คอลัมนิสต์

  กรณียะลา: บั่นทอนความเชื่อมั่นรัฐ "โควิด-19 " 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

  ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อ "โควิด-19" ที่ลดลงต่ำสิบมาหลายวัน ที่จริงน่าจะเป็นข่าวดี แต่พลันเกิด"กรณียะลา" ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐในกรณีรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ "โควิด-19"  ทั้งที่ผ่านมาและนับแต่นี้ไปไม่ว่าจะรายงานว่าดีหรือแย่อย่างไร...จะมีเหลือแค่ไหน

     ที่จริงน่าจะเป็นข่าวดี กรณีสถานการณ์ระบาดของ" โควิด-19 " ในไทย ที่ระยะหลังตัวเลขผู้ที่ติดเชื้อเพิ่มลดลงเรื่อยๆ จนเป็น "เลขหลักเดียว" ต่ำสิบ ติดต่อกันหลายวัน
      อย่างล่าสุด  ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัส "โควิด-19" ประจำวันที่ 5 พ.ค. 2563  พบว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อใหม่เพียง 1 รายเท่านั้นและไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 
     

    แต่พลันที่เกิดกรณีที่ยะลา เมื่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลาและรองผู้ว่าฯ ออกมาแถลงเมื่อวันที่  3 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า พบผู้ติดเชื้อโควิดฯ เพิ่ม 40 ราย จากการปูพรมพื้นที่ใช้ยุทธการเชิงรุก“ค้นหา คัดกรอง ตรวจเชื้อ” จาก 311 ราย พบผู้ติดเชื้อยืนยันเมื่อ 2 พ.ค.63 จำนวน 40 ราย  แต่ต้องส่งตรวจอีกครั้งที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา  
     จนกระทั่งวันรุ่งขึ้น ( 4 พ.ค. )  ศบค. แถลงข่าวว่า  ผลตรวจจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดสงขลา พบว่า 40 คนดังกล่าวไม่พบเชื้อ "โควิด-19 "  (กลับตาลปัตร)
    แต่ทางผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข มองว่า 2 แล็บ ในการตรวจหาเชื้อยังไม่เพียงพอจึงต้องส่งมายังส่วนกลาง เพื่อให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้ตรวจอีก  
   ส่วน " อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์" ก็ได้พูดถึงประเด็นที่ จ.ยะลา เช่นกันบอกว่า กรณีที่ จ.ยะลา ตอนที่ตรวจแล้วมีปัญหา คือ การตรวจนั้นได้มีการดำเนินการตามมาตรฐาน ซึ่งระหว่างตรวจมีการพบว่า Negative Control หรือตัวเปรียบเทียบที่เป็นลบ คือ น้ำเปล่า แต่เมื่อตรวจ ปรากฏว่าเจอเชื้อ แปลว่ามีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เพราะปกติการตรวจกับน้ำ ไม่ว่าจะตรวจเช่นไร ผลต้องเป็นลบเสมอ เมื่อผลออกมาเป็นบวก เจ้าหน้าที่ห้องแล็ปในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ต้องหยุดตรวจและได้รายงานผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบ และได้หาสาเหตุว่าเกิดความผิดปกติขึ้นอย่างไรต่อไป 
     อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันว่า แล็ปตรวจหาเชื้อที่ จ.ยะลา เป็นหนึ่งในแล็ปที่ผ่านเกณฑ์ และที่ผ่านมาก็ได้ให้บริการประชาชนไปกว่า 4,000 ตัวอย่าง ในการตรวจหาเชื้อโควิดในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา 
     "ในห้องปฏิบัติการพบว่า ความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ประกอบด้วย ความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ , ความผิดพลาดที่เกิดจากเครื่องมือ  และความผิดพลาดที่เกิดจากระบบ ซึ่งที่ยะลา เมื่อทราบว่ามความผิดปกติเกิดขึ้นก็ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานต่อไป จึงเป็นที่มาของการหยุดตรวจ และต้องส่งตัวอย่างในการตรวจหาเชื้อซ้ำ รอบ 2 และ 3 ต่อไป "

         สรุปตามประสาชาวบ้าน  "ความผิดพลาด"เกิดขึ้นได้เสมอ จึงต้องตรวจกันหลายครั้งซึ่งเรื่องเทคนิคทางห้องปฏิบัติการก็ว่ากันไป 
          แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐในกรณีรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ "โควิด-19"  ทั้งที่ผ่านมาและนับแต่นี้ไปไม่ว่าจะรายงานว่าดีหรือแย่อย่างไร...จะมีเหลือแค่ไหน
          ถามว่า “รัฐบาลไทยปิดข่าว บิดเบือนข่าว ตกแต่งตัวเลขหรือเปล่า” ตอบได้เลยว่า คงไม่ใช่ โดยดูจากการกระทำของรัฐบาลในการต่อสู้กับ" โควิด-19 " ที่ผ่านมา
         ที่ผ่านมา แม้ในทางการเมือง ฝ่ายค้านพยายาม "ดิสเครดิต" รัฐบาลในเรื่อง"โควิด-19" แต่ผู้คนก็ไม่ค่อยให้"ค่า "
         แต่พอเกิดกรณี "ยะลา" ขึ้น  มีคำถามตามมาต่อรัฐมากมาย เช่น ถ้ารัฐปฏิบัติการ"เชิงรุก" ตรวจหาผู้ติดเชื้อในพื้นที่ต่างๆชนิด"ปูพรม" จะพบจำนวนผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" มากกว่านี้หรือไม่, ความผิดพลาดของผลตรวจจากห้องแล็บควรจะให้เกิดขึ้นอีกหรือไม่ และถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยครั้งประชาชนจะยอมรับได้หรือไม่(แม้ทางการจะพยายามอธิบายว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้)
         ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้คนในประเทศจาก "โควิด-19 "


 

 

 

 


 

 


 

 

 


 

 

 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ