คอลัมนิสต์

ยิงเลเซอร์ "ตามหาความจริง" ลงทุนน้อย-ขยายผลกว้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ยิงเลเซอร์ "ตามหาความจริง" ลงทุนน้อย-ขยายผลกว้าง จับตา "ประท้วงไฮเทค" ฮ่องกงโมเดล รายงานพิเศษโดย ทีมข่าวการเมือง

การยิงเลเซอร์เป็นข้อความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 53 ที่ปรากฏตามสถานที่ตางๆ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีการนำไปขยายผลต่อในโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะทวิตเตอร์นั้น ได้สร้างกระแสความสนใจให้กับคนทั่วๆ ไป ตลอดจนนักสังเกตการณ์ทางการเมืองอย่างมาก

ยิงเลเซอร์ \"ตามหาความจริง\" ลงทุนน้อย-ขยายผลกว้าง

คุณอภิสิทธิ์ ไชยประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลมีเดีย บอกกับ "เนชั่นทีวี" ว่า จริงๆ แล้วเครื่องมือที่ใช้ยิงเลเซอร์เป็นตัวอักษรบนผนัง หรือบนพื้นผิวต่างๆ ปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนเป็นเครื่องขนาดเล็กแบบพกพา และมีราคาไม่แพง โดยเฉพาะสินค้าจากจีน สามารถหาซื้อได้หลากหลายมาก โดยใช้ร่วมกับเครื่องโปรเจคเตอร์ขนาดจิ๋ว หรือ "มินิโปรเจคเตอร์" แบบพกพา / ฉะนั้นผู้ที่ทำเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ แต่ใช้เครื่องยิงเลเซอร์ขนาดเล็กสร้างเป็นข้อความ แล้วใช้มินิโปรเจคเตอร์ฉายไปตามสถานที่ต่างๆ ได้เหมือนกัน จากนั้นก็ถ่ายภาพแล้วนำไปขยายผลต่อในโซเชียลมีเดีย

 

คุณอภิสิทธิ์ บอกอีกว่า การออกมาเคลื่อนไหวในช่วงนี้ ถือว่าสอดรับกันหลายอย่าง โดยในเดือนพฤษภาคม เป็นเดือนครบรอบเหตุสลายกาชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง และเหตุการณ์เผาเมือง ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคมปี 53 ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นอกจากนั้นยังมีการปลุกกระแสด้านอื่นๆ อีกเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ช่วงที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซาลง ฉะนั้นในช่วงที่มีวันเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ อาจจะมีความเคลื่อนไหว เช่น นัดชุมนุมทางดิจิทัลมีเดีย เช่น ผ่านแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ เช่น ZOOM ซึ่งสามารถเช็คชื่อ เช็คจำนวน และจำกัดจำนวนคนที่เข้าร่วมได้ หรืออาจใช้โซเชียลมีเดียดั้งเดิมอย่างเฟซบุ๊กไลฟ์ ที่เป็นที่นิยมกันอยู่แล้ว

ยิงเลเซอร์ \"ตามหาความจริง\" ลงทุนน้อย-ขยายผลกว้าง

ขณะที่ อาจารย์พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีการสื่อสาร บอกเช่นกันว่า เครื่องยิงเลเซอร์ถูกใช้ในการชุมนุมครั้งแรกๆ ที่ฮ่องกง โดยใช้เครื่องแบบพกพายิงแสงก่อกวนสายตาเจ้าหน้าที่ ส่วนที่เกิดในประเทศไทย เป็นการใช้เลเซอร์ยิงข้อความเป็นตัวอักษร จึงไม่ได้มีเจตนาก่อกวน แต่เป็นการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ในการเมือง ในวันครบรอบเหตุการณ์สำคัญ

 

อาจารย์พันธ์ศักดิ์ ยังเห็นว่า หลังจากนี้ให้จับตาสิ่งที่เรียกว่า "ประท้วงไฮเทค" คือการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการชุมนุม รวมตัว หรือสร้างกระแส ซึ่งจะเป็นประโยชน์เพราะไม่ต้องระดมมวลชนออกมาบนท้องถนนจำนวนมากๆ ในช่วงที่ยังมีความเสี่ยงเรื่องโรคระบาด แต่ก็สามารถสร้างการรวมตัวบนโลกออนไลน์ได้เหมือนกัน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ