คอลัมนิสต์

วิธีรักษา "โควิด-19" เทคโนโลยี "หุ่นยนต์สเต็มเซลล์"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย...ทีมรายงานพิเศษ คมชัดลึก

 

               “ยารักษาโควิด-19” คือสิ่งที่หมอทั่วไปกำลังคิดถึง แต่มีนักวิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยากลุ่มหนึ่งกำลังพัฒนา “หุ่นยนต์มีชีวิต” ที่อาจช่วยกำจัดเชื้อไวรัสร้ายตัวนี้ด้วยการ ตั้งโปรแกรมให้เดินทางเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย เพื่อจ่ายยาตรงจุดที่อวัยวะภายในต้องการ

อ่านข่าว ด่วน ไทยเสียชีวิตเพิ่ม 2 รวม 32 ราย ผู้ติดเชื้อใหม่ 54 ราย

 

 

               “SARS-CoV-2” ชื่อรหัสไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ “โรคปอดอักเสบรุนแรง” ผู้ป่วยอาการหนักส่วนใหญ่เสียชีวิตจากระบบหายใจทำงานผิดปกติ เนื่องจากเซลล์ไวรัสตัวนี้สามารถขยายจำนวนได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นไวรัสตัวใหม่ทำให้ยังไม่มีใครรู้ว่าจะใช้ “ยา” ตัวไหนมารักษา ปัจจุบันทีมแพทย์แต่ละประเทศพยายามดัดแปลงใช้สูตรยากว่า 10 ชนิด มาผสมกัน เช่น “กลุ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี” รีโทรนาเวียร์ (Ritonavir) และ โลพินาเวียร์ (Lopinavir) “กลุ่มยารักษาไวรัสไข้หวัดใหญ่” เช่น โอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) “กลุ่มยามีฤทธิ์ต่อต้านอาร์เอ็นเอไวรัส” เช่น ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ที่เคยใช้ได้ผลกับผู้ป่วยไวรัสอีโบลา ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคปากและเท้า ฯลฯ และ “กลุ่มยารักษามาลาเรีย” ที่ชื่อว่า คลอโรควิน (chloroquine)

 

 

 

               ในอนาคตนอกจาก “กลุ่มยา” ที่กำลังทดลองใช้ข้างต้นแล้ว อาจมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์มีชีวิตเพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า “หุ่นยนต์สเต็มเซลล์”

               เนื่องจากเมื่อต้นปี 2563 นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์เทคโนโลยี “หุ่นยนต์สเต็มเซลล์” เพื่อช่วยหมอรักษาคนไข้ โดยหุ่นยนต์ตัวนี้มีชีวิตอยู่ได้หลายสิบวันแบบไม่ต้องการอาหาร ความสามารถพิเศษของมันคือการเดินทางเข้าไปในอวัยวะภายในอันซับซ้อนของร่างกายของผู้ป่วย แล้วทำการ “จ่ายยา” ให้ตรงจุดที่ต้องการ

               “เซโนบอทส์" (Xenobots) เป็นชื่อที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ และมหาวิทยาลัยทัฟส์ ตั้งให้แก่ “หุ่นยนต์มีชีวิต” ตัวแรกของโลกที่เกิดจากการผสมผสานของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) กับ เซลล์ชีววิทยา โดยใช้สเต็มเซลล์ตัวอ่อนกบสายพันธุ์แอฟริกา “Xenopus laevis” มาดัดแปลงออกแบบติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีวิวัฒนาการอัลกอริทึม (evolutionary algorithm) จนประสบความสำเร็จ ได้รับการประกาศเมื่อต้นเดือนมกราคม 2563 ว่า “เซโนบอทส์” คือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกที่ “มีชีวิต” และ “ซ่อมแซมตัวเองได้” !

 

 

 

วิธีรักษา โควิด-19 เทคโนโลยี หุ่นยนต์สเต็มเซลล์

 

 

 

               การใช้เซลล์ผิวหนังกับเซลล์หัวใจของกบมาผลิต “เซโนบอทส์” นั้น เริ่มแรกทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งใจแค่เพียงอยากได้หุ่นยนต์มีชีวิตเข้าไปช่วยจัดเก็บหรือทำความสะอาดขยะหรือของเสียที่มีกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อน หรือเศษไมโครพลาสติกขยะอันตรายในท้องทะเล แต่เมื่อค้นพบว่าพวกมันสามารถ “ซ่อมแซมตัวเอง” ได้ หรือที่เรียกว่า “Self Healing” และอยู่ได้โดยไม่ต้องการอาหารนานหลายวัน

               ทีมวิจัยจึงรีบพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงด้วยขนาดยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตร (0.039นิ้ว) ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต 500 - 1,000 เซลล์รูปร่างกลมๆ เซลล์บางส่วนมี “ขา” ทำให้เคลื่อนไหวได้ในลักษณะทิศทางแบบเส้นตรงหรือวงกลมการใช้เทคโนโลยีตัดแต่งเซลล์และออกแบบด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ช่วยให้สามารถขนย้ายวัตถุขนาดเล็กได้ เป้าหมายใหม่คือใช้เป็นตัวกลางส่ง “ยา” เข้าไปอวัยวะภายในของร่างกายมนุษย์โดยตรง

 

 

 

วิธีรักษา โควิด-19 เทคโนโลยี หุ่นยนต์สเต็มเซลล์

 

 

 

               ทีมวิจัยโชว์คลิปวิดีโอการทดลองเอาอุปกรณ์คล้ายปากคีมแหลมตัด “เซโนบอทส์” ตัวกลมๆ จนขาดออกจากกัน แต่สักพักหนึ่งเซลล์ที่ขาดจากกันก็ค่อยๆ ซ่อมแซมตัวเองกลับมาประสานกันใหม่ได้รวดเร็วและน่าทึ่ง ไม่แตกต่างจากเซลล์คนหรือสัตว์ทั่วไปที่ซ่อมแซมตัวเองได้ ทำให้กลายเป็นสิ่งประดิษฐ์เอไอที่มีชีวิตอย่างมหัศจรรย์เหนือคำบรรยาย

               ในอนาคตเชื่อกันว่ามนุษย์จะพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สั่งให้ หุ่นยนต์เซโนบอทส์ ทำอะไรได้หลายอย่าง โดยเฉพาะสั่งให้ขนส่ง “ยา” หรืออุปกรณ์ซ่อมแซมอวัยวะร่างกาย โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยหุ่นยนต์ตัวนี้จะนำส่ง “ยา” ผ่านเข้าไปกระแสเลือดตรงไปจุดหรือตำแหน่งอวัยวะที่เป็นโรคหรือมีความผิดปกติ จากนั้นก็ทำการซ่อมแซมโดยตรง เชื่อกันว่าจะรักษาโรคที่ปัจจุบันรักษาหายได้ยาก เช่น มะเร็ง หัวใจ ไต ฯลฯ

 

 

 

วิธีรักษา โควิด-19 เทคโนโลยี หุ่นยนต์สเต็มเซลล์

 

 

 

               เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 อาจมีนักวิจัยที่พยายามช่วยกันพัฒนานำมาดัดแปลงช่วยชีวิตผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสร้ายตัวนี้ ที่ตั้งเป้าเข้าไปทำลายระบบทางเดินหายใจ แม้กระทั่งมีการจินตนาการว่า “หุ่นยนต์มีชีวิต” อาจพัฒนาถึงขั้นที่ “ซ่อมบำรุงกล้ามเนื้อ” ของมนุษย์ได้ด้วย ทำให้มีหลายองค์กรร่วมลงขันระดมเงินทุนเพื่องานวิจัยนี้ หวังให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด

               อย่างไรก็ตาม ยังมีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่ยังไม่ค่อยไว้ใจสิ่งประดิษฐ์มีชีวิตตัวใหม่นี้มากนัก ด้วยการตั้งคำถามว่า หุ่นยนต์เอไอมีชีวิต แบบนี้อาจฉลาดมากขึ้นจนวิวัฒนาการตัวมันเองโดยไม่สนใจฟังคำสั่งมนุษย์ได้หรือไม่ เพราะพวกมันมีเซลล์ที่เติบโตและซ่อมแซมตัวเองได้ แทบไม่ต่างจากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติทั่วไป

 

               หลายกลุ่มคัดค้านสิ่งประดิษฐ์แบบนี้ เพราะเหมือนกับว่า “มนุษย์” กำลังเล่นบทบาทของพระเจ้า “Playing God”

               ตัวอย่างที่ถูกยกมาเปรียบเทียบ คือ การทดลองวิจัยโคลนนิ่ง (cloning) หรือการทําสําเนาพันธุกรรมลูกแกะ “ดอลลี่” เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว หากจำกันได้ในปี 1996 นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างพากันตื่นเต้นที่สามารถสร้างแกะอีกตัวหนึ่งได้ด้วยเซลล์ต้นแบบจากแกะตัวหนึ่ง หน้าตาออกมาเหมือนฝาแฝด เพราะหวังช่วยแก้ปัญหาครอบครัวมีลูกยาก หรือช่วยมนุษย์โคลนนิ่งอวัยวะสำรองของตัวเองออกมา ไม่ต้องรอคิวหลายปีเพื่อรับบริจาคอวัยวะจากผู้ใจบุญอีกต่อไป แต่โดนคัดค้านว่า สิ่งมีชีวิตโคลนนิ่งถือว่า “เป็นมนุษย์หรือไม่” หากไปทำร้ายผู้อื่นหรือก่อคดีอาญา จะใช้วิธีตรวจพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลอย่างไร หากมนุษย์ต้นแบบถูกโคลนนิ่งหลายครั้ง ก็มีคนที่ดีเอ็นเอเหมือนกันหลายคน ทำให้หลายประเทศประกาศกฎหมาย “ห้ามทดลองโคลนนิ่งมนุษย์”

 

 

 

วิธีรักษา โควิด-19 เทคโนโลยี หุ่นยนต์สเต็มเซลล์

 

 

 

วิธีรักษา โควิด-19 เทคโนโลยี หุ่นยนต์สเต็มเซลล์

 

 

 

               นับเป็นประเด็นท้าทายว่า สิ่งประดิษฐ์มีชีวิตแบบใหม่ “เซโนบอทส์” นั้น สมควรเร่งพัฒนาดัดแปลงเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 หรือควรยับยั้งไว้ก่อน

               เพราะเริ่มมีความกังวลว่า “เซลล์กบเอไอ” อาจกลายพันธุ์ทำลายล้างมนุษย์โลกในอนาคต !?!

               วินาทีนี้ “นักวิทยาศาสตร์” กับ “นักศาสนวิทยา” คงต้องรีบช่วยกันตัดสินใจพิจารณาข้อดี - ข้อเสีย เพราะตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด–19 ทั่วโลก ทะลุเกิน 1 แสนคนแล้ว !

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ