คอลัมนิสต์

เปิดรายงานผลสอบ"คดีบอส"ชุด"วิชา"ชี้ มีการร่วมมือสมคบคิดกันอย่างเป็นระบบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การตั้งข้อหา การสอบสวน การกลับคำสั่งฟ้องเป็นไม่ฟ้อง การไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการ เป็นขบวนการดำเนินคดีนี้ที่เชื่อได้ว่ามีการร่วมมือสมคบคิดกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการ ยธ.,ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทนายความ มีการสมยอมกันโดยไม่สุจริต

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ที่มีนายวิชา มหาคุณ เป็นประธานฯ ได้ทำบทสรุปรายงานผลตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายคดีนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ขับรถชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ เสียชีวิต เสนอ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ มีเนื้อหาที่น่าสนใจยิ่ง ดังนี้ ..คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "คณะกรรมการ") ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญากับนายวรยุทธ อยู่วิทยา(ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า"ผู้ต้องหา")แล้ว พบว่า การร่วมมือกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทนายความ พยาน และบุคคลทั่วไป ในการเข้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการดำเนินคดีจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ใช้อิทธิพลบังคับ และการสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
 

ในชั้นการสอบสวนจากหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่แสดงปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดและบ่งชี้สารเสพติดในร่างกาย รายงานการตรวจพิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับความเร็วของรถในขณะเกิดเหตุตลอดจนความพยายามอย่างต่อเนื่องในการช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย คณะกรรมการเชื่อว่าผู้ต้องหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ดาบตำรวจวิเซียร กลั่นประเสริฐ ผู้บังคับหมู่งานปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ ถึงแก่ความตาย
เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ การที่ผู้ต้องหาไม่หยุดรถในทันทีหลังจากชนผู้ตาย แต่กลับพาร่างผู้ตายไปไกลกว่หกสิบเมตรและลากรถจักรยานยนต์ของผู้ตายไปไกลกว่าหนึ่งร้อยหกสิบเมตร ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าผู้ต้องหาจะกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล พราะวิสัยวิญญูชนเมื่อขับรถชนคนหรือสิ่งใดแล้วย่อมต้องหยุดรถทันทีเพื่อตรวจสอบความเสียหายหรือให้ความช่วยเหลือ แต่ผู้ต้องหาหาทำเช่นนั้นไม่

ความพยายามในการช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีเกิดขึ้นทันทีภายหลังจากเกิดเหตุ โดยสารวัตรปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ ได้สร้างพยานหลักฐานเท็จโดยการนำตัวลูกจ้างของครอบครัวอยู่วิทยามามอบตัวรับสมอ้างว่าเป็นผู้ขับรถ แม้ต่อมาในวันเดียวกันผู้ต้องหายอมจำนนมามอบตัวต่อพนังนสอบสนกลับให้การภาคเสธโดยอ้างว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดของผู้ตาย

และผู้ต้องหาเพิ่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว ข้ออ้างอันเป็นเท็จนี้เป็นเหตุให้พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาอันเป็นเท็จและไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อผู้ตายซึ่งตายในทันทีหลังจากถูกชนว่าเป็นผู้ต้องหาร่วม ทั้งที่การตั้งข้อหาจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีชีวิตอยู่และได้แจ้งข้อหาให้แก่ผู้นั้น อันนำเชื่อว่าการตั้งข้อหาอันเป็นเท็จและไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เกิดจากกรวางแผนของพนักงานสอบสวนและทีมทนายความของผู้ต้องหา โดยกล่าวหาผู้ตายว่าประมาทด้วยเพื่อทำให้รูปคดีเอื้อประโยชน์ต่อการช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาพ้นผิด
 แม้ว่าในเวลาต่อมา พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาผู้ต้องหาจำนวน ๕ ข้อหา ได้แก่ ข้อหาขับรถขณะมึนเมาสุรา ข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ข้อหาขับรถโดยประมาททำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ข้อหาขับรถแล้วไม่หยุดให้ความช่วยเหลือและไม่แจ้งเจ้าพนักงาน ข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่กลับไม่ตั้งข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษทั้งที่มีการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์พบสารแปลกปลอมในร่างกาของผู้ต้องหาที่เชื่อมโยงกับการเสพโคเคนและการดื่มแอลกอฮอล์

นอกจากนี้ ในข้อหาขับรถขณะเมาสุราพนักงานสอบสวนก็ได้รับฟังความเห็นของพยานฝ่ายผู้ต้องหาซึ่งขัดแย้งกับผลการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์มาเป็นเหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องคดี พฤติการณ์ดังกล่าวนี้เชื่อว่าเป็นความพยายามในการช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา และทำให้รูปคดีเอื้อประโยชน์ต่อการช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาพ้นผิดในคดีนี้ ได้มีการสอบสวนคดีจนเสร็จสิ้นและมีความเห็นทางคดีในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ และได้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาให้กับพนักงานอัยการในวันที่ ๔ มีนาคม๒๕๕๖ จึงเป็นการส่งสำนวนการสอบสวนที่ล่าช้าเกินกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีการนำตัวผู้ต้องหาไปฝากขังต่อศาลก่อนครบกำหนดปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นการพิจารณาของพนักงานอัยการ
คณะกรรมการพบว่า ระบบการร้องขอความเป็นธรรมภายใต้ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ ๒๕๔๗ เปิดช่องให้ฝ่ายผู้ต้องหาใช้เป็นเครื่องมือในการประวิงคดีโดยผู้ต้องหาไม่ต้องยี่นด้วยตนเองและทำให้คดีขาดอายุความ รวมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานอัยการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมจากต้องหาได้อย่างไม่มีข้อจำกัดในเหตุและจำนวนครั้ง ทั้งยังอนุญาตให้มีการกลับความเห็นหรือคำสั่งฟ้องในคดีอาญาซึ่งสั่งไปแล้วได้
ในคดีนี้ การร้องขอความเป็นธรรมตามระเบียบดังกล่าวจึงถูกใช้เป็นกลไกในการประวิงคดีและเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาให้ต้องรับโทษตามกฎหมายโดยความร่วมมือของผู้ต้องหา ทีมทนายความ เจ้าหน้ที่ของรัฐ และบุคคลทั่วไป โดยปรากฏว่า มีการยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการเป็นจำนวนถึง  ๑๔ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ เมษาย ๒๕๕๖ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ ด๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ครั้งที่สามเมื่อวันที่ ๔ กันยาย ๒๕๕๖ ครั้งที่สี่เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ครั้งที่ห้าเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗ ครั้งที่หกเมื่อวันที่ ๒ มินายน ๒๕๕๗ ครั้งที่เจ็ดเมื่อวันที่ ด๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ครั้งที่แปดเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ครั้งที่เก้าเมื่อวันที่ ๑๒ มกรดม ๒๕๕๙ ครั้งที่สิบเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ครั้งที่สิบเอ็ดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ ครั้งที่สิบสอง เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๐ ครั้งที่สิบสามเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ และครั้งที่สิบสี่เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๒ โดยตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่สิบสาม อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดที่มีอำนาจสั่งคดีร้องขอความเป็นรรมในแต่ละครั้งได้สั่งยุติการร้องขอความ
เป็นธรรม

หลังจากที่ได้มีการสั่งให้มีการสอบสวนเพิ่มติม และได้มีการดำเนินการสอบสวนและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานอย่างรอบคอบ การร้องขอความเป็นรรรมกลับเป็นผลสำเร็จในการร้องขอครั้งที่สิบสี่จากการพิจารณาเพียงพยานหลักฐานเดิมที่ได้คยมีการพิจารณาไปแล้วและเห็นว่ามีพิรุธและไม่นำเชื่อถือในการพิจารณาการร้องขอความธรรมในหลายครั้งก่อนหน้า โดยเฉพาะอัยการสูงสุด รวมถึงรองอัยการสูงสุดหลายคน ได้พิจารณาพยานหลักฐานชุดนี้แล้ว แสะมีคำสั่งให้ยุติเรื่องไปก่อนหน้านั้นหลายครั้งหลายครา
การร่วมมือกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหนทาการเมือง ทนายความ พยาน และบุคคลทั่วไปในการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมในคดีนี้ ปรากฎหลักฐานอย่างชัดเจนว่า มีบุคคลจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันจัดให้รองศาสตราจารย์ ส.ได้พบกับพันตำรวจโท ร. เพื่อนำเสนอวิธีการคำนวณความเร็วใหม่และมีการสอบปากคำพันตำรวจโท ธ. ภายใต้การกำกับของพนักงานอัยการไม่ทราบชื่อเพื่อจัดทำพยานหลักฐานเท็จ โตยแก้ไขวันที่สอบปากคำให้เป็นวันที่ ๒๖ กุมภาพันร์๒๕๕๘ และวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๘ สำหรับใช้ในการร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการและต่อคณะกรรมาธิการในเวลาต่อมา โดยการกดดันหรือใช้อิทธิผลบังคับ
ให้พันตำรวจโท ร. ให้การเปลี่ยนความห็นในเรื่องความเร็วของรถผู้ต้องหาในขณะที่ชนผู้ตายจาก ๑๗๗ กิโลมตรต่อชั่วโมง ตามที่ปรากฏในรายงานการพิสูจน์หลักฐานครั้งแรกเป็นความเร็วที่ไม่เกิน ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องกับผลการคำนวณความเร็วรถของรองศาสตราจารย์ ส. ซึ่งได้มีการตระเตรียมกันไว้ล่วงหน้า โดยไม่ให้โอกาสพันตำรวจโท ร. ตรวจสอบวิธีการคำนวณความเร็วรถของรองศาสตราจารย์ ส. อย่างรอบคอบ แม้ว่าในเวลาต่อมาพันตำรวจโท ร. จะพยายามขอยกเลิกคำให้การภายหลังจากที่ได้ทำการตรวจสอบอย่างรอบคอบจนพบความผิดพลาดของวิธีการคำนวณความเร็วรถของรองศาสตราจารย์ ส. แต่ได้รับการปฏิเสธจากพันตำรวจโท ว. โดยอ้างว่าพนักงานสอบสวนส่งสำนวนคดีให้พนักงานอัยการพิจารณาแล้ว 
 อนึ่ง การลงวันที่อันเป็นเท็จดังกล่าวนำเชื่อว่าเป็นไปเพื่อกัน บุคคลบางคนให้ออกจากเรื่องนี้ และเพื่อให้การคำนวณความเร็วรถใหม่ใช้เวลาตามควรเพื่อให้น่าเชื่อถือ การร่วมมือระหว่างทนายความ ผู้ต้องหา ตำวจชั้นผู้ใหญ่ พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการดังกล่าว ย่อมทำให้การสอบสวนเป็นการสอบสวนที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้ง
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการใช้พยานหลักฐานเท็จในการร้องขอความเป็นธรรม ยังไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ต้องหา ทีมทนายความ และกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องรับโทษ ได้ใช้อิทธิพลทางการเมืองกดดันกระบวนการยุติธรรม โดยการร้องขอความเป็นธรรมเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ กับคณะกรรมาธิการที่ประกอบด้วยข้าราชการ ทหาร ตำรวจระดับสูง เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงในกระบวนการยุติธรม โดยเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ กรรมาธิการบางคนได้ให้ความเห็นและอ้างพยานหลักฐานเท็จเกี่ยวกับความเร็วรถของผู้ต้องหาที่ตนมีส่วนจัดให้มีการจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการร้องขอความเป็นธรรมให้กับผู้ต้องหา ความพยายามนี้สอดรับกับแนวทางการทำงานและผลสรุปของคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมและมีกรรมาธิการบางคนเป็นประธานคณะทำงาน แม้ว่ากรรมาธิการหลายคนไม่ประสงค์ให้คณะกรรมาธิการดำเนินการในลักษณะที่ก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่และใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมก็ตามแต่กรรมาธิการผู้นี้ได้ไปเป็นพยนและให้ปากคำสนับสนุนข้ออ้างของผู้ต้องหาในการสอบสวนเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ ด้วย

แม้ว่าการร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการจะไม่ประสบความสำเร็จในช่วง ๑๓ ครั้งแรก ฝ่ายผู้ต้องหาก็ยังไม่ลดละความพยยามในการร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการโดยใช้พยานหลักฐานเท็จอีก โดยเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๒ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากผู้ต้องหาได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ขอให้สอบปากคำเพิ่มเติม พลอากาศโท จ. หรือนาย จ. ในประเด็นความเร็วของรถในขณะที่ผู้ต้องหาขับขี่รถยนต์ว่าขับขี่ด้วยความเร็วเท่าใดและในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาร้องขอความเป็นธรรมโดยพนักงานอัยการตามลำดับชั้นนั้น อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีร้องขอความเป็นธรรม ๒ ทำความเห็นให้มีการสอบเพิ่มเติม พลอากาศโท จ. นาย จ. พันตำรวจโท ร. รองศาสตราจารย์ ส. รวมทั้งให้พิจารณารายงานการประชุมคณะกรรมาธิการครั้งที่ ๔๗/๕๙ ในขณะที่อัยการผู้เชี่ยวชาญพิศษ สำนักงานกิจการอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการในหน้าที่อัยการพิเศษฝ่ายคดีร้องขอความเป็นธรรม ๒ ทำความเห็นให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากเห็นว่าพยานหลักฐานที่ผู้ร้องขอความป็นธรรมเสนอไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงความเห็นและคำสั่งเดิมได้ ประกอบกับการที่ผู้ต้องหาเคยร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาหลายครั้งอาจเชื่อได้ว่าเป็นการประวิงคดี และผู้ต้องหาซึ่งอยู่ระหว่างการหลบหนีคดีมิได้มาร้องขอความเป็นธรรมด้วยตัวเอง

ความเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนโดยอัยการพิเศษฝ่าย สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว รักษาการในตำแหน่งรองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีกิจกรอัยการสูงสุด อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุด รักษาการในตำแหน่งอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุด กลับมีความเห็นคล้อยตามกับความเห็นของอัยการผู้ทำความเห็นชั้นต้น
 นาย น. อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง รักษาการในตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด มีความเห็นเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ให้มีการสอบพยานเพิ่มเติม โดยเจาะจงให้มีการสอบเพิ่มเติมเฉพาะพลอากาศโท จ. และนาย จ. เท่านั้น ซึ่งพยานทั้งสองปากนี้เคยถูกสอบไปแล้วในการร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งก่อนหน้า โดยที่ผู้พิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมในแต่ละครั้ง อันได้แก่ รองอัยการสูงสุดหรืออัยการสูงสุดได้เคยพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าเป็นพยานหลักฐานที่มีพิรุธและไม่น่าเชื่อถือ ภายหลังที่อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอญากรุงเทพใต้ ได้มีการสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำเพิ่มตามคำสั่งของนาย น และนาย น. ในฐานะรองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นข้อหาเดียวที่เหลืออยู่เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓
คณะกรรมการเห็นว่า การใช้อำนาจในการสั่งคดีร้องขอความเป็นธรรม และต่อมาการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในคตีอาญาของนาย น. ในฐนะรองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด เป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและน่าเชื่อว่ามีเจตนาช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องรับโทษ เพราะเหตุของการเจาะจงให้มีการสอบเพิ่มเติมและรับฟังเฉพาะพลอากาศโท จ. และนาย จ. ซึ่งเป็นพยานเคยถูกสอบไปแล้วในการร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งก่อนหน้า มิใช่พยานหลักฐานใหม่แต่อย่างใด
นอกจากนั้น ผู้พิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมในแต่ละครั้งอันได้แก่ รองอัยการสูงสุดหรืออัยการสูงสุดได้เคยพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าเป็นพยานหลักฐานที่มีพิรุธและไม่น่าเชื่อถือ และนาย น. เชื่อคำพยานพลอกาศโท จ เพียงเพราะเป็นข้าราชการะดับสูงแต่กลับไม่เชื่อเหตุผลและดุลพินิจของอดีตอัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุดที่สั่งให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรมในทุกครั้งก่อนหน้า 

อีกทั้งไม่นำพาต่อความเห็นและเหตุผลของพนักงานอัยการผู้ทำความเห็นชั้นต้นที่เสนอให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรมที่สอดคล้องกับเหตุผลการยุติความเป็นธรรมทั้งสิบสามครั้งก่อนหน้า การใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องของนาย น. จึงอยู่บนพยานหลักฐานที่ได้มีการพิจารณามาแล้วหลายครั้ง เป็นการกลับดุลพินิจอันเป็นความเห็นของอดีตผู้บังคับบัญชาและอดีตรองอัยการสูงสุดซึ่งทำหน้ที่มาก่อนตนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

ดังนั้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่๓๕o๙/๒๕๔๙ ซึ่งวินิจฉัยว่า การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการต้องอยู่บนรากฐานและอยู่ในกรอบของความสมเหตุสมผล ถึงแม้ว่าพนักงานอัยการจะมีอิสระในการใช้ดุลพินิจเพื่อใช้ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน กลั่นกรองคดี แต่ย่อมเป็นความมีอิสระที่มีกรอบของความชอบด้วยกฎหมายและขอบเขตของความสมเหตุสมผล เป็นเหตุผลที่สามารถชี้แจงได้
นอกจากนี้ แม้นาย น. จะได้รับมอบอำนาจจากอัยการสูงสุดให้ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุดในการสั่งคดีร้องขอความเป็นธรรม แต่ตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และข้อ ๗ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน การรักษาการแทนในตำแหน่งของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ อัยการสูงสุดในฐานะผู้มอบอำนาจจะต้องกำกับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ และให้มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้ แม้อัยการสูงสุดจะอ้างว่าการมอบอำนาจให้นาย น. เป็นการมอบอำนาจขาด และได้ทราบเรื่องการสั่งไม่ฟ้องคดีของนาย น. จากการรายงานของสื่อมวลชน แต่อัยการสูงสุดในฐานะผู้มอบอำนาจ ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในการกำกับการปฏิบัติหน้าที่ของนาย น. รองอัยการสูงสุดผู้รับมอบอำนาจได้ การอ้างความไม่รู้ไม่เป็นข้อแก้ตัวและไม่น่าเชื่อถือ  เหตุเพราะการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาอยู่ในความสนใจของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง
ยาวนานและมีการร้องขอความเป็นธรรมมาแล้วถึง ๑๔ ครั้ง และในการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมครั้งที่ ๑๒ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๐ อัยการสูงสุดในขณะนั้นได้เรียกสำนวนคดีร้องขอความเป็นธรรมและสำนวนคดีอาญามาพิจรณาสั่งการด้วยตนเองเพราะเห็นว่าคดีอยู่ในความสนใจของสาธารณชนและการพิจารณาอาจจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อองค์กร โดยมีคำสั่งให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรม

ในท้ายที่สุดคณะกรรมการเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่ชาติในการสั่งไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการมีความบกพร่อง เนื่องจากไม่พิจารณาคำสั่งไม่ฟ้องของนาย น. ด้วยความรอบคอบ การอ้างว่าการออกคำสั่งเกิดจากการพิจารณาสั่งการตามความเห็นของเจ้าพนักงานตำรวจตามลำดับชั้นและเข้าใจว่าเป็นการสั่งคดีความผิดเกี่ยวกับจราจรรรรมดาทั่วไปนั้น เป็นข้ออ้างที่คณะกรมการเห็นว่าฟังไม่ขึ้น ในขณะที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบในฐานะผู้มอบอำนาจ ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำกับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจและให้มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ ตามมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗

การมอบอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติโดยมิได้มีการกำกับดูแลติดตามผลการปฏิบัติราชการในคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเช่นนี้ เป็นความบกพร่องที่ทำให้เกิดผลเสียหายแก่การบริหารราชการแผ่นดิน และกระทบ
ต่อความศรัทธาขององค์กร

อนึ่ง เมื่อมีการออกหมายจับผู้ต้องหา ผู้บังคับการกองการต่างประเทศได้แจ้งให้ตำรวจสากลทราบถึงหมายจับผู้ต้องหาเพื่อนำตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดี แต่ปรากฏว่าหลังจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนั้น บุคคลดังกล่าวได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ประจำกองบัญชาการดำรวจภูธรภาค ๓ นำเชื่อว่าเป็นการโยกย้ายที่มีความไม่ปกติอันสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง
 ในคดีนี้ คณะกรรมการพบว่า ทนายความของผู้ต้องหามีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดผลของการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา โดยได้ไปพบกับรองศาสตราจารย์ ส. พร้อมกับนาย ช. เพื่อขอให้มีการคำนวณความเร็วรถของผู้ต้องหาใหม่ และยังได้อยู่ร่วมในการจัดให้มีการสอบปากคำพันตำรวจโท ร.เพื่อเปลี่ยนคำให้การเรื่องความเร็วรถด้วย

หลังจากนั้นทนายความของผู้ต้องหาได้รับมอบอำนาจเพื่อร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการและคณะกรรมาธิการเรื่อยมา จนกระทั่งนาย น มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีผู้ต้องหาในการร้องขอความเป็นธรรมครั้งสุดท้ายสำหรับนาย จ. ซึ่งเป็นพยานปากสำคัญที่ได้ให้การว่า ผู้ต้องหาขับรถด้วยความเร็วโดยประมาณ ๕๐ ถึง ๖๐ กิโลมตรต่อชั่วโมงนั้น คณะกรรมการพบว่า ได้รับการอุปการะจากนาย ช. นอกจากนี้หลังจากที่นาย จ. ถึงแก่ความตายอย่างกระทันหันภายหลังที่ได้มีชื่อปรากฎในข่ว พบว่าโทรศัพท์มือถือของนาย จ. ถูกทำลาย
จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งปวง คณะกรรมการเห็นว่า การตั้งข้อหา การสอบสวนการร้องขอความเป็นธรรม การกลับคำสั่งฟ้องเป็นสั่งไม่ฟ้อง การไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ เป็นขบวนการดำเนินคดีที่เชื่อได้ว่ามีการร่วมมือสมคบคิดกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทนายความ พยาน และบุคคลทั่วไป รวมทั้งมีการสมยอมกันโดยไม่สุจริตเพื่อหว้งผลเพียงให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากความรับผิดในทางอาญาทั้งในชั้นพนักงานสอบสวนและในชั้นพนักงานอัการ กระบวนการทั้งสิ้นนี้จึงมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๖๔๖-๖๔๗/๒๕ด คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๖๔๔๖ /๒๕๘๗ และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๓๓๔/๒๕๓๘ ที่ได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานแล้ว

คณะกรรมการจึงมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้
๑ ต้องเริ่มกระบวนการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้องในข้อหาที่ยังไม่ขาดอายุความ โดยเฉพาะข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษ ข้อหาขับขี่รถในขณะมาสุราและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
๒. จะต้องการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่นที่ร่วมในขบวนการนี้ กล่าวคือ
๒.๑ พนักงานสอบสวนซึ่งเกี่ยวข้องกับสำนวน
๒.๒ พนักงานอัยการซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
๒.๓ ผู้บังคับบัญชาซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
๒.๔ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐซึ่งแทรกแขงการปฏิบัติหน้าที่
๒.๕ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
๒.๖ ทนายความซึ่งกระทำผิดกฎหมาย
๒.๗ พยานซึ่งให้การเป็นเท็จ
๒.๘ ตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนในการกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว

ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่า พันตำรวจเอก ธ., และรองศาสตราจารย์ ส. ได้สมัครใจให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะพยานหลักฐานทางนิติวิทยศาสตร์ จึงสมควรกันไว้เป็นพยาน และให้ความคุ้มครองพยานในการดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลตามข้อ ๒.๑ ถึง ๒.๘
๓. จะต้องมีการดำเนินกรทางจริยธรรม จรรยาบรรณ มรรยาท โดยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องต่อบุคคลดังกล่าวตามข้อ ๒.๑ ถึง ๒๘ อย่างจริงจังและเปิดเผยให้สาธารณชนทราบเป็นการทั่วไป เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง
๔. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มอบอำนาจต้องกำกับ ดูแล แก้ไข เปลี่ยนแปลง การปฏิบัติหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจให้ถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม หากผู้บังคับบัญชาละเลยให้ถือว่าเป็นผู้บกพร่องต่อหน้าที่
๕. เนื่องจากคณะกรรมการจะพิจารณาเรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยละเอียด ในชั้นนี้ คณะกรรมการเห็นว่าสมควรเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย และระเบียบในประเด็นต่อไปนี้อย่างเร่งด่วน
๕.๑ แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่ด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฯ ในเรื่องการร้องขอความเป็นธรรม โดยกำหนดให้การร้องขอความเป็นธรรม ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาต้องมาร้องด้วยตนเอง การร้องขอความเป็นธรรมจะต้องระบุเหตุและพยานหลักฐานให้ครบถ้วน การร้องขอความเป็นธรรมเกินกว่าหนึ่งครั้งจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานใหม่ที่ไม่เคยนำเสนอมาก่อน
๕.๒ แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่ด้วยการมอบอำนาจ โดยกำหนดให้การมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุดพิจารณาเรื่องขอความเป็นธรรมและการมอบอำนาจในการสั่งไม่ฟ้องต้องเป็นการมอบให้แก่รองอัยการสูงสุดต่างคนกัน และไม่ว่าจะสั่งยุติเรื่องหรือสั่งให้ความเป็นธรรมตามการร้องขออธิบดีอัยการหรือรองอัยการสูงสุดผู้มีอำนาจต้องรายงานให้อัยการสูงสุดทราบทุกกรณี
๕.๓ วางระเบียบในการมอบอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นไปตามมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ และในกรณีที่สั่งไม่ฟ้องตามความเห็นของพนักงานอัยการ ให้รายงานต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทราบทุกครั้ง
๕.๔ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องอายุความ ในทำนองเดียวกับพระราชบัญติประกอบรัฐธรรมนูญว่ด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ กล่าวคือ ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีในระหว่างถูกดำเนินคดีอาญา และให้ฟ้องคดีโดยไม่ต้องมีตัวผู้ต้องหาได้และมิให้นับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ
อนึ่ง เนื่องจากการดำเนินการของคณะกรรมการมีระยะเวลาที่จำกัด ประกอบกับมีพยานหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคลและพยานเอกสารเป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรที่จะเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้ส่งเรื่องนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ คณะกรรมการ ป.ป.ช คณะกรรมการ ป.ป.ท. คณะกรรมการ ป.ป.ง คณะกรรมการอัยการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ สภาทนายความ เพื่อให้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป กับเห็นสมควรดำเนินการให้คดีอาญาในเรื่องนี้เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ