คอลัมนิสต์

่นมรร.-อาหารกลางวัน ่ อปท.ต้องรับผิดชอบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

่นมรร.-อาหารกลางวัน ่ อปท.ต้องรับผิดชอบ....บทวิเคราะห์ โดย ชัยวัฒน์ ปานนิล

แม้ว่า สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) จะเป็นอย่างไร งบประมาณอาหารเสริม (นม) กับอาหารกลางวันนักเรียน ที่รัฐจัดสรรผ่านท้องถิ่น ก็คงต้องดำเนินต่อไป

อ่านข่าว : เมื่อครู-รร. ฝากนักเรียนเอาไว้ที่บ้าน เงินอุดหนุนอยู่ที่ใคร

นักเรียนจะได้ดื่มนมหรือไม่ งบประมาณอาหารกลางวันจะใช้อย่างไร ยังคงเป็นปัญหา การประสานงานระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กับท้องถิ่น การติดตามอย่างเข้มข้นของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และหน่วยตรวจสอบอื่น เหมือนว่าจะทำเอาคนท้องถิ่นหวาดผวาไปตามกัน กับการใช้สอยและเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงเวลาระบาดของเชื้อโควิด-19

หลังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนยาวออกไป โดยกำหนดให้มีการเปิดเรียนของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 แต่มีงบประมาณอย่างน้อย 2 รายการ ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของ สพฐ. มีหลายคนตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ 2 รายการ ได้แก่ อาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันนักเรียน

 

 ่นมรร.-อาหารกลางวัน ่ อปท.ต้องรับผิดชอบ

สำหรับอาหารเสริม (นม) คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาชน ได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 (ครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563 โดยมีเนื้อหากำหนดให้ องค์กรส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดซื้ออาหารเสริม (นม) และดำเนินการประสานโรงเรียนที่รับผิดชอบ และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม เพื่อกำหนดวันและวิธีการส่งมอบ นม ยู เอส ที สำหรับดื่มในช่วงเวลาที่ขยายวันปิดเทอม กำหนดให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จอย่างน้อย 5 วัน ก่อนวันที่ 18 พฤษภาคม 2563

 

 ่นมรร.-อาหารกลางวัน ่ อปท.ต้องรับผิดชอบ

สอบถามไปยังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นบางแห่ง ทราบว่า อยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลนักเรียนจากทางโรงเรียนเพื่อดำเนินการจัดซื้อ แต่บางแห่งตอบว่าไม่ทราบเรื่องและยังไม่ได้ดำเนินการ 

 

 ่นมรร.-อาหารกลางวัน ่ อปท.ต้องรับผิดชอบ

อีกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ โรงเรียน ยังคงเป็นปัญหามืดแปดด้าน ไม่รู้จะแจ้งผู้ปกครองให้ทราบและมารับอาหารเสริม (นม) ได้อย่างไร ไม่ได้วางแผนว่าจะมารับวันละกี่คน ได้นมเท่าไหร่ เหลือเวลาอีกไม่กี่วันแล้ว ทุกอย่างยังไม่ชัดเจน เมื่อถึงเวลาต้องปฏิบัติความวุ่นวายคงเกิดขึ้นแน่นอน

ในส่วนของอาหารกลางวัน ชัดเจนว่ายอดจัดสรรงบประมาณ อยู่ที่ รายละ 20 บาท ต่อวัน ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะยังไงนักเรียนก็ต้องมาเรียน เมื่อมาเรียนก็ค่อยดำเนินการ แต่ก็มีหนังสือจากกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 30 เมษายน 2563 แจ้งแนวปฏิบัติในการจัดหาอาหารกลางวันสำหรับเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ในช่วงการปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ให้สำรวจความต้องการของผู้ปกครองเด็กและจัดทำอาหารกลางวันแจกจ่าย โดยให้ผู้ปกครองมารับที่ศูนย์เด็กเล็กพร้อมลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารงานพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 แนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นการแจ้งให้ทราบและดำเนินการ

 

 ่นมรร.-อาหารกลางวัน ่ อปท.ต้องรับผิดชอบ

 มีหลายองค์กรส่วนท้องถิ่นกังวลกับหนังสือฉบับนี้ เนื่องจากเป็นเพียงแนวปฏิบัติ ไม่ใช่หนังสือสั่งการ หากปฏิบัติไปแล้วก็ต้องรับผิดชอบ หรือว่า โรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งก็ได้รับจัดสรรงบประมาอาหารกลางวันนักเรียนเช่นเดียวกัน ต้องดำเนินการตามนี้หรือจะได้หรือไม่ ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องการคำตอบ

รวมทั้งการตรวจสอบที่ค่อนข้างเข้มข้นเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น สตง. ปปท. หรือ ปปช. ที่ออกหน้าติดตามใช้ใช้งบประมาณในช่วงที่มีแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) อย่างจริงจัง สร้างความลำบากใจให้ข้าราชการในระดับ ผู้ปฏิบัติมิใช่น้อย

ได้แต่หวังว่า หลังสิ้นสุดเหตุการณ์โควิด-19 ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะรอดและปลอดภัยจากการถูกดำเนินการทางวินัยหรือมีความผิดจากการปฏิบัติงานกันทุกคน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ