คอลัมนิสต์

"ภูพยัคฆ์" ศูนย์การนำคอมมิวนิสต์ไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนอดีต ธงค้อนเคียวเหนือภูพยัคฆ์ ทัวร์พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ พคท. 

++
ไม่น่าเชื่อว่าประเด็น “ค้อนเคียว” ในม็อบราษฎร จะลามไปไกลถึงข้อเรียกร้องให้นำ “กฎหมายคอมมิวนิสต์” กลับมาใช้

 

ด้วยความหลากหลายของแนวร่วมราษฎร ที่เคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองมาแต่เดือน ก.ย.2563 ปรากฏว่า กลุ่มเยาวชนปลดแอก ได้นำเสนอชุดความคิดคอมมิวนิสต์ ทำเอาเพื่อนฝูงตกอกตกใจ ต้องออกมาแจกแจงว่า ไม่เอาด้วย
    

 

อ่านข่าว... จอบเบิ่งสหาย "ค้อนเคียว" ไทย

\"ภูพยัคฆ์\" ศูนย์การนำคอมมิวนิสต์ไทย

อนุสรณ์สถาน ภูพยัคฆ์


    

 

อีกด้านหนึ่งของสังคมไทย  ได้บรรจุงานรำลึกอนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์ ไว้ในปฏิทินเทศกาลงานท่องเที่ยวประจำเดือน ธ.ค.ของทุกปี ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันที่ 12-13 ธ.ค.2563 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ รับผิดชอบงานส่งเสริมการตลาด
    

อนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์ ตั้งอยู่บนเนินเขาในหมู่บ้านน้ำรีพัฒนา ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน และมีพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งคือ สำนัก 708 ที่ตั้งศูนย์การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) 
    

ศูนย์การนำ พคท.แห่งนี้ เป็นผู้บัญชาการกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) ที่กระจายตัวอยู่ในเขตป่าเขามากกว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศไทย ระหว่างปี 2511-2525

 

\"ภูพยัคฆ์\" ศูนย์การนำคอมมิวนิสต์ไทย

ทางขึ้น สำนัก 708


++
น่านเหนือ
++
หลังปี 2504 ศูนย์การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ยึดแนวทางชนบทล้อมเมือง จึงได้เคลื่อนย้ายองค์กรนำจากกรุงเทพฯ เข้าสู่เขตดงพระเจ้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และย้ายไปอยู่บนเทือกเขาภูพาน อ.นาแก จ.นครพนม 
    

ปี 2511 องค์กรนำ พคท.ย้ายจากภาคอีสาน ไปภาคเหนือ โดยเข้าไปตั้งมั่นอยู่บนภูพยัคฆ์ ยอดภูสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร และอยู่ไม่ไกลจากชายแดนไทย-ลาว 
    

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชัน อยู่ไม่ไกลจากพรมแดนไทย-ลาว และสามารถเดินทางไปเมืองจีน ผ่านแขวงไซยะบุลี แขวงอุดมไซ แขวงหลวงน้ำทา
    

ก่อนหน้านั้น ผู้ปฏิบัติงาน พคท.ได้เข้ามาเคลื่อนไหวปลุกระดมชาวลัวะ ม้ง และผู้ยวน ให้เข้าร่วมการปฏิวัติ สร้างกำลังทหาร และควบคุมหมู่บ้านต่างๆ ใน อ.ทุ่งช้าง อ.ปัว และอ.บ่อเกลือ ประกาศเป็นเขตปลดปล่อย
    

มีการสร้างฐานที่มั่นน่าน และตั้งสำนัก 708 ศูนย์การนำ พคท. ที่มีกระท่อมสหายนำ ได้แก่วิรัช อังคถาวร, ธง แจ่มศรี, พ.ท.โพยม จุลานนท์, อัศนี พลจันทร ฯลฯ พร้อมกับห้องประชุมของคณะนำ 
    

เนื่องจากความขัดแย้งใน “พรรคพี่น้อง” พรรคคอมมิวนิสต์จีนทะเลาะพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม, ความล่มสลายของเขมรแดง และพรรคประชาชนปฏิวัติลาวขับไล่สมาชิก พคท.ออกจากแผ่นดินลาว 
    

ฐานที่มั่นน่าน จึงไม่ปลอดภัย องค์กรนำ พคท. จึงย้ายจากภูพยัคฆ์ ไปอยู่ช่องช้าง จ.สุราษฏร์ธานี
 

 

\"ภูพยัคฆ์\" ศูนย์การนำคอมมิวนิสต์ไทย

โปรแกรมท่องเที่ยวของ จ.น่าน

++
ล่มสลาย
++
ปี 2525-2527 กองทัพภาคที่ 3 เปิดยุทธการทางทหาร บุกเข้าโจมตีฐานที่มั่นน่านอย่างต่อเนื่อง ทำให้สหายชาวลัวะ และม้ง ได้เข้ามอบตัว เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.)
    

ในขอบเขตทั่วประเทศ กองป่าของ พคท. ได้ปิดฉากลง พร้อมกับการเข้ามอบตัวของอดีต ทปท. 
    

ปี 2542 รัฐบาลชวน ได้เสนอยกเลิก พรบ.คอมมิวนิสต์ฯ อดีตสมาชิก พคท. และอดีตทหารป่า กลายเป็น ผรท. และมีการเคลื่อนไหวขอความช่วยเหลือเรื่องที่ดินทำกินจากภาครัฐ ตามนโยบาย 66/2523 สมัยรัฐบาลเปรม 
    

16 ปีที่แล้ว มิตรสหาย จ.น่าน จึงระดมทุนก่อสร้างอนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์ และได้รับความร่วมมือจากสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน จึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 
    

ปัจจุบัน องค์กรนำของ พคท. ยังดำรงอยู่ แต่ไม่ได้จัดตั้งมวลชน และมีกองกำลังเหมือนในอดีต 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ