ชีวิตดีสังคมดี

'รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน' อภิมหา เมกะโปรเจกต์ ถ้าแล้วเสร็จจะผ่านจังหวัดไหนบ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน' อภิมหา เมกะโปรเจกต์ มูลค่า 2 แสนล้านบาท แต่ทำไมยังไม่ลงเสาตอม่อสักต้น ถ้าแล้วเสร็จเปิดใช้งานจะผ่านจังหวัดไหนบ้าง พร้อมอัปเดตความคืบหน้าล่าสด

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน" ไม่ใช่เรื่องโครงการใหม่ของประเทศไทย แต่ "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน" เป็นโครงการอภิมหาเมกกะโปรเจ็กของประเทศ ที่มีเม็ดเงินในการลงทุนก่อสร้างสูงถึง  224,544 ล้านบาท และมีมูลค่าการพัฒนา ตามแผนเดิมการก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะต้องเริ่มก่อสร้าง ในปี 2564-2569 ใช้เวลาในก่อสร้างราวๆ 5 ปี แต่ปัจจุบันปี 2567 แล้วแต่โครงการ "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน"  แต่ยังไม่ลงเสาตอม่อแม้แต่ต้นเดียว 

 

สถานะล่าสุดของ "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน"  แม้ว่าจะเปิดประกวดราคาโดยรูปแบบการลงทุนร่วมรัฐและเอกชน (PPP) พร้อมกับมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้ดำเนินงานร่วมกับเอกชนในรูปแบบ PPP-Net Cost ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ครบสัญญาทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐบาล แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ 

 

ภาพจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ความเป็นมาของ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน" ที่ผ่านในเดือน ก.ค. 2561 ได้เริ่มเปิดขายซองประมูลโครงการ บริษัทที่ชนะการประมูล คือ  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเสนอราคาที่ 117,227 ล้านบาท  แต่ระหว่างนั้นกลับมีปมมากหมายที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แล้วเสร็จ ไม่ว่าจะเจอวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้เอกชนที่ชนะการประมูลไปไม่สามารถดำเนินการในส่วนต่างๆ ต่อได้ จนทำให้บัตรส่งเสริมบีโอไอที่เคยออกไว้ตั้งแต่ปี 2565 หมดอายุไป เมื่อต้นปี 2567 ที่ผ่านมาทางเอกชนขอยื่นขยายเวลาแต่ไมได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ทำให้การส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง ปัจจุบันการก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างไร จากรถไฟความเร็วสูง อาจจะกลายเป็นรถไฟความช้าได้ 
 

 

 

  • ความคืบหน้าล่าสุด "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน"  

ส่งมอบพื้นที่ช่วงนอกเมือง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 100% โดยมีการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมเดินหน้าก่อสร้าง 

 

เตรียมส่งมอบพื้นที่ช่วงในเมืองดอนเมือง-พญาไท 97.21 % เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนประมาณ พ.ค. 2567  โดยอยู่ระหว่าการรื้อย้ายระบบระบายน้ำของ กทม. และอยู่ระหว่างการรื้อย้ายท่อน้ำมันของบ. ขนส่งน้ำมันทางท่อจำกัด (FPT)

 

 

  • ย้อน แบบก่อสร้าง "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน"   

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน รวมระยะทาง 220 กิโลเมตร มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับช่วงการเดินรถระหว่างเมือง คือ สถานีสุวรรณภูมิ ถึง สถานีอู่ตะเภา และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอนเมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ 

 

 

ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นจำแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.ทางวิ่งยกระดับ ระยะทางประมาณ 211 กิโลเมตร
2.ทางวิ่งระดับดิน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
3.ทางวิ่งใต้ดิน ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

 

 

  • เส้นทางรถไฟ "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน" ผ่านจังหวัดอะไรบ้าง 

แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีจำนวนสถานีให้บริการทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา

 

ภาพจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

 

หากก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือ "รถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน" จะเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักด้านคมนาคม ที่จะเชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศยานหลักของประเทศ คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และนำความเจริญเติบโตด้านต่างๆ เข้าสู่พื้นที่ EEC สร้าง New S-Curve ใหกับเศรษฐกิจของไทย
 

 

 

ที่มา: เว็บไซต์โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ