คอลัมนิสต์

"บิ๊กป้อม"จ่อคุม พปชร.สยบขัดแย้ง ปัดยึดพรรค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เจาะประเด็นร้อน โดย ปกรณ์ พึ่งเนตร บรรณาธิการบริหาร เนชั่นทีวี 22

ช่วงนี้มีข่าวการเมืองร้อนแรงขึ้นมาท่ามกลางสถานการณ์โควิด ก็คือวิกฤตการณ์ภายในพรรคพลังประชารัฐ และจะมีการดัน "บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่แทน นายอุตตม สาวนายน

 

"เนชั่นทีวี" ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวระดับสูงในพรรคพลังประชารัฐว่า ข่าวนี้เป็นความจริง แต่ไม่ใช่ "บิ๊กป้อมเตรียมยึดพรรค" ตามการเสนอข่าวของบางสื่อ ทว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีจากสาเหตุมาจากภายในพรรคมีความแตกแยกกันอย่างหนัก จนถึงเวลาต้องใช้ผู้มากบารมีอย่าง "บิ๊กป้อม" เข้ามาสยบความขัดแย้ง

"บิ๊กป้อม"จ่อคุม พปชร.สยบขัดแย้ง ปัดยึดพรรค

ปัญหาความแตกแยกภายในพรรคพลังประชารัฐมีมาตลอดตั้งแต่เริ่มตั้งรัฐบาลผสม 20 พรรค เนื่องจากมีการเตะตัดแข้งตัดขาเพื่อแย่งชิงโควต้ารัฐมนตรี และปัญหาก็สะสมเรื่อยมา กระทั่งปัจจุบันมี "กลุ่ม-มุ้ง-ก๊วน" ภายในพรรคพลังประชารัฐมากถึง 6 กลุ่มเป็นอย่างน้อย  ประกอบด้วย

 

"บิ๊กป้อม"จ่อคุม พปชร.สยบขัดแย้ง ปัดยึดพรรค

1. "กลุ่มสามมิตร" มีแกนนำคือ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ โดยเป็น 3 พันธมิตรทางการเมืองที่เคยร่วมงานกันมาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย กลุ่มนี้มี ส.ส.ในมือ 30 คนขึ้นไป

 

2. "กลุ่มสุชาติ-วิรัช" มีแกนนำคือ นายสุชาติ ชมกลิ่น ประธาน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ กับ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล กลุ่มนี้อ้างว่ามี ส.ส.ในมือหลายสิบชีวิต

 

3. "กลุ่มผู้กอง" มีแกนนำคือ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี ส.ส.ในความดูแลไม่น้อยเหมือนกัน

"บิ๊กป้อม"จ่อคุม พปชร.สยบขัดแย้ง ปัดยึดพรรค

4. "กลุ่ม กทม." และอดีต กปปส. มีแกนนำคือ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกัณฑ์ และ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ สองรัฐมนตรีกระทรวงเกรดเอ ทั้งกระทรวงดีอีเอส และกระทรวงศึกษาธิการ

 

5. "กลุ่มภาคใต้" หรือ "กลุ่มด้ามขวานไทย" มีแกนนำคือ นายนิพันธ์ ศิริธร อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง มี ส.ส. 13 คน แต่ไม่มีรัฐมนตรีเลยแม้แต่เก้าอี้เดียว

 

และ 6. "ก๊วนสนธิรัตน์" มีแกนนำคือ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กลุ่มนี้ตั้งขึ้นเพื่อให้มีอำนาจต่อรอง เพราะนายสนธิรัตน์ไมใช่ ส.ส. และไม่มีฐานเสียง ส.ส.สนับสนุน คล้ายๆ กับกรณีของ นายอุตตม

ที่ผ่านมาปัญหาขัดแย้งเริ่มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ "บิ๊กป้อม" พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ พยายามเข้าไปจัดการปัญหา ด้วยการเข้าไปเป็นประธานยุทธศาสตร์พรรค แต่ก็ยังเอาไม่อยู่ แต่ละกลุ่มยังเตะตัดขา มีความขัดแย้งกันต่อเนื่องแม้ในช่วงวิกฤติโรคระบาด

"บิ๊กป้อม"จ่อคุม พปชร.สยบขัดแย้ง ปัดยึดพรรค

เหตุนี้เองบรรดาแกนนำระดับสูงสุดของพรรคจึงเห็นตรงกันว่าน่าจะถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนตัวหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคใหม่ทั้งหมด โดยมีแนวทางที่จะดำเนินการ 2 แนวทาง คือ

 

1. เจรจาให้ นายอุตตม ยอมลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ซึ่งจะทำให้กรรมการบริหารพรรคสิ้นสภาพยกชุดไปโดยปริยาย

 

2. กรณีที่นายอุตตม ไม่ยอมลาออก ก็อาจสะกิดให้กรรมการบริหารพรรคส่วนใหญ่ลาออก เพื่อกดดันให้กรรมการชุดนี้ รวมถึงนายอุตตมสิ้นสภาพไปเอง

 

จากนั้นก็จะมีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคกันใหม่ และจะมีการเสนอชื่อ "บิ๊กป้อม" ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งการประชุมใหญ่พรรค น่าจะจัดได้หลังผ่านพ้นวิกฤตการณ์โควิด-19 ไปแล้ว

 

แหล่งข่าวระดับสูงจากในพรรคพลังประชารัฐ ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การ "ยึดพรรค" หรือ "เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล" ตามที่มีบางสื่อนำเสนอ แต่ "บิ๊กป้อม" ต้องการเข้าไปเคลียร์ปัญหาเพื่อไม่ให้พรรคแตก และส่งผลให้รัฐบาลชุดนี้ล้มไป เนื่องจากมีภารกิจที่ต้องทำงานเพื่อฟื้นฟูประเทศหลังโรคระบาด ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับ ครม.ครั้งใหญ่เพื่อเกลี่ยเก้าอี้กันใหม่ และในกลุ่มแกนนำพรรคเดิมที่ทำงานมาตั้งแต่ต้น คือ "กลุ่ม 4 กุมาร" (นายอุตตม สาวนายน, นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์,  นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล) บางส่วนก็จะยังมีตำแหน่งและทำงานต่อไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ