Lifestyle

กระต่ายขูดมะพร้าวศิลปหัตถกรรมมลายู มรดกทางภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชุมชนบาราโหม จังหวัดปัตตานี เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่สืบสานวิถีสังคมพหุวัฒนธรรม ชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ชุมชนบาราโหมแยกออกจาก ตำบลตันหยงลูโละ เมื่อ 80 - 90 ปีก่อน ถิ่นฐานเดิมเป็นหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานีเดิม เกี่ยวโยงเมืองลังกาสุกะ ประชาชนเดิมนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เป็นเมืองพุทธมลายูแห่งราชอาณาจักรลังกาสุกะ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนครรัฐพุทธ เป็นรัฐอิสลาม มีพญาอินทิรา เป็นผู้ก่อตั้งรัฐปาตานีดารุสลาม (นครแห่งสันติ)  ที่นี่จึงเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีทั้งชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยเรียนรู้และเข้าใจกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน บาราโหมจึงมีเรื่องราว ศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่มากมายที่อยู่ภายในชุมชน จนเกิดเป็นชุมชุมท่องเที่ยวนวัตวิถี เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างใกล้ชิด

กระต่ายขูดมะพร้าว ซึ่งภาษาถิ่นเรียกว่า กอแร เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวบ้านชุมชนบาราโหม ที่ยังคงมีให้เห็นอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ที่มีความโดดเด่นและผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมมลายูกับวัฒนธรรมของไทยและแตกต่างจากกระต่ายขูดมะพร้าว พื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย ก็คือ กระต่ายขูดมะพร้าว ของบ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งในปัจจุบันเป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นโดยการคิดค้นของชาวบ้านเองในพื้นที่ นั่นก็คือ นายอาลี มาหะ อายุ 77 ปี หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ตาลี ได้เล่าว่า กระต่ายขูดมะพร้าวที่ตนได้ทำขึ้นมา ได้แนวคิดมาจากขวดน้ำตราสิงห์ที่ตนพบ จึงเกิดเป็นกระต่ายขูดมะพร้าวที่มีทุกขนาด หลายลวดลายจนถึงทุกวันนี้ โดยส่วนตัวตาลีชอบเก็บสะสมและประดิษฐ์คิดค้นของใช้โบราณ มาตั้งแต่อายุ 25 ปี

กระต่ายขูดมะพร้าวศิลปหัตถกรรมมลายู มรดกทางภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

กระต่ายขูดมะพร้าวศิลปหัตถกรรมมลายู มรดกทางภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

โดยสมัยก่อน ตาลีอาศัยอยู่ในป่า และประดิษฐ์เครื่องใช้ขึ้นเอง โดยหาวัสดุจากในป่า  ซึ่งตาลีชอบแกะสลักลวดลายมลายูบนเครื่องใช้ที่ตนสรรค์สร้างขึ้นมา จากนั้นตนก็ได้ยึดอาชีพ การแกะสลักกระต่ายขูดมะพร้าวจากไม้เนื้ออ่อนให้มีลวดลายมลายูจนเป็นที่โด่งดัง ทำให้มีคนจากต่างจังหวัดและต่างประเทศเช่น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น มาดูงานศิลปหัตถกรรมที่คุณตาอาลีได้ตั้งใจสร้างขึ้นมา และมีคนสนใจซื้องานแกะสลักของท่านไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมในที่ต่างๆ หรือตั้งไว้เป็นเครื่องประดับบ้าน

ตาลี กล่าวเพิ่มเติมว่า มีคนสนใจงานไม้แกะสลักมลายู และมีการติดต่อซื้อขาย  โดยกระต่ายขูดมะพร้าวแกะสลักขนาดธรรมดา จะมีราคาประมาณ 3,000 บาท และขนาดใหญ่ประมาณ 2 เมตร จะมีราคา 25,000 บาท แต่ด้วยความรักในงานศิลปหัตกรรมโบราณ เครื่องใช้โบราณ จึงพยายามบรรจงสร้างโดยไม่ได้คำนึงถึงรายได้มากนัก  เพื่อให้สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่คู่กับชุมชนปัตตานีโบราณแห่งนี้สืบไป รวมไปถึงการ สร้างสัมพันธ์ไมตรีกับผู้ที่มาเยือนชุมชนแห่งนี้  ซึ่งก่อให้เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม  ให้สมดังคำขวัญที่ว่า “ปัตตานีเมืองโบราณ เมืองรวยอารยธรรม”

กระต่ายขูดมะพร้าวศิลปหัตถกรรมมลายู มรดกทางภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

กระต่ายขูดมะพร้าวศิลปหัตถกรรมมลายู มรดกทางภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

กระต่ายขูดมะพร้าวศิลปหัตถกรรมมลายู มรดกทางภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับการสร้างงานด้วยลวดลายมลายูอย่างเช่นที่คุณตาอาลีได้ทำขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก และกำลังจะสูญหายไป ปัจจุบันมีเพียงลูกชายคนเดียวของท่านที่รับช่วงต่อ ซึ่งการแกะสลักไม้ลวดลายมลายู แม้ในปัจจุบันยังมีให้เห็นแต่กลับเหลือน้อยจนต้องมีการอนุรักษ์ไว้  โดยผู้คนส่วนมากจะรู้จักลวดลายมลายูจากเรือกอและ แต่ยังมีน้อยคนที่จะรู้จักกระต่ายขูดมะพร้าวสลักลายมลายูเป็นรูปสิงห์ และมีหน่วยงานภาครัฐจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี เข้ามาดูแลและช่วยอนุรักษ์ รวมไปถึงหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเช่นนี้ จนปัจจุบันบ้านของคุณตาอาลี กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ศิลปหัตถกรรมการแกะสลักไม้เนื้ออ่อน ที่มีนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจในศิลปะการแกะสลักมลายูมาเรียนรู้วิธีการทำ โดยคุณตาอาลี ยินดีที่จะเผยแพร่วิชาของตนให้แก่ผู้ที่มาเยือนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ

กระต่ายขูดมะพร้าวศิลปหัตถกรรมมลายู มรดกทางภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ