืออื่นใด ในการยกเลิกหรือไม่ยกเลิกสอบโอเน็ต นั้น แท้จริงเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานไหนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หาคำตอบจากทนายคนดัง หรือ นายคมเทพ ประภายนต์ อุปนายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ เปิดเผย‘คมชัดลึกออนไลน์’ ในเรื่องนี้ว่า  ต้องย้อนกลับไปดูที่มาของการจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ.ก่อน พบว่าสทศ.เป็นองค์กรที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฏีกา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)เป็นผู้เสนอ และปฏิบัติหน้าที่ตามศธ.สั่งการผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.)

หากสทศ.มีอำนาจในการจัดทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือสอบโอเน็ตจริง อย่างถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ทำไมนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร นักเรียนที่เรียนในหลักสูตรสองภาษาถึงไม่ต้องสอบโอเน็ต และสทศ.บังคับให้สอบก็ไม่ได้

ที่น่าสังเกตุ สทศ.ทำหน้าที่จัดสอบโอเน็ต นักเรียนระดับชั้นป.6, ม.3 และ ม.6 มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จากจุดเริ่มต้นเพียงจัดสอบวัดความรู้และความคิดของนักเรียน ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 เพื่อนำผลสอบมาพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนให้ตรงตามศักยภาพของเด็กแต่ละคนให้ได้มากที่สุด

วันเวลาเปลี่ยน การสอบโอเน็ตไม่ได้มีเพียงเอาไว้ประมินคุณภาพของผู้เรียนเท่านั้น  เมื่อการสอบโอเน็ตถูกนำมาเชื่อมโยงกับการสอบเข้าเรียนในระดับอดุมศึกษา

การสอบโอเน็ตกลายเป็นอีกวิชาที่เด็กนักเรียนต้องเรียนพิเศษกับติวเตอร์ เพื่อให้ผลการสอบออกมาดี บางโรงเรียนถึงขั้นจัดสอนพิเศษหลังเลิกเรียน หรือวันหยุด เพื่อให้ภาพรวมคะแนนโอเน็ตของโรงเรียนออกมาดี

โอเน็ตกลายพันธุ์ และสร้างความเหลื่อมล้ำในวงการศึกษา เมื่อช่องว่างระหว่านักเรียนยากจนกับนักเรียนที่มาจากครอบครัวฐานะดี โอกาสสอบโอเน็ตได้คะแนนดีผันแปรตามไปด้วย 

โอเน็ตกลายเป็นกระสในสังคม เมื่ออยากได้คะแนนเต็มหรือคะแนนดีต้องเสียเงิน อีกทั้งการจัดสอบแต่ละครั้ง นักเรียนต้องเดินทางไกลออกจากบ้านพักหรือที่พัก มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งมีค่าอาหาร ที่ผู้จัดสอบไม่ได้รับผิดชอบอะไร

ทนายคมเทพ ย้ำว่า  ข้อเท็จจริง เมื่อสทศ.เกิดจากกฏหมายต่ำศักดิ์กว่ากฏหมายหมายแม่บมของการศึกษา และต้องทำหน้าที่ตาม รมว.ศธ.มีข้อสั่งการ รวมทั้งการจะยกสอบโอเน็ตหรือไม่ ไม่ต้องนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพราะเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของ รมว.ศธ. สามารถสั่งยกเลิกได้เลย

“ อย่าลืมว่าเมื่อสทศ.ไม่มีอำนาจในการจัดทดสอบโอเน็ต และไม่มีสิทธิ์เอาคะแนนของเด็กหรือนักเรียนไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นได้ด้วย เพราะเด็กที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน ได้รับการคุ้มครองจากกฏหมายรัฐธรรมนูญ2560, พ.ร.บ.การศึกษา 2542 และคำสั่งตามมาตรา 44 ข้อ 8 คุ้มครองเด็กอยู่แล้ว” ทนายคมเทพ กล่าวย้ำในที่สุด

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ