
จัดระเบียบ !! หลักสูตรคอนเน็คชั่น “พระปกเกล้า”
จัดระเบียบหลักสูตรคอนเน็คชั่น “พระปกเกล้า” แก้ได้ที่ “คนกันเอง” : โดย ขนิษฐา เทพจร คมชัดลึกออนไลน์
กับข้อเสนอรายงานการปฏิรูปประเทศ ของ “คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)” ต่อการปฏิรูปการปฏิบัติงานในรัฐสภา ถูกโฟกัสอย่างมาก ต่อข้อเสนอให้ ปรับปรุงบทบาทและหน้าที่ของ “สถาบันพระปกเกล้า” และ จัดระเบียบ “หลักสูตรของสถาบัน” ที่ถูกตั้งแง่ว่าเป็นจุดรวมพลของเครือข่ายผู้หวังผลประโยชน์
ในข้อเสนอของรายงาน มีสาระหลัก ได้แก่ 1.ปรับปรุงงานสนับสนุนด้านวิชาการ ด้วยการทำระบบหอสมุด เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสมาชิกรัฐสภาตามความต้องการอย่างทันที รวมถึงจัดระบบประชาสัมพันธ์ผลงานของสมาชิกรัฐสภาให้ประชาชนรับรู้, 2.เพิ่มบทบาทในงานรับฟังความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย,3.เพิ่มกิจกรรมเชิงปฏิบัติด้านการศึกษาทางด้านการเมืองและระบอบประชาธิปไตย ที่รัฐสภามอบหมาย ในเนื้อหาเสนอให้จัดระเบียบ “หลักสูตรของสถาบัน” โดยเฉพาะการจัดประเภทผู้เข้ารับอบรมที่ไม่ปนกัน เช่น เฉพาะฝ่ายการเมืองเท่านั้น, เฉพาะข้าราชการระดับสูงเท่านั้น เพื่อป้องกันการสร้างเครือข่ายที่มุ่งหาประโยชน์ของผู้เข้าอบรม
โดยแนวคิดและที่มาของข้อเสนอ “เสรี สุวรรณภานนท์ ฐานะประธานกมธ.ฯ” ขยายความ ว่า “ที่ผ่านมาสถาบันพระปกเกล้า ไม่ตอบสนองงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภาได้ดีเท่าที่ควร เพราะมีแต่การสอนหนังสือ แม้จะสอนเรื่องการเมืองการปกครอง แต่ผลลัพท์กลับไม่ทำให้การเมืองดีขึ้น อีกทั้งในโครงสร้างของสถาบันฯ ที่เต็มไปด้วยผู้มีอิทธิพลในแวดวงรัฐสภาจึงไม่มีใครกล้ายุ่งทั้งที่มีปัญหา โดยเฉพาะการจัดหลักสูตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อสร้างเครือข่ายหาผลประโยชน์ของผู้รับการอบรม”
(เสรี สุวรรณภานนท์)
แต่เหตุผลของ “ประธาน กมธ.ฯ” และข้อเสนอของรายงานปฏิรูประบบรัฐสภา ส่วนของสถาบันพระปกเกล้า ไม่มีตัวบทพิสูจน์ใดที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงความเห็นจากบุคคลที่มีประสบการณ์ตรง และมองว่าเป็นข้อบกพร่อง
อย่างไรก็ดี เมื่อรายงานฉบับนี้ ถูกถูกโฟกัสปัญหาและ มีข้อเสนอต่อการจัด “จัดระเบียบหลักสูตร” ที่ถูกนำไปหาผลพลอยได้ในด้านต่างๆ นั้น “ดร.ถวิลวดี บุรีกุล กรรมการสถาบันฯ และผู้อำนวยการสำนักวิจัย และพัฒนา” ยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้ กรณีที่ผู้เข้ารับการอบรมจะสร้างความรู้จักและสานสัมพันธ์ภายหลังจากที่จบหลักสูตรไปแล้ว แต่สิ่งที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นจุดอ่อนนั้น สถาบันฯ เตรียมที่จะปรับปรุงและพัฒนาบททดสอบ ซึ่งเน้นด้านจิตสำนึกสาธารณะและการทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคม
ด้านมุมมองที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็น จุดอ่อน และนำไปการเมืองที่ล้มเหลว นั้น “ดร.ถวิลวดี” อธิบายความไว้ว่า การจัดหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันนั้น จะถูกกำกับโดย 2 ส่วน คือ คณะกรรมการของสถาบัน, คณะกรรมการหลักสูตร ส่วนการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าอบรมแต่ละหลักสูตร นั้นจะถูกคุม โดย 3 ส่วนสำคัญ คือ 1.คณะกรรมการหลักสูตร ที่จัดทำสาระและกำหนดประเภทผู้อบรมที่หลากหลาย 2.คณะกรรมการคัดเลือก ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร, การทดสอบความตั้งใจ ความรู้และผลงาน และ 3.คณะกรรมการสถาบันฯ ที่ต้องเป็นผู้ลงนามอนุมัติ
“หลักสูตรที่จัดให้บุคคลที่มีตำแหน่งระดับสูง ยอมรับว่าจะกำหนดโควต้าผู้ที่เข้าเรียนตามสัดส่วน เช่น ภาคเอกชน , ภาครัฐ ซึ่งมาจากการคัดเลือกขอหน่วยงาน, ท้องถิ่น, องค์กรอิสระ, กลุ่ม เอ็นจีโอ, ภาคประชาสังคม, สื่อมวลชน ขณะที่หลักสูตรที่กำหนดโควต้าให้เป็นระดับประชาชนหรือผู้นำยุคใหม่ ต้องมีการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์จากคณะกรรมการคัดเลือก” ดร.ถวิลวดี อธิบาย
ขณะที่ประเด็น “เด็กฝาก” นั้น กรรมกาสถาบันฯ ยอมรับว่า “แม้จะมีแต่หลักสำคัญ คือ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน พร้อมกับต้องเข้าสู่การคัดเลือกจากการสัมภาษณ์ ตามระเบียบของสถาบันฯ ทั้งนี้มีกติกาที่สำคัญ อาทิ ห้ามผู้อบรมเรียนหลักสูตรซ้ำซ้อน หรือเรียนต่อเนื่อง หลักสูตรชนหลักสูตร ขณะที่บุคคลที่มีความสัมพันธ์เป็น สามี หรือภรรยา หรือบุตรจะกำหนดห้ามเรียนในหลักสูตรใดพร้อมกัน หรือเรียนหลักสูตรเดียวกันในช่วงเวลาต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิได้เรียน หรือเข้ารับอบรมในหลักสูตร
ขณะที่การคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมนั้น ตามคำอธิบายที่จะถูกพิจารณาจากกรรมการคัดเลือก ที่ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการของสถาบัน เมื่อส่องดูโครงสร้าของกรรมการ จะพบว่า กำหนดให้กรรมการฯ มาจากฝ่ายการเมืองในรัฐสภา คือ ประธานรัฐสภา , รองประธานวุฒิสภา, ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ, กรรมาธิการ ของส.ส. และ ส.ว. แต่ในปัจจุบันที่มี “สนช.”เป็นโครงสร้างเดียวของรัฐสภา กรรมการสถาบัฯ ชุดปัจจุบัน จึงมี คนจาก “สนช.” นั่งทำหน้าที่ ได้แก่ “พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธาน”, “สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่1” – พีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช. คนที่ 2 เป็นรองประธานสถาบันฯ และสมาชิกสนช. อาทิ ตวง อันทะไชย, วัลลภ ตังคณานุรักษ์, สมชาย แสวงการ, กล้านรงค์ จันทิก ร่วมเป็นกรรมการ
บทบาทสำคัญของกรรมการสถาบันฯ คือ นอกจากจะร่วมคัดเลือกบุคคลให้ผ่านการอบรม แล้ว ต้องลงนามอนุมัติฯ สิทธิเรียนให้กับผู้ที่ผ่านคัดเลือก
ต่อประเด็นนี้ “สมบัติ บุญงามอนงค์” อดีตนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข หรือ 4ส. รุ่น6 ชี้จุดไว้ว่า “การสร้างเครือข่ายเพื่อหาผลประโยชน์ของผู้อบรมนั้น มีไม่เยอะ แต่มีอยู่จริง และรับรู้กันว่าเป็นเด็กฝาก หาก สปท. จะแก้ไขเรื่องคอนเน็คชั่น ทำง่ายๆ คือ แก้ที่คณะกรรมการคัดเลือกผู้อบรม ให้มีความโปร่งใสอย่างแท้จริง”
และในทัศนะของผู้ที่เคยถูกชวนให้เข้าร่วมอบรม หลักสูตร 4ส ซึ่งเป็น 1 ในผู้อบรมที่ถูก “กรรมการคัดเลือก” ต้องชั่งใจหนักว่าจะ รับเข้าอบรมดีหรือไม่? “สมบัติ” เล่าว่า “การคัดเลือกของกรรมการฯ มีหลายขั้นตอน นอกจากจะตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว ยังต้องนำรายชื่อให้กรรมการฯ พิจารณาว่าจะรับ หรือไม่รับ ซึ่ง ผมเป็นคนหนึ่งที่ถูกอภิปรายกันอย่างหนัก แต่ด้วยความที่หลักสูตร 4ส.ซึ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อการสร้างสันติในสังคม ลดความขัดแย้ง และหาทางออกด้วยสันติวิธี ผมจึงผ่านและได้รับอนุมัติให้ร่วมหลักสูตร ทั้งนี้ผมสนับสนุนให้ สถาบันพระปกเกล้าฯ จัดหลักสูตรวิชาการที่เปิดกว้างกับบุคคลหลากหลายประเภท หลากหลายแนวคิดเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรเดียวกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และต่อยอดเพื่อประโยชน์ในทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ย้อนมาดูที่ข้อเสนอในรายงานของสปท. มีแนวทางสานต่อแนวคิดปฏิรูปไว้สำคัญ คือ การแก้ไข “พระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2541” เพื่อปูทางไปสู่การจัดระเบียบและปรับปรุงหลักสูตร ดังนั้นเมื่อ “สปท.” เห็นชอบต่อรายงานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการนำส่งรายงานพร้อมความเห็น ต่อ “
------