คอลัมนิสต์

สอบหรือไม่สอบ 'โอเน็ต' สุดท้ายจบที่นักเรียน อ้างเป็นสิทธิ์ส่วนตัวได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การสอบโอเน็ตยังเป็นปัญหา กระทรวงศึกษาธิการโยนภาระให้นักเรียนตัดสินใจ อ้างเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของนักเรียนได้ สวนทาง สทศ. ยังเดินหน้าจัดการสอบ หากจะยุติต้องเป็น มติ ครม.....บทวิเคราะห์ โดย ชัยวัฒน์ ปานนิล

การจัดสอบโอเน็ต หรือไม่ ยังเป็นปัญหา แต่ที่ชัดเจนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ลงนามในหนังสือถึงผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. เรื่อง การยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) หรือโอเน็ต ปีการศึกษา 2563

อ่านข่าว : ด่วน 'ณัฏฐพล' รมว.ศธ. ร่อนหนังสือถึง สทศ.ยกเลิกสอบโอเน็ต ป.6,ม.3         

โดยอ้างสาเหตุ การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)หรือโควิด-19 ทำให้สถานศึกษาไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และลดความเครียดจากการทดสอบของผู้เรียน เป็นข้อแรก ขอยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)โอเน็ต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า จะไม่มีการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ของการศึกษาภาคบังคับอีกต่อไป

ต่อมาวันรุ่งขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2563 มติบอร์ด สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) แจ้งว่า ไม่ขัดข้องในการยกเลิกการทดสอบโอเน็ต ชั้น ป.6 และ ม.3 ปีการศึกษา 2563 ตามนโยบาย ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

แต่ก็ยังมีความเห็นย้อนแย้งว่า ปีการศึกษา 2563 จำเป็นต้องมีการทดสอบโอเน็ตเพื่อประเมินมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติอยู่ ก็จะเสนอทั้งผลกระทบ ด้านบวกและลบ ในการสอบโอเน็ต ต่อนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

หลังจากนั้นเรื่องก็เงียบหายไปนาน 2 สัปดาห์ จนกระทั้งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ได้มีหนังสือราชการถึงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา(ผอ.สพท.) ทุกเขต เรื่อง นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานโอเน็ต

 โดยอ้าง ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานโอเน็ตโดยแจ้งว่า การเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ให้เป็นไปตามความสมัครใจและเป็นสิทธิ์ส่วนตัวโดยเฉพาะของนักเรียน ทั้งนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป

เป็นที่น่าสังเกตว่า ประกาศฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามไว้ ตั้งแต่ วันที่ 25 ธันวาคม 2563 หลังบอร์ด สทศ. มีมติ ทำไมถึงมาแจ้งเอาตอนนี้

สำหรับ การสอบโอเน็ต หรือ O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชาติ โดยมีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบและจัดสอบทั่วประเทศ

ที่ผ่านมาการข้อสอบ O-NET ในมีปัญหามาก คะแนนโดยเฉลี่ยของเด็กต่ำมาก ทั้ง ๆ ที่เด็กส่วนใหญ่เรียนกวดวิชากัน ในช่วงที่ผ่านมามีความพยายามในปฏิรูปการศึกษามาโดยตลอด

แต่ผลคะแนนระดับชาติกลับไม่ตอบโจทย์ มิหนำซ้ำยังสะท้อนว่า คะแนนเฉลี่ยของเด็กนักเรียนต่ำมาก จึงเป็นปัญหาที่ว่าถึงที่สุดแล้ว เรานำผลคะแนนโอเน็ต ไปปรับใช้พัฒนาการเรียนการสอนได้หรือไม่

อีกทั้งเป้าหมายการสอบโอเน็ต เพื่ออะไร และช่วยทำให้นักเรียน มีพัฒนาการในทุกๆด้านดีขึ้นได้หรือไม่ และจริงไหม

 

แต่ในปีการศึกษา 2563 เกิดเหตุการณ์ความคิดไม่ตรงกันของสองฝ่าย กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำเนินการจัดการทดสอบ ประกาศยกเลิกการทดสอบ และจบที่นักเรียนต้องตัดสินใจว่า จะสอบ หรือไม่สอบโอเน็ต 

ส่วนทางผู้จัดการทดสอบหรือ สมศ. ก็ยังเดินหน้าจะจัดการสอบให้ได้ เป็นการบริหารงานแบบ ไม่อ่านไลน์กลุ่ม แล้วแบบนี้นักเรียนจะทำอย่างไร

ว่ากันว่า สทศ. ใช้งบประมาณจำนวน 700 ล้านบาท ในการจัดสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2563 ทุกอย่างจ่ายหมดแล้ว จะไม่สอบก็ทำใจลำบาก ที่สำคัญเก็บหัวคิวมาเรียบร้อย หากต้องยกเลิกสัญญาก็คงรับไม่ได้ เนื้ออยู่ในปากใครจะยอมคายออกมา

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ