คอลัมนิสต์

้เดินทางปลอดภัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์... อ๊อด เทอร์โบ..ดับเครื่องชน [email protected]

 

 

          ก่อนเข้าสู่การทำงานปกติหลังหยุดยาว ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับด้วยความปลอดภัย มีพลังชีวิตทำงาน-เรียนหนังสือให้สำเร็จลุล่วงตามปรารถนาทุกประการ

 

          จดหมายจากคุณ ‘อนุพงษ์’ นครปฐม ขอคัดค้านเรื่องการสร้างชานชาลาสถานีรถไฟเพื่อรองรับอนาคตให้ผู้โดยสารมีความสะดวกปลอดภัยในการขึ้น-ลง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กๆ

 

 

 

 

 

          คุณ ‘ประจวบ’ เมืองเลย ซึ่งใช้ถนนสายวังสะพุง-อุดรธานี แล้ว แจ้งว่ายังขาดมาตรฐานสากล ขอให้ปรับปรุงด่วน โดยมีแบบอย่างที่ดีคือสายเชียงใหม่-หางดง

          จึงขอให้รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมได้สั่งการปรับปรุงแก้ไขด้วย
อ๊อด เทอร์โบ



 คัดค้านการสร้าง “ชานชาลาต่ำ”
 เรียน คุณอ๊อด เทอร์โบ

          แต่เมื่อต้นปี พ.ศ.2562 มีนโยบายใหม่จากผู้บริหารระดับสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับเปลี่ยนการก่อสร้างชานชาลาสถานีรถไฟจาก “ชานชาลาสูง” เปลี่ยนเป็น “ชานชาลาต่ำ” ในโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ สายใต้ช่วง นครปฐม-ชุมพร ซึ่งการปรับเปลี่ยนดังกล่าวนี้ เป็นการสวนทางในการพัฒนารถไฟเป็นอย่างมาก เพราะชานชาลาต่ำนั้น ประชาชนขึ้น-ลงตู้รถไฟยากลำบาก จะต้องก้าวขึ้น-ลงบันไดถึง 3 ขั้นระหว่างตู้รถไฟ-ชานชาลา และยิ่งมีสัมภาระ ยิ่งทำให้การขึ้น-ลงลำบากมากยิ่งขึ้น เพิ่มระยะเวลา เกิดความล่าช้า เกิดอันตรายระหว่างการขึ้น-ลง เด็กและผู้สูงอายุต้องมีผู้ช่วยเหลือ เพราะบันไดมีความสูงจากพื้นชานชาลามาก
เหตุใดผู้บริหารระดับสูงของการรถไฟฯ ถึงตัดสินใจล้าหลังเช่นนี้ ในเมื่อรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมก็อนุมัติหลักการ รูปแบบ และงบประมาณ เพื่อสร้างชานชาลารถไฟเป็นชานชาลาสูงเรียบร้อยแล้ว แต่กลับออกนโยบายสวนทางปรับเปลี่ยนให้กลับไปก่อสร้างเป็นชานชาลาต่ำเหมือนปัจจุบัน ซึ่งไม่มีหลักวิชาการอะไรรองรับเลยว่าชานชาลาต่ำ จะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประชาชนผู้ใช้บริการ


          ในโครงการรถไฟทางคู่สายอื่นๆ ทั้งสายเหนือ และสายอีสาน ก็ก่อสร้างเป็นชานชาลาสูงแล้ว แต่ทำไมโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ กลับย้อนยุคสร้างเป็นชานชาลาต่ำเหมือนเดิม

          ฝากไปถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อคัดค้านการปรับเปลี่ยนรูปแบบชานชาลาสถานีรถไฟจาก “ชานชาลาสูง” เป็น “ชานชาลาต่ำ” ในโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ช่วง นครปฐม-ชุมพร เพื่ออนาคตข้างหน้าที่ดีกว่าปัจจุบัน
อนุพงษ์ (นครปฐม)



 ระวังถนนอันตราย
 เรียน คุณอ๊อด เทอร์โบ

          ผมมีโอกาสใช้ถนนสาย 210 ตอนวังสะพุง-อุดรธานี ถนนสายนี้เป็นถนน 4 เลน บางช่วงเป็น 2 เลน บางช่วงอยู่ระหว่างก่อสร้างขยายก็มี ที่สร้างเสร็จแล้ว 4 เลน แต่ใน 4 เลนนั้นมีถนนแบบ 5 มาตรฐานในสายเดียวเป็นช่วงๆ ทั้งๆที่เขตการทางดูแล้วก็กว้างเป็น 100 เมตร คือเขตทางไม่แคบเลย ไม่มีภูเขาเป็นทางตรงและพื้นที่ราบเป็นส่วนมาก

          อันตรายในการออกแบบถนน ดังนี้ 1.บางช่วงเป็นเกาะกลาง 2.เป็นร่องน้ำ 3.เป็นแบร์ริเออร์ อันนี้ถึงจุดกลับรถจะเบี่ยงเลนกลางกินออกมาเลนซ้าย อันนี้อันตรายที่รถวิ่งไปทางตรงยามค่ำคืน 4.บางช่วงจะเป็นเกาะลาย คือลาดยาวแล้วตีเส้นลายทับ อันนี้ยิ่งอันตรายมาก หากเจอรถเลี้ยวขวาไม่ให้สัญญาณ หรือคนข้ามถนนตัดหน้าไปหยุดบนเกาะลาย จุดกลับรถก็ยื่นเบี้ยวออกมากินเลนซ้ายก็ตรงระวังรถทางตรง ต้องระวังรถที่แซง 3 ขึ้นมาด้วย 5.บางช่วงเป็นหลักสีส้มลายสะท้อนแสง

          ทั้ง 5 มาตรฐานนี้อยากให้มี 2 มาตรฐานสากลที่ปลอดภัยทั่วไปคือ 1.ทำแบบเกาะกลางถนน 2.แบบมีร่องกลางถนน ผู้ใช้ทางจะปลอดภัยสูงสุดกับเงินภาษีประชาชน เพราะการใช้รถเวลากลางคืนจะใช้ไฟสูงก็ไม่สะดวก เพราะมีผู้ใช้ถนนมากเช่นกัน

          อยากให้ผู้ออกแบบหรือเขียนแบบถนนได้มาเห็นมาดูถนนหมายเลข 108 สายเชียงใหม่-หางดง เป็นถนนสายตัวอย่างที่ปลอดภัยที่สุด และสวยที่สุดของถนนในประเทศไทย
ประจวบ (เมืองเลย)



 เที่ยวทางเรือต้องระวังเป็นพิเศษ
 เรียน คุณอ๊อด เทอร์โบ

          ผมเคยทำงานเป็นข้าราชการอยู่กรมเจ้าท่าอยากฝากความห่วงใยมายังท่านที่จะไปท่องเที่ยวทางเรือหรือเดินทางโปรดระมัดระวังเป็นพิเศษและมีข้อปฏิบัติดังนี้

          ขอให้ผู้ควบคุมเรือ เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการเดินเรือ และประชาชนผู้ใช้บริการเรือโดยสาร ให้ใช้ความระมัดระวังในการดินเรือและโดยสารเรือ

          ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเดินเรือ เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำตักเตือนของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจตรา ควบคุม ดูแลประจำอยู่ในเขตพื้นที่ต่างๆ โดยเคร่งครัด รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการให้และการใช้บริการหรือโดยสาร

          ผู้ควบคุมเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง ไม่ประมาท ไม่ดื่มสุรา ไม่เสพสิ่งเสพติดหรือของมึนเมาขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่เดินเรือด้วยความเร็วเกินไป การนำเรือเข้า-ออกจากท่าเทียบเรือต้องให้ผู้โดยสารขึ้น-ลงเรือเสร็จเรียบร้อยก่อน รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตไว้ในเรือให้มีและสามารถนำมาใช้เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำได้ทันท่วงที

          เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบกิจการการเดินเรือ ต้องตรวจสอบ ดูแลสภาพตัวเรือ เครื่องจักรกลและท่าเทียบเรือให้อยู่ในสภาพที่มีความมั่นคงแข็งแรงโดยเฉพาะท่าเทียบเรือต้องจัดให้มีพวกชูชีพและเครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำเป็นให้เพียงพอ พร้อมนำมาใช้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ ติดตั้งป้ายระบุจำนวนผู้โดยสารที่เรือ ติดตั้งป้ายระบุจำนวนคนที่โป๊ะเทียบเรือสามารถรับน้ำหนักได้ในที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

          จัดเจ้าหน้าที่ตรวจตราควบคุม ดูแลให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวยืนรอที่พักผู้โดยสาร ไม่ควรยืนรอบนโป๊ะเทียบเรือเกินกว่าจำนวนที่ระบุไว้ ส่วนผู้ใช้บริการเรือโดยสารการลงเรือไม่ควรยืนคอยบนโป๊ะเทียบเรือ หรือแย่งกันขึ้น-ลงเรือ ควรให้เรือจดเทียบท่าให้เรียบร้อยก่อน
ด้วยความปรารถนาดีและห่วงใย จึงแจ้งมาครับ
ชัยวัฒน์ (ตลาดน้อย)


 ตอบ คุณ ‘ชัยวัฒน์’ ตลาดน้อย
          ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณในน้ำใจและความปรารถนาดี แสดงความห่วงใยมายังทุกๆ ท่านครับ และในฤดูร้อนปีนี้คาดหมายว่าจะมีประชาชนไปเที่ยวทะเลมากกว่าทุกปีเพราะหนีหมอกควันทางเหนือ

          เพื่อความปลอดภัย เวลาขึ้นเรือต้องใส่เสื้อชูชีพไว้ตลอดเวลา โดยนำของส่วนตัวไปเองหรือเวลาเล่นน้ำทะเล-ดำน้ำ ต้องดูลมฟ้าอากาศให้ดี สภาพร่างกายต้องพร้อม อย่าลงน้ำเวลาเมา ง่วง-เพลีย เป็นอันขาด-อันตรายมากๆ ครับ

          ผมจึงขอร่วมเตือนให้ทุกท่านโปรดคำนึงถึง ‘ความปลอดภัย’ เป็นอันดับแรกครับและบรรดาเจ้าของเรือต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเข้มงวดอย่าประมาท
อ๊อด เทอร์โบ


logoline

ข่าวที่น่าสนใจ