คอลัมนิสต์

"เอนทรานซ์ – แอดมิชชัน –TCAS" ต้องเปลี่ยนกี่รอบ ถึงถูกใจเธอ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทย ถูกเปลี่ยนไปมาหลายครั้ง เพื่อหาทางแก้ปัญหาบางอย่าง แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งแก้ปัญหาจะยิ่งยุ่ง

จากปัญหาการคัดนักศึกษาเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในระบบใหม่  ที่เรียกว่า TCAS ( Thai University Central Admission System)  ที่กำลังเป็นประเด็นละถูกล่าวหาว่ามีความไม่เหมาะสม   ทั้งนี้ระบบการสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของไทยได้เปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆตั้งแต่อดีต เราลองมาดูกันว่า  การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทย เปลียนมาแล้วกี่แบบ

Entrance (2504–2542) แบบเก่า
แรกเริ่ม แต่ละมหาวิทยาลัยมีการจัดสอบคัดเลือกกันเอง จนในปี 2504 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ร่วมกันจัดทำระบบกลางขึ้น โดยในปีต่อมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเข้าร่วมในระบบกลางนี้เพิ่มเติม
จนในปี 2516 เกิดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และมีการจัดระบบกลางคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ สามารถเลือกอันดับได้ทั้งหมด 6 อันดับ และสอบได้ครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ต้องใช้เกรด ดังนั้นจึงสามารถสอบเทียบได้ 
เกิดสถาบันกวดวิชาขึ้นเป็นครั้งแรก
ข้อสอบ  Entrance นั้นจำแนกออกเป็น 2 สาย คือ 
1. สายวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยข้อสอบ 5 วิชาได้แก่  อังกฤษ, คณิตศาสตร์, เคมี, ชีววิทยาและฟิสิกส์
2. สายศิลป์   ประกอบด้วยข้อสอบ 4 วิชาได้แก่ ภาษาไทย, อังกฤษ, คณิตศาสตร์และสังคม        
รูปแบบข้อสอบดังกล่าวถูกใช้ต่อเนื่องมายาวนานถึง 21ปี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบข้อสอบบางอย่างในปี 2526 ทำให้มีการเพิ่มวิชาในการสอบเป็น 
1. สายวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยข้อสอบ 7 วิชาได้แก่ ภาษาไทย, อังกฤษ,  สังคม, คณิตศาสตร์, เคมี, ชีววิทยาและฟิสิกส์
2. สายศิลป์   ประกอบด้วยข้อสอบ 5 วิชาได้แก่  ภาษาไทย, อังกฤษ, คณิตศาสตร์, สังคม และชีววิทยา
รูปแบบการสอบลักษณะดังกล่าวถูกใช้ต่อเนื่องมาอีกยาวนานถึง 16 ปี กระทั่งมีการปฏิรูปการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2542  ซึ่งแก้ปัญหาการสอบเทียบ และลดความกดดันในการสอบ โดยเปิดให้มีการสอบเอ็นทรานซ์ 2 ครั้ง คือ เดือนตุลาคม และเดือนมีนาคม และให้เด็กได้รู้ผลคะแนนสอบก่อน เพื่อเลือกคะแนนครั้งที่ดีที่สุดมายื่นสมัคร เลือกอันดับได้ 4 อันดับ อีกทั้งยังเพิ่มสัดส่วนคะแนนโดยใช้เกรดเฉลี่ย ม.ปลาย 10% เพื่อลด
ปัญหาเด็กเรียนม.ปลายไม่ครบ
จุดเด่น
- เด็กกดดันน้อยลง เพราะให้โอกาสสอบได้ 2 ครั้งก่อนที่จะเลือกคะแนนที่ดีที่สุดมายื่นสมัคร และแก้ปัญหาเด็กทิ้งห้องเรียน เพราะใช้เกรดเฉลี่ยม.ปลาย เพิ่มในสัดส่วนของคะแนน และรู้ผลคะแนนก่อนเลือกคณะ ทำให้เด็กเลือกคณะที่เหมาะสมกับความสามารถของตัวเอง
จุดด้อย
- การจัดสอบในเดือนตุลาคมนั้น เด็กยังไม่จบ ม.6 ส่งผลให้ครูเร่งรัดในการสอนเพื่อให้ทันสอบ และการสอบหลายครั้งทำให้เด็กหันไปเรียนกวดวิชาเพื่อให้ได้คะแนนให้ดีที่สุด


 

Entrance(2543-2548)แบบใหม่
เกิดการปฏิรูปการสอบครั้งใหญ่ เพราะอยากจะลดความเครียด และ ลดปัญหาเรื่องการสอบเทียบ จัดสอบสองครั้ง ตุลาคม และ มีนาคม โดยผู้สอบจะรู้คะแนนก่อน และเอาคะแนนที่ดีที่สุดมาใช้สมัคร สามารถเลือกอันดับได้สี่อันดับ เก็บคะแนนสะสมไว้ได้อีกสองปีแต่การสอบในเดือนตุลาคม เด็กยังไม่จบ ม.6 เท่ากับว่า ทำให้ครูต้องเร่งสอนให้ทันจบ ม.ปลาย ทั้งหมดภายในสองปีครึ่ง ในตอนแรก มีแผนจะใช้คะแนนสอบ 90 เปอร์เซ็นต์ + GPA (เกรดเฉลี่ยแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรมัธยมปลายหรือเทียบเท่า) + PR (ระดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ในช่วงมัธยมปลาย) รวมเป็น10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดปัญหาเรื่องนักเรียนเรียน ม.ปลาย ไม่ครบ แต่การวางแผนใช้ระบบ GPA และ PR ไม่ได้บังคับใช้ในปี 2542 เนื่องจากเด็กที่จบ ม.6 ในปี 2542 ต่อต้าน เพราะไม่ได้เตรียมสะสมเกรดมาตั้งแต่เริ่มมัธยมปลาย GPA และ PR ถูกใช้จริงในปี 2543 โดยคิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ + คะแนนสอบอีก 90 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นไม่กี่ปี มีความพยายามเพิ่มสัดส่วนระบบเกรด เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยความแตกต่างของแต่ละโรงเรียน แผนนี้ก็เลยถูกต้านและพับเก็บไป
จุดเด่นของการคัดเลือกระบบใหม่
1.นำผลการเรียนของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาร่วมด้วย
2.มีการสอบปีละ 2 ครั้ง ทำให้นักเรียนมีโอกาสพัฒนาตนเอง คะแนนสอบเก็บไว้ใช้ 2 ปี สามารถเลือกคะแนนที่ดีที่สุดมาใช้ในการสมัครคัดเลือก
3.ทราบผลคะแนนสอบล่วงหน้าก่อนการเลือกคณะ ทำให้มีโอกาสเลือกได้ตรงกับความสามารถของตน
จุดอ่อนของการคัดเลือกระบบใหม่
1.ทำให้นักเรียนมีภาระการสอบและเกิดความเครียดมากขึ้นจากเดิม เนื่องจากมีการสอบสองครั้ง
2.โรงเรียนพยายามเร่งสอบให้จบก่อนการสอบเดือนตุลาคม เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมด้านเนื้อหามากที่สุด เป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อระบบการเรียนการสอนตามปกติ
-------------------------------------
Admissions(2549–2552)
ปี 2549 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พิจารณาระบบการเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ แก้ปัญหานักเรียนไม่ให้ความสำคัญกับการเรียนในห้องเรียน และลดความสำคัญของการสอบแข่งขัน จึงเกิดระบบ Admissions ใช้คะแนนเกรดเฉลี่ยสะสม GPAX (เกรดเฉลี่ยของทุกวิชาที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า) และเกรดเฉลี่ยกลุ่มสาระ GPA รวมเป็น 30 % เกิดการสอบ A-NET (Advanced National Educational Test) และ O-NET (Ordinary National Educational Test) แต่ก็มีปัญหาตามมาคือ ระบบ admission นี้ไม่ยุติธรรม เพราะแต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานการเรียน และการให้เกรดที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับตรงเองเพิ่มมากขึ้น

Admissions (2553–2555)
หลังจากนั้น 3 ปี ก็ได้มีการแก้ไขปัญหาสัดส่วน คะแนนที่ใช้คัดเลือก โดยลดสัดส่วนของ เกรด ลงเหลือเพียง 20% และคิดคะแนน Onet เป็น 30 % นอกจากนี้ เปลี่ยนจากการสอบ A-NET มาเป็น GAT (General Aptitude Test) และ PAT (Professional Aptitude Test) GAT/PAT ซึ่งคะแนนสามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี จะสอบสี่ครั้งต่อปี ต่อมาลดลง 3 และ 2 ครั้งตามลำดับ แม้ว่าจะมีการปรับรูปแบบการสอบอีกครั้ง แต่ทางกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ยังคงมองว่าไม่ตอบโจทย์จึงจัดสอบ ความถนัดทางแพทย์ และ 7 วิชา เอง มหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดรับตรงเองมากขึ้นเรื่อยๆ

Admissions(2556–2560)
จากปัญหาดังกล่าว จึงได้เกิดข้อสอบกลาง สำหรับรับตรงขึ้นมา และเพิ่มจาก 7 วิชา เป็น 9 วิชาในปี 2558 และเกิดระบบเคลียริ่ง เฮาส์ เพื่อป้องกันการกันที่ โดยคนที่ได้รับตรงจะถูกตัดสิทธิ์ในการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั้น
เกณฑ์คะแนนสอบที่ต้องใช้ มีดังนี้
-GPAX 20%
-O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30%
-GAT (General Aptitude Test) 10–50%
-PAT (Professional Aptitude Test) 0–40%

จุดแข็ง
ทุกสถาบันเปิดรับตรงหมด ดังนั้นคณะที่เปิดรับมีความหลากหลาย ทำให้เราเลือกคณะที่ต้องการได้อีกทั้งจำนวนคนรับเยอะกว่า มีสิทธิ์ติดมากกว่า และคนเก่งๆ ก็มักจะติดรับตรงไปแล้ว และมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพราะสัดส่วนกำหนดไว้ชัดเจน แข่งกันที่คะแนนล้วนๆ แถมมีเวลาเตรียมตัวนานกว่า เพราะกว่าจะถึงเวลาเลือกคณะ ก็ต้นเดือนเมษายนปีหน้า ยังสามารถเลือกได้ถึง 4 อันดับ สมัครแค่รอบเดียว ไม่ยุ่งยาก ส่วนในรอบสัมภาษณ์ก็ง่ายกว่า แทบจะไม่มีตกสัมภาษณ์เลย
จุดอ่อน
แม้ว่าจะมีเวลาเตรียมตัวนานกว่า แต่ก็กดดันกว่า เพราะมีคู่แข่งทั่วประเทศ และจะไม่รู้ว่าคณะไหนคนสมัครเท่าไหร่ เพราะไม่มีการเปิดเผยข้อมูล
ในบางคณะไม่มีรอบแอดมิชชั่น รับตรงอย่างเดียว
อาจจะติดหรือไม่ติด ส่วนหนึ่งอยู่ที่คะแนน อีกส่วนคือ "ดวง" ล้วนๆ ต้องวัดใจกับตัวเอง ตอนเลือกคณะต้องกล้าได้ กล้าเสี่ยง และต้องศึกษาข้อมูลคะแนนย้อนหลังหลายปี เพื่อประกอบการตัดสินใจ
อีกทั้งอัตราการแข่งขันสูง โดยเฉพาะในคณะยอดนิยม แม้ว่าจะเป็นคณะที่รับจำนวนเยอะ คนสมัครก็จะเยอะด้วย
ทั้งนี้คะแนนรวมในแต่ละปีแตกต่างกัน ขึ้นลงได้ตลอดเวลา ซึ่งจะเหวี่ยงตามค่าคะแนนของการสอบ O-NET, GAT/PAT ถ้าพลาดอันดับ4 ในแอดมิชชั่นกลางแล้ว ก็จะไม่มีที่เรียน ต้องหาแผน2 รอรับรอบหลังแอดต่อไป

TCAS 2561 เป็นต้นไป
เป็นระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ซึ่งย่อมาจาก Thai University Central Admission System
ไม่ใช่ระบบเอ็นทรานซ์ แต่เป็นการรวมวิธีการรับนักศึกษาทั้ง 5 รูปแบบมาไว้ด้วยกัน
จากระบบเดิมตรงที่การสอบของข้อสอบการทั้งหมดเลื่อนไปสอบหลังเด็กมอหกจบการศึกษาแล้ว
และมีการเพิ่มภาษาเกาหลีในการสอบ pat 7 ถนัดทางด้านภาษาต่างประเทศ
ซึ่งขการสอบแบบTCASนี้กระทรวงการศึกษาได้บอกถึงข้อดีไว้ว่าสามารถเพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการเข้ามหาวิทยาลัย
และปัญหาการกันสิทธิ์คนอื่น (กั๊กที่)
อีกทั้งหมดปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคนรวยกับคนจน
และยังแก้ปัญหาวิ่งรอกสอบ เพราะระบบใหม่จะจัดช่วงเวลาการสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว

รายละเอียดการคัดเลือก TCAS ทั้ง 5 รอบ (ปีการศึกษา 2561)
รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
สำหรับ : นักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย
ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค โควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษ
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น
รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) ซึ่งที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง
รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนปีที่ผ่านมา)
รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง

-----

เรื่องโดย 

น.ส.ณัฐธยาน์ พงษ์สุวรรณ , น.ส.ชุติญา แสงวิทยเวช
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ