คอลัมนิสต์

ส่องกล้องมองหมากการเมืองหลังยุค"โควิด-19" ใครจะไปทางไหน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่องกล้องมองหมากการเมืองหลังยุค"โควิด-19" ใครจะไปทางไหน หาก"เพื่อไทย"ร่วมขึ้น"ครม.เรือเหล็ก"

วันนี้เสถียรภาพของ "ครม.เรือเหล็ก"ภายใต้การถือพังงาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ร่วมกับพี่น้อง3ป.(พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย)ที่กำลังผจญกับปัญหาระดับโลกคือการระบาดของไวรัส"โควิด-19" ที่มีผลกับการบริหารประเทศในวันนี้และวันหน้า ปัญหานี้ลุกลามในทุกหย่อมหญ้า ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบและตัวเลขการว่างงานรวมทั้งขาดรายได้กลับทะยานขึ้นแบบรายวัน

 มันคือปัญหาที่"ลุงตู่"ต้องรับสภาวะตัวเลขแดงเหล่านี้ให้ได้รวมทั้งหาวิธีบรรเทาแม้ว่าตัวเลขเขียวของ"เรือเหล็ก"วันนี้จะผ่านพ้นภาวะเสียงปริ่มน้ำไปแล้ว (สมการการเมืองตอนนี้ พรรคร่วมรัฐบาลคือ พรรคพลังพลังประชารัฐมี 118 ส.ส.  อันดับสองคือพรรคภูมิใจไทย  61 ส.ส. ประชาธิปัตย์  52 ชาติไทยพัฒนา  12 เศรษฐกิจใหม่ 6 รวมพลังประชาชาติไทย 5 พลังท้องถิ่นไท 5 ชาติพัฒนา 4 รักษ์ผืนป่าประเทศไทย  2  พรรคจิ๋ว 11 ส.ส. รวม 276ชีวิต "บนเรือเหล็ก"

พรรคร่วมฝ่ายค้าน 211 คน โดยพรรคเพื่อไทยมี 134ส.ส.(เดิมมี135 ส.ส. และรอลุ้นผลเลือกตั้งซ่อมส.ส.ลำปาง เขตสี่ หลังอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ เสียชีวิต) รวมส.ส.ทั้งสองฝ่ายรวม 487ชีวิต  )แต่ใช่ว่าปัญหาจะคลายตัว

 เพราะกระแสแรงกระเพื่อมทั้งจากภายใน"เรือเหล็ก"เองก็มีอยู่มิใช่น้อย และอย่าลืมว่าความฝันของ3ป.คืออยู่ครบสี่ปีหลังจากครองอำนาจในเสื้อคลุม คสช.ราวห้าปี

 แต่หนทางที่จะอยู่ครบสี่ปีนั้น หากมิได้เสียงข้างมากแบบเด็ดขาดมาเพิ่ม คงยากที่จะไปถึงจุดนั้นสมการการเมืองในยามนี้ เริ่มกระแสข่าวจากคนวงในว่า หากพรรคเพื่อไทย มาร่วมครม.เรือเหล็ก (ท่ามกลางกระแสขัดแย้งในพรรคและมีแนวโน้มสูงว่าแกนนำบางฝ่ายในพรรคจะแยกตัวไปตั้งพรรคใหม่แล้ว)จะมีคำตอบใดให้สังคม และสิ่งสำคัญการแบ่งสรรเก้าอี้เสนาบดีบนเรือเหล็กจะจัดสรรอย่างไร...
 หากพรรคเพื่อไทยมาร่วมขบวนกับเรือเหล็ก เสียงของพรรคร่วมรัฐบาลทะลุสี่ร้อยเสียง..แต่มันอาจมากเกินไปในความเป็นจริงทางการเมืองและต้องตัดโควตา ครม.กันใหม่แบบมโหฬาร
 เมื่อหันกลับไปมองหลายพรรคบนเรือเหล็กจะพบการจัดสรรเก้าอี้ครม.ให้แกนนำของแต่ละพรรค แต่ละขั้วดังนี้
 พรรค พปชร. มีครม. รวม18 คน แบ่งเป็น

 โควต้า พล.อ. ประยุทธ์/ ไม่สังกัดพรรค 7 คน    

 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา    นายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ     รองนายกรัฐมนตรี
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์       รองนายกรัฐมนตรี
นายวิษณุ เครืองาม               รองนายกรัฐมนตรี
พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา       รมว. มหาดไทย
นายดอน ปรมัตถ์วินัย            รมว. ต่างประเทศ
พล.อ. ชัยชาญ ช้างมงคล       รมช. กลาโหม
    
โควต้า กลุ่มสี่กุมาร 3 คน    
นายอุตตม สาวนายน    รมว. คลัง
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์    รมว. พลังงาน
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์    รมว. การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    
โควต้า กปปส.2 คน    
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์    รมว. ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ    รมว. ศึกษาธิการ
    
โควต้า กลุ่มสามมิตร 2 คน    
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน    รมว. ยุติธรรม
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ    รมว. อุตสาหกรรม

โควต้ามุ้งอื่น ๆ 4 คน    
นายอิทธิพล คุณปลื้ม (กลุ่มชลบุรี)    รมว. วัฒนธรรม
ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า (กลุ่มภาคเหนือ)    รมช. เกษตรและสหกรณ์
นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ (กลุ่มโคราช)    รมช. คมนาคม
นายสันติ พร้อมพัฒน์ (กลุ่มเพชรบูรณ์)    รมช. คลัง

พรรคประชาธิปัตย์ 7 คน 8 ตำแหน่ง    
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์    รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. พาณิชย์
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน    รมว. เกษตรและสหกรณ์
นายจุติ ไกรฤกษ์    รมว. การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายนิพนธ์ บุญญามณี    รมช. มหาดไทย
คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช    รมช. ศึกษาธิการ
นายสาธิต ปิตุเดชะ     รมช. สาธารณสุข
นายถาวร เสนเนียม    รมช. คมนาคม
 พรรคภูมิใจไทย 7 คน 8 ตำแหน่ง    
นายอนุทิน ชาญวีรกูล    รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. สาธารณสุข
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ    รมว. คมนาคม
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ    รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา
น.ส. มนัญญา ไทยเศรษฐ์    รมช. เกษตรและสหกรณ์
นายทรงศักดิ์ ทองศรี    รมช. มหาดไทย
นายวีระศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล    รมช. พาณิชย์
นางกนกวรรณ วิลาวัลย์    รมช. ศึกษาธิการ

พรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน    
นายวราวุธ ศิลปอาชา    รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายประภัตร โพธสุธน    รมช. เกษตรและสหกรณ์
พรรครวมพลังประชาชาติไทย 1 คน    
ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล    รมว. แรงงาน

พรรคชาติพัฒนา 1 คน    
นายเทวัญ ลิปตพัลลภ    รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 
ลองพินิจว่า หากพรรคอันดับหนึ่ง(มีส.ส.มากสุด แต่ตอนนี้เป็นแกนนำพรรคฝ่ายค้าน)ที่ชื่อ"เพื่อไทย"มาขึ้นเรือเหล็ก ผลทางการเมืองจะออกมาเช่นใด..

ส่องกล้องมองหมากการเมืองหลังยุค"โควิด-19" ใครจะไปทางไหน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ