คอลัมนิสต์

ไม่มี "ป.ป้อม" ไม่มีพลังประชารัฐ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไม่มี "ป.ป้อม" ไม่มีพลังประชารัฐ คอลัมน์... ท่องยุทธภพ โดย... ขุนน้ำหมึก

++

 


          ระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ทำให้ “พรรคทหาร” เกิดขึ้นในประเทศไทย พรรคแล้วพรรคเล่า ในบริบทสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่แตกต่างกัน


          ระยะใกล้ คนไทยเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของ “พรรคสามัคคีธรรม” แต่จริงๆแล้ว การเลือกตั้งเมื่อ 22 มี.ค.2535 พรรคทหารไม่ได้มีแค่พรรคสามัคคีธรรม หากแต่ยังมีพรรคในเครือข่าย รสช.อย่างน้อยอีก 2-3 พรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคกิจสังคม ยุค “เพื่อนบิ๊กสุ” เป็นเลขาธิการพรรค และพรรคชาติไทย ที่มี พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เป็นหัวหน้าพรรค  

 

อ่านข่าว...  พล.อ.ประวิตร ไม่เคยพูดไม่รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพรรคพลังประชารัฐ

 

ไม่มี "ป.ป้อม" ไม่มีพลังประชารัฐ

 


          ฉันใดก็ฉันนั้น การเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 ก็มิได้มีเพียง “พรรคพลังประชารัฐ” เท่านั้น ที่ถูกสร้างมาเพื่อนหนุน “บิ๊กตู่” เป็นนายกรัฐมนตรี หากแต่ยังมีพรรคขนาดกลาง และพรรคขนาดเล็กอีก 10 กว่าพรรค ที่ต่อสายตรงถึง “บ้านป่ารอยต่อฯ” 


++
          ภารกิจเฮียกวง
++
          บทเริ่มต้นของพรรคพลังประชารัฐ มาจาก “ชวน ชูจันทร์” ปราชญ์เดินดินแห่งตลาดคลองลัดมะยม ตลิ่งชัน นักข่าวงุนงงอยู่พักใหญ่ ก็ได้ความกระจ่างเพิ่มขึ้น


          ชวน ชูจันทร์ เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมัยเป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ยุค 14 ต.ค.2516 หลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 “ชวน” ลงสมัคร ส.ส.ลำปาง พรรคพลังธรรม แต่สอบตก


          ระหว่างนั้น กลุ่มสามมิตร (สมศักดิ์ สุริยะและสมคิด) ได้เดินสายชักชวนอดีต ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ให้ย้ายมาร่วมงานกันในพรรคพลังประชารัฐ


          ฉะนั้น การเปิดตัวพรรคพลังประชารัฐ ยุคลับลวงพราง จึงอยู่ในสายเฮียกวง-สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหลัก โดย อุตตม สาวนายน เป็นหัวหน้าพรรค และสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นเลขาธิการพรรค


          มีตัวแทน “3 ป.” อย่าง วิเชียร ชวลิต อดีตปลัดมหาดไทย และอดีตปลัดพัฒนาสังคมฯ เป็นนายทะเบียนพรรค พปชร. เฮียสนธิรัตน์ ได้จัดหาอาคารปานศรี ถ.รัชดาภิเษก (ซ.รัชดาภิเษก 54) เขตจตุจักร เป็นที่ทำการพรรค


          ปลายปี 2561 อาคารปานศรี จึงกลายเป็นศูนย์กลาง “นักเลือกตั้ง” เขี้ยวลากดิน เหมือนยุคหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นกับพรรคสามัคคีธรรม

 

 

 

ไม่มี "ป.ป้อม" ไม่มีพลังประชารัฐ

 

++
          บ้านป่ารอยต่อ
++
          ในสภาพแวดล้อมการเมืองแบบประชานิยมลายพราง “มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด” ที่มีสำนักงานอยู่ภายในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1.รอ.) ได้กลายเป็นศูนย์รวมนักเลือกตั้ง ช่วงระหว่างปี่กลองการเมืองดังกระหึ่มเมื่อต้นปีที่แล้ว


          บังเอิญ “ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานมูลนิธิป่ารอยต่อฯ อุดมด้วยเพื่อนพ้องน้องพี่ ทั้งสายทหาร,ตำรวจ,ข้าราชการทั่วไป,นักธุรกิจ และนักการเมือง “บ้านป่ารอยต่อ” จึงเป็นบ้านพักใจของใครต่อใครหลายคน


          พล.อ.ประวิตร เป็น ผบ.ทบ.แค่ปีเดียว แต่ไยจึงมากไปด้วยคอนเนกชั่น หากพลิกไปดูรายชื่อคณะกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดฯ ก็จะได้คำตอบ


          ฉะนั้น นักการเมืองจอมเก๋าที่มีปัญหาหัวใจ จึงเดินไปที่บ้านป่ารอยต่อฯ แทนที่จะไปอาคารปานศรี 

++
          ภารกิจ ป.ป้อม
++
          คอการเมืองฟันธงมาแต่วันที่ 20 ส.ค.2562 เมื่อเห็นภาพ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในงานสัมนาใหญ่พรรคพลังประชารัฐ ที่ 88 การ์มองเต้ รีสอร์ท อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ว่า จะไม่หยุดแค่ตำแหน่ง “ประธานยุทธศาสตร์พรรค” เพียงเท่านั้น


          หลังจากนั้น พล.อ.ประวิตรก้าวเข้ามาเป็นประธานยุทธศาสตร์พรรค และมีชื่อ อนุชา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท เป็นรองประธานยุทธศาสตร์พรรค


          จังหวะก้าวของ ป.ป้อมนั้น ไม่ได้ผลีผลามเข้ายึดการนำพรรคพลังประชารัฐโดยทันที แต่ข่าวลือข่าวลวงก็มาเป็นระลอก


          ปลายปี 2562 มีการปรับโครงสร้าง พปชร.แบบเล็กๆ อนุชา นาคาศัย เป็นรองหัวหน้าพรรค โดยอุตตม สาวนายน สายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังเป็นหัวหน้าพรรคเหมือนเดิม


          ต้นปี 2563 กลุ่ม “วิรัช-ส.ส.เฮ้ง” เปิดตัวอาคารรัชดา ONE ถ.รัชดาภิเษก ซึ่งจะเป็นที่ทำการพรรคพลังประชารัฐแห่งใหม่


          ถึงวันนี้ คอการเมืองก็ทราบแล้ว พลังประชารัฐก้าวสู่ยุคเจ้าของพรรคตัวจริงแล้ว หมดภารกิจ “มือบริหารอาชีพ” แล้ว

 

 

ไม่มี "ป.ป้อม" ไม่มีพลังประชารัฐ

 

 

ไม่มี "ป.ป้อม" ไม่มีพลังประชารัฐ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ