คอลัมนิสต์

เสียภาษีเงินรางวัลชิงโชคหลายต่อ "ทุกขลาภ" ?  

เสียภาษีเงินรางวัลชิงโชคหลายต่อ "ทุกขลาภ" ?  

05 มิ.ย. 2561

การคิดคำนวณเก็บภาษีเงินรางวัลเป็นอย่างไรจึงทำให้หนุ่มผู้โชคดีกระอัก!!ต้องเสียภาษีกว่า 3ล้าน ขณะเงินรางวัลที่ได้จากบ.โออิชิ เป็นแมวทองคำมูลค่า10 ล.ใช้ไปหมดแล้ว

         กรณีที่มีข่าวนายสุชาติ ผู้โชคดีได้รับรางวัลจาก บ. โออิชิ เป็นแมวทองคำ มูลค่า 10,000,000 บาท เมื่อปี 2559 แต่ด้วยความไม่รู้ว่ารางวัลดังกล่าวถือเป็นรายได้อย่างหนึ่งซึ่งต้องเสียภาษี  นายสุชาติจึงใช้เงินที่ได้มาทั้งหมดไปกับการจับจ่ายเพื่อครอบครัวและการลงทุน ในระยะเวลาจาก ปี 59 - 61 เงินทองจึงหมดไปกับทรัพย์สินบางอย่าง 

 

             ต่อมาได้มีหนังสือจากกรมสรรพากร ให้นายสุชาติ ชำระภาษีรายได้บุคคลธรรมดา จำนวน 3,559,895 บาท ความไม่รู้ ไม่เตรียมใจ จึงไม่มีเงินพอชำระภาษีได้ จึงชำระไปเพียง 10,000 บาท และอาจต้องขอผ่อนชำระกับสรรพากรต่อไป

              จากข่าวดังกล่าว เมื่อตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการเสียภาษี “เงินรางวัล” ตามที่ “กูรู” อธิบายไว้  พบว่า  ณ.วันที่ไปรับรางวัล ต้องเสียภาษี 5% ของมูลค่าเงินรางวัล กรณีตามข่าวได้รับเงินรางวัลมูลค่า  10 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษีเป็นเงินจำนวน  500,ooo บาท  แต่ถ้าคนที่มอบรางวัลรับภาระภาษีส่วนนี้ไป ก็ไม่ต้องถูกหักเงินภาษีออกจากรางวัล  ณ ที่จ่าย และส่วนใหญ่ผู้ที่มอบรางวัลให้จะไม่แบกรับภาระภาษีส่วนนี้  อย่างไรก็ตามตามข่าวกรณีนายสุชาติ  ทางผู้จ่ายรางวัลน่าจะยอมแบกรับภาระภาษีส่วนนี้ไป โดยไม่มีการหักเงินภาษีไว้ นายสุชาติ  จึงรับเงินรางวัลไปเต็มๆจำนวน 10 ล้านบาท 

            การเสียภาษีเงินรางวัล ยังไม่ได้จบเพียงแค่นี้ นั่นเป็นเพียงขั้นแรกเท่านั้น

            ต่อที่ 2  พอถึงครบรอบเสียภาษีประจำปี  ต้องนำยอดเงินรางวัลจำนวน 10 ล้านบาท ไปเสียภาษียื่นใบ ภงด.90  ซึ่งเงินได้สุทธิตั้งแต่ 4,ooo,001 บาท ขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 35 %  ดังนั้นเงินรางวัล 10 ล้านบาทก็จะต้องเสียภาษี 3,500,000 ล้านบาท

             และเงินรางวัลที่ได้รับจากการชิงโชค ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร หมวดรายได้อื่นๆและไม่สามารถหักลดหย่อนได้ เช่น มีบุตร  ประกันสังคม เงินบริจาค ก็ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้            

              นอกจากนี้ ยอดเงินรางวัล 10 ล้านบาท จะเอาไปเป็นฐานคำนวณ รวมกับเงินเดือนหรือรายได้อื่นที่ต้องเสียประจำปีด้วย ถ้ามีรายได้อื่นๆประจำปี เงินเดือน โบนัส ก็จะถูกรวมฐานเพิ่มเข้าไปอีก 

              ด้วยเหตุนี้นายสุชาติ ที่ต้องเสียภาษีมากกว่า 3,5oo,oooบาท ก็เพราะมีรายได้อื่นด้วย

             และเลี่ยงภาษีก็ไม่ได้ เพราะว่าคนจัดชิงโชคต้องนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากร ยังไงกรมสรรพากรก็ตรวจเจอยิ่งเงิน เยอะขนาดนี้