คอลัมนิสต์

อัดฝ่ายการเมือง ไร้มารยาท  โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เวทีคนต้านโกงอัดฝ่ายการเมืองไร้มารยาทพอเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารมีครม.ชุดใหม่ ก็โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

      กับประเด็นที่สร้างความฮือฮาที่สุด ในแวดวงคนต่อต้านคอร์รัปชั่น คือ การโละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เพราะการเปลี่ยนแปลงของฝ่ายบริหาร ที่มี “คณะรัฐมนตรี” ชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ โดยมีเหตุผลตามสมควรว่า “มารยาทของบอร์ดรัฐวิสาหกิจ”

       ล่าสุดองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ไม่ได้นิ่งเฉยต่อกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จึงจัดเวทีเสวนา เรื่อง“มารยาท หรือ จรรยาบรรณ ช่วยชาติได้มากกว่า?” กรณีการเปลี่ยนบอร์ดรัฐวิสาหกิจกับการเมือง เพื่อรับฟังมุมมองของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวที ซึ่งมีโจทย์ใหญ่คือ ความจำเป็นที่ต้องลาออก หรือ มีผลประโยชน์อะไรอยู่เบื้องหลัง ความพยายามเปลี่ยนแปลง

อัดฝ่ายการเมือง ไร้มารยาท  โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

         

           บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทรจำกัด (มหาชน) ฐานะกรรมการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) 

          การดูแลรัฐวิสาหกิจ สิ่งที่สำคัญ ​คือ การเลือกกรรมการ และมีธรรมาภิบาล เพราะกระบวนการดูแลรัฐวิสาหกิจ ที่มี 56 แห่ง มีมูลค่ารวม 16 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่มากในระบบเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้รัฐวิสาหกิจไทยมีรายรับ และค่าใช้จ่าย ปีละ 5 ล้านล้านบาท มากกว่างบประมาณของประเทศ หากมีรั่วไหล มองว่าจะรั่วไหลที่ไหนมากกว่ากัน

อัดฝ่ายการเมือง ไร้มารยาท  โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

         ในสมัยที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ​ตั้งซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ เคยวางระบบให้รัฐวิสาหกิจมีธรรมาภิบาล ผ่านเป้าหมายหลัก คือ 1.ทำภารกิจที่ควรทำและบูรณาการซึ่งกันและกัน, 2.ทำอย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตสินค้า ที่มีคุณภาพ ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และต้นทุนต่ำ 3.โปร่งใส ไม่มีโกง 4.มีคุณค่า เพื่อช่วยระบบเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อวางกรอบได้นำผลการศึกษาจากต่างประเทศ ยกร่างเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การพัฒนาการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2562          หลักการสำคัญ คือ แบ่งแยกหน้าที่  มีภาวะรับผิดชอบ รวมถึงมีกลไกดูแลรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ เปลี่ยนเป็นบริษัทจำกัด แต่เมื่อเข้าสู่สภาคนดี คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถูกโจมตี โดยเฉพาะประเด็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทั้งที่เนื้อหาไม่ได้ระบุไว้ อีกทั้งแม้ไม่มีกฎหมายฉบับดังกล่าวการแปรรูปรัฐวิสาหกิจสามารถทำได้ตามกลไก

อัดฝ่ายการเมือง ไร้มารยาท  โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

     “บทบาทระหว่างผู้กำหนดนโยบาย คือ รัฐบาล, การกำกับดูแล และ รัฐวิสาหกิจ ฐานะผู้ดำเนินการ หากมีการแบ่งแยก มีกระบวนการส่งมอบนโยบายที่ชัดเจน ไม่จำเป็นที่นักการเมือง ต้องส่งบุคคลเข้าไปควบคุม หรือให้ข้าราชการเข้าไปกำกับติดตามการทำงานรัฐวิสาหกิจตัดจากการเมืองไม่ได้ เพราะเป็นของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลมีหน้าที่ และสิทธิ์ ส่งผ่านนโยบายที่หาเสียงไปจากรัฐวิสาหกิจ แต่ต้องสร้างหลักตรวจสอบเพื่อไม่ให้การใช้นั้นถูกบิดเบือน”

อัดฝ่ายการเมือง ไร้มารยาท  โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

         ทั้งนี้การทำงานฐานะซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมา สิ่งที่ยากมากที่สุด คือ หาคนดี คนเก่ง คนกล้า เข้ามาทำหน้าที่บอร์ดรัฐวิสาหกิจ เพราะในประเทศไทย บุคคลที่จะมาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ มีต้นทุนสูง ต้องถูกตรวจสอบ เช่น การยื่นบัญชีทรัพย์สิน หากลืมแจ้งเพียงรายการเดียว จะมีโทษทางอาญา และค่าตอบแทนได้เพียงเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งไม่คุ้มกับต้นทุนที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากจะแก้ไขเพื่อให้คนดี คนเก่ง และคนกล้า เข้ามาทำงาน ควรสร้างแรง ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาควรสร้างแรงจูงใจและลดต้นทุน รวมถึงพิจารณาถึงผลตอบแทนควรให้ตามสมควร ทั้ง ค่ารถ ,​ ค่าจ้างผู้ช่วยต้องมีแรงจูงใจให้คนเข้ามาทำงาน เหมือนประเทศสิงคโปร์ ที่ได้รับแต่งตั้ง จะถือเป็นการทำงานที่มีเกียรติ เป็นต้น

       ขณะที่ประเด็นการเปลี่ยนบอร์ดรัฐวิสหากิจแบบยกชุด จะทำให้การทำงานไปไม่รอด เพราะการทำงานของรัฐวิสาหกิจต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามผมมีประสบการณ์ตอนเป็นบอร์ดการบินไทย ที่ถูกขอให้ลาออกจากตำแหน่ง โดยใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง ฝ่ายบริหาร ทั้งที่ข้อเท็จจริงเพื่อให้เป็นมารยาท ควรให้ผู้ถือหุ้นร่วมพิจารณา

      “การกระทำที่ขอให้ลาออก ถือเป็นการกระทำที่ไร้มารยาทที่สุด แต่ผมต้องยอมลาออก เพราะหากทนทำงานต่อไปเชื่อว่าจะทำงานไม่ได้ ซึ่งผมอยากตั้งคำถามกลับเช่นกันว่า มึงทำแบบนี้มีมารยาทหรือไม่”

อัดฝ่ายการเมือง ไร้มารยาท  โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

       กับประเด็นสำคัญที่ถูกมองว่า “ข้าราชการประจำ”​ อาจได้บทบาทเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจเพิ่มมากขึ้น ผมมองว่าต้องทบทวน เพราะข้าราชการไม่มีทักษะการแข่งขันและบริหารที่เป็นอาชีพ เพราะข้าราชการมีแค่การใช้อำนาจและทรัพยากรของรัฐเท่านั้น แม้ข้าราชการจะมีเจตนาดี แต่จะทำให้การทำงานของรัฐวิสาหกิจประสบความสำเร็จได้ยาก

      “ ผมขอยกตัวอย่างสมัยเป็นบอร์ดการบินไทย กรรมการที่เป็นข้าราชการ ยศ พล.อ.เคยเสนอให้ลดการเปิดเสรีการบิน เพื่อให้การบินไทยไม่ขาดทุน ระบุคุมราคาโลว์คอส เพื่อไม่ให้ราคาต่ำไป ผมเสนอแนะว่าหากทำ ประชาชนจะต่อต้านได้ ทั้งนี้ผมมองว่าการบินไทยจะได้ประโยชน์มหาศาลจากการเปิดการบินเสรี เพราะทำให้เกิดการแข่งขันและลดต้นทุนการเดินทางได้จำนวนมาก”

       ดร.บัณฑิต นิจถาวร ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

      สิ่งสำคัญของการกำกับการทำงานบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและไม่โกง คือ การสร้างกลไกตรวจสอบรัฐวิสาหกิจ โดยองค์กรหรือบุคคลภายนอก โดยที่ผ่านมาการตรวจสอบดังกล่าวมีน้อย และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลสู่กลไกภายนอก ทำให้ประเด็นที่เกิดขึ้น คือช่องว่างและอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐวิสาหกิจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพน้อย นอกจากนั้น คือ การได้กรรมการที่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ด้วยกระบวนการที่ตนเองสามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ ไม่ใช่รอฟังการตัดสินใจของประธานเท่านั้น ขณะที่การสรรหากรรมการรัฐวิสาหกิจต้องเน้นความอิสระในการทำหน้าที่ รวมถึงมีระบบชมเชย และลงโทษ นอกจากนั้นผมมองว่าสิ่งที่จะสร้างการทำงานรัฐวิสาหกิจที่มีประสิทธิภาพ ไม่โกงได้ ต้องใช้วัฒนธรรมองค์กร ไม่ยอมทำสิ่งที่ผิด

         อัดฝ่ายการเมือง ไร้มารยาท  โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

           “เปลี่ยนบอร์ดจะมีปัญหาแน่ เพราะไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรได้ เนื่องจากจุดเริ่มต้นของการทำงานที่ดี ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งต่อการต่อต้านการทุจริต และให้พนักงานรัฐวิสาหกิจมองผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ส่วนการแก้ปัญหาตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์​ขึ้นอยู่กับการวางหลักเกณฑ์ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ เชื่อว่าทำแล้ว 1-2ปีจะเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่บ้านเราความเกรงใจเยอะ ไม่ว่าถูกแต่งตั้งตำแหน่งใดๆ ต้องทำไม่ให้ผิดหวัง จึงเกิดปัญหา อย่างประเทศจีน บริษัทชั้นนำ ส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีอำนาจทางการเมืองสูง แต่เลือกบุคคลากรไปทำงานได้อย่างมีความพร้อมและเข้มแข็ง หวังเป็นแนวป้องกันคือองค์กรมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง หากทำได้จะเป็นตัวช่วย”

         ขณะที่ประเด็นว่าด้วย การส่งข้าราชการประจำนั่งในรัฐวิสาหกิจหรือไม่ ผมเป็นห่วงการใช้เวลา เพราะตำแหน่งปลัดกระทรวงที่กฎหมายทุกฉบับต้องกำหนดไว้ให้เป็นกรรมการ จะมีเวลาร่วมประชุมได้หรือไม่ หรือหากจะมอบหมายให้บุคคลประชุมแทนอาจเกิดประเด็นการไม่กล้าตัดสินใจได้ ทั้งนี้ยอมรับว่าไม่เห็นด้วยให้ข้าราชการประจำทำหน้าที่ นอกจากปัญหาเรื่องเวลาแล้ว คือการมีผลประโยชน์ขัดแย้งหรือทับซ้อน ดังนั้นแนวทางแก้ไข คือ ออกระเบียบ จำกัดการทำหน้าที่บอร์ดรัฐวิสาหกิจให้กับปลัดกระทรวง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและไร้ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ขัดกัน

         ส่วนประเด็นการสร้างมาตรฐานของความโปร่งใส ขอเสนอให้รัฐวิสาหกิจจัดเวทีพบประชาชน เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบ ซักถาม และรับฟังความเสนอแนะ เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีความโปร่งใส แทนการทำงานที่ล็อบบี้จากภายนอกเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่จะสร้างมาตรฐานดังกล่าวได้ ต้องออกระเบียบรองรับการทำหน้าที่ตรวจสอบของประชาชนด้วย ทั้งนี้ประชาชนฐานะผู้บริโภคต้องเป็นผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ ไม่ยอมสิ่งที่จะเป็นเรื่องเสียหายแม้เพียงเล็กน้อย

      ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านกำกับดูแลที่มี ทีดีอาร์ไอ

       บทเรียนจากต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, สิงคโปร์ จะไม่มีข้าราชการประจำเข้าทำหน้าที่ในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ และบุคคลที่จะมาทำหน้าที่ต้องมีทักษะสูง และชัดเจนว่า มาเพื่ออะไร ส่วนในประเทศไทย ไทยยึดติดว่ากรรมการต้องเป็นคนไทย และมีสัญชาติไทย แต่ต่างประเทศมีกรรมการต่างชาติ แต่เป็นระดับที่ทุกฝ่ายยอมรับ เช่น กรณีมาเลเซีย มีกรรมการจากสิงคโปร์ หรือ กรรมการรัฐวิสาหกิจจากสิงคโปร์ มีกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงจากหลากหลายประเทศ รวมถึงต้องเป็นบุคคลที่มีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบประวัติได้

​       “ขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศไทย มีประเภทอู้ฟู่ค่าตอบแทนจำนวนมาก และยากจน เพราะมีหน่วยงานรัฐกำกับ เช่น ธนาคารที่อยู่ภายใต้หน่วยงานรัฐกำกับ มีค่าตอบแทนหมื่นบาท ทั้งที่รัฐวิสาหกิจควรมีคนเก่งเข้ามาทำงาน แทนที่จะเน้นเฉพาะความร่ำรวย ค่าตอบแทน ที่ขอยกตัวอย่าง เช่น บริษัทน้ำมันที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ที่กรรมการจะมีค่าตอบแทนหลักล้านบาท และมีโบนัส รวม 3 ล้านบาท- 4 ล้านต่อปี ขณะที่ประเทศนอร์เวย์ กรรมการไม่ได้สูงกว่าไทย ทั้งที่ค่าครองชีพสูงกว่าประเทศไทย ที่สำคัญค่าตอบแทนกรรมการน้อยกว่าค่าตอบแทนของผู้บริหาร เกือบ 10 เท่า แต่ของประเทศไทยกลับด้านกัน ทั้งที่กรรมการประชุมเดือนละครั้ง ดังนั้นต้องตั้งคำถามว่า ค่าตอบแทนที่ให้เพื่ออะไร หรือ การสร้างความต่างตอบแทน มากกว่าพิจารณามืออาชีพเข้ามาทำหน้าที่”

         ส่วนประเด็นที่เป็นหัวข้อสำคัญ คือการเปลี่ยนบอร์ดรัฐวิสาหกิจ มีข้อมูลจากต่างประเทศพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนบ่อย ส่วนของไทยถูกมองว่า เมื่อกรรมการมาด้วยการเมืองและต้องไปด้วยการเมือง ดังนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาสำคัญ คือ การสร้างระบบคัดเลือกที่ไม่เป็นไปตามอำเภอใจของใคร จะสั่งให้ออกไม่ได้ หากทำหน้าที่ด้วยความโปร่งใส คือ การการันตีทำงาน อย่างไรก็ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ ไม่เปิดช่องให้ภาคประชาชนตรวจสอบ เช่น ชื่อผู้สมัคร คุณสมบัติของผู้สมัคร เป็นต้น ต้องเปิดเผยข้อมูลในการคัดเลือกให้ประชาชนมีส่วนร่วม

    ประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

        ยอมรับในข้อท้วงติง ว่า สภาพการทำงานข้าราชการไม่ต้องแข่งขันกับใคร ระบบแข่งขันในราชการไม่มี ส่วน ร่างพ.ร.บ. เป็นหลักการที่ควรจะเป็น แต่ด้วยข้อจำกัดของสังคมไทย รู้ถึงหลักการ และควรจะเป็นคืออะไร ก้าวไปสู่หลักการและสิ่งที่ควรจะเป็นยาก เพราะเมื่อตัวเองสูญเสียสิ่งที่ตัวเองเคยได้ หรือ สูญเสียอำนาจ หน่วยงานที่ถูกแก้ไขและหมดอำนาจจะไม่ยอม สิ่งที่ดี และถูกต้องในสังคม ทุกคนรู้ แต่สังคมมีปัญหาสำคัญ คือ การพูดสิ่งดีๆ ถูกต้อง และควรจะเป็น แต่ต้องประเมินความเสี่ยงต่อการพูดสิ่งที่ถูกต้อง โดยเฉพาะระบบราชการ

      “ผมอยู่ในระบบราชการ 40 ปี เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น ตระหนักสิ่งที่เกิดขึ้น สำหรับกฎหมายที่ออกมาดีกว่าไม่ได้ แต่เชื่อว่าไม่ดีตามที่ควรจะเป็น นี่คือสิ่งที่สังคมต้องสูญเสีย แต่ภายใต้ข้อจำกัดของสังคม ร่างกฎหมายมีดีกว่าไม่มีและทำเท่าที่ทำได้ ส่วนการกลั่นกรองกรรมการรัฐวิสาหกิจ ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือก รวมถึงต้องเปิดเผยเหตุผลของการคัดเลือกด้วยเพื่อให้เป็นความหวัง”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ