คอลัมนิสต์

 ย้อนรอยพรรคทหาร ในการเมืองไทย

ย้อนรอยพรรคทหาร ในการเมืองไทย

10 ส.ค. 2559

หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ หลายคนจับตาการเข้าสู่การเมืองของทหาร ซ฿่งเคยมีมาแล้วหลายครั้งในสังคมการเมืองไทย

          จากการเปิดตัวของ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ว่าจะทำพรรคการเมืองหนุน "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" เป็นนายกรัฐมนตรี ในนามพรรค "ประชาชนปฏิรูป"    ทำให้ต้องไปพลิกย้อนไปดูประวัติศาสตร์การเมืองไทยว่ามีพรรคที่ถูกเรียกว่า  "พรรคทหาร" มากี่พรรคและเป็นลักษณะไหน

        พรรคทหารพรรคแรกคือ  พรรคเสรีมนังคศิลา (2498) มี  "จอมพล ป.   พิบูลสงคราม" เป็นหัวหน้าพรรค  พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็น เลขาธิการพรรค มี จอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์ เป็นรองหัวหน้าพรรค  ซึ่งก็ชนะการเลือกตั้ง แต่ก็เกิดปัญหาในการบริหาร  ทำให้ถูกรัฐประหารโดย "จอมพลสฤษฎิ์"

         ขณะเดียวกันในปี  2500 ก็มีการตั้ง "พรรคสหภูมิ"   โดยมี "สุกิจ นิมมานเหมินทร์" เป็นหัวหน้าพรรค  แต่รับการสนับสนุนจาก "จอมพลสฤษฏิ์"   ซึ่งเมื่อ  และการเลือกตั้งในปีเดียวกันก็หนุนให้ "พจน์ สารสิน" เป็นนายกฯ   แต่เสียงที่ได้เมื่อไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จอมพลสฤษฎิ์จึงตัดสินใจยุบรวม ยุบพรรคเสรีมนังคศิลา - พรรคสหภูมิ  เกิดใหม่เป็นพรรค "ชาติสังคม" 


         พรรคชาติสังคม (2500) คราวนี้มี "จอมพลสฤษฏิ์" เป็นหัวหน้าพรรค  มี พล.ท.ถนอม กิตติขจร - นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ เป็นรองหัวหน้าพรค และให้ "พล.ท.ถนอม" ขึ้นเป็นนายกในปี 2501

         ต่อมามีการรัฐประหารปี 2501 โดย "จอมพลสฤษฎิ์"  ซึ่งคราวนี้เขาก็นั่งเป็นนายกฯเอง    และเมื่อ "จอมพลสฤษฏิ์" เสียชีวิต จอมพลถนอม ก็ขึ้นเป็นนายก

       ต่อมามีการตั้งพรรค สหประชาไทย  (2511) มี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค  มีรองหัวหน้าพรรค 3 คน คือ จอมพลประภาส จารุเสถียร พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ และนายพจน์ สารสิน   แต่ก็เกิดความวุ่นวายในปี 2514  เขาจึงยึดอำนาจตัวเอง  และยกเลิกรัฐธรรมนูญ  ยกเลิกพรรคการเมือง  และห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน จึงเป็นการปิดฉากพรรคสหประชาไทย 

      จากนั้นในปี 2534 ก็เกิดรัฐประหารขึ้นอีก  และเกิดพรรค "สามัคคีธรรม" ขึ้นในปี 2535  โดยมี "ณรงค์ วงศ์วรรณ" เป็นหัวหน้าพรรค  แต่สุดท้าย "ณรงค์ วงศ์วรรณ" ก็ไม่ได้เป็นนายกฯ โดยมีการระบุว่าเขาถูกแบล็คลิสต์จากสหรัฐฯ ทำให้พรรคสามัคคีธรรมผลักดัน "สุจินดา คราประยูร" ขึ้นเป็นนายกฯ  ภายใต้วาทกรรม" เสียสัตย์เพื่อชาติ"  จนเป็นที่มาของ"พฤษภาทมิฬ"ในที่สุด

      ต่อมาการรัฐประหารปี 2549  หลังจากนั้นก็ไม่ชัดว่าจะมีพรรคใดที่เป็นพรรคนอมิมนีของทหารชัดเจนมีแต่พรรคที่ถูกตั้งข้อสงสัยเช่น  พรรคเพื่อแผ่นดิน หรือพรรคมัชฌิมาธิปไตย แแต่สุดท้ายเมื่อพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งพวกเขาก็เข้าร่วมรัฐบาล

         จนกระทั่ง มีการตั้งพรรค "มาตุภูมิ" ในปี (2552) ซึ่งเป็นการสวมจากพรรคอื่น โดยเดิมเป็นชื่อ "พรรคราษฎร" จดตั้งในปี 2551 และเชิญ "สนธิ บุณยรัตกลิน" อดีตหัวหน้า คมช. มาเป็นหัวหน้าพรรค  แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง

        ว่ากันว่าเพราะวันนั้น "สนธิ" ไม่เหลืออำนาจอะไรในมือแล้ว

      แต่ครั้งนี้จะมีพรรคทหารหรือไม่ และหากมีจะประสบความสำเร็จหรือเป็นเพียงพรรคเฉพาะกิจที่มีหน้าที่ "หนุน" และ "พา" คนเข้าสู่อำนาจ อนาคตจะมีคำตอบให้ปัจจุบัน