ชีวิตดีสังคมดี

ผ่าแผนสร้าง 'สนามบินล้านนา' ทุ่มงบ 7 หมื่นล้าน อีกไม่นานเตรียมแลนดิ้งได้เลย

ผ่าแผนก่อสร้าง 'สนามบินล้านนา' สนามบินเชียงใหม่ แห่งที่ 2 ทุ่มงบ 7 หมื่นล้าน ลดแออัด ปักหมุดที่ไหน ผ่านอำเภออะไรบ้าง อีกไม่นานเตรียมแลนดิ้งสนามบินใหม่ได้เลย

ความแออัดของ สนามบินเชียงใหม่ ซึ่งนับวันจะมีความหนาแน่นของผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไฮซีซั่น โดยเฉลี่ยแล้ว สนามบินเชียงใหม่ จะต้องรองรับเที่ยวบินจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน สนามบินเชียงใหม่มีเที่ยวบินหลังเวลา 20:00 น ประมาณ 30 เที่ยวบิน บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) กระทรวงคมนาคม จึงมีแผนที่จะก่อสร้าง "สนามบินล้านนา" หรือ สนามบินเชียงใหม่ แห่งที่ 2 เพื่อรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และลดความแออัดใน สนามบินเชียงใหม่ แห่งเก่า 
 

สำหรับ "สนามบินล้านนา" หรือ สนามบินเชียงใหม่ แห่งที่ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาในเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขนาดพื้นที่ที่จะใช้สำหรับก่อสร้าง "สนามบินล้านนา" ขนาดทางวิ่ง ลานจอดอากาศยาน พื้นที่สำหรับผู้โดยสาร ที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร เบื้องต้นคาดว่า จะใช้งบประมาณในการลงทุนราวๆ 70,000 ล้านบาท สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 20 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้การก่อสร้าง สนามบินเชียงใหม่ แห่งที่ 2 จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 5-7 ปีในการศึกษาข้อมูล 

โดย สนามบินเชียงใหม่ แห่งที่ 2 หรือ "สนามบินล้านนา" เป็นนโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาขีดความสามารถท่าอากาศยาน ภายใต้การบริหารของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ซึ่งเริ่มดำเนินการศึกษามาตั้งแต่ปี 2563 

 

 

สนามบินแห่งที่ 2 เชียงใหม่อยู่ที่ไหน

"สนามบินล้านนา" หรือ สนามบินเชียงใหม่ แห่งที่ 2 มีแผนจะก่อสร้างในพื้นที่ ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ บนพื้นที่ 3,631 ไร่  และ ต.ห้วยยาบ ต.บ้านธิ อ.เมือง จ.ลำพูน บนพื้นที่ 3,388 ไร่ รวมพื้นที่ก่อสร้าง "สนามบินล้านนา" ทั้งหมด 7,019 ไร่ ห่างจากสนามบินเชียงใหม่แห่งเก่าประมาณ 18 กม. อยู่บนทางหลวงหมายเลข 1317 มีลักษณะพื้นที่เป็นทุ่งนาสลับกับหมู่บ้าน 

 

 

ส่วนรันเวย์ของ "สนามบินล้านนา"  หรือ สนามบินเชียงใหม่ แห่งที่ 2  จะทอดไปในทิศเหนือ ห่างจากโรงพยาบาลสันกำแพง ประมาณ 1,400 เมตร ห่างจากถนนสาย 1317 ประมาณ 950 เมตร และทิศใต้ห่างจากปากทางเข้าโรงพยาบาลบ้านธิลำพูน ประมาณ 450 เมตร มีความกว้างของกรอบระมาณ 1,500 เมตร และความยาวของกรอบประมาณ 5,000 เมตร พื้นที่โดยประมาณ 4,708 ไร่ กรอบนิรภัยและทางเข้า ได้ทำให้มีทางเข้าติดกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1317 ความกว้าง 230 เมตร ห่างจากกรอบรันเวย์ทางทิศเหนือ ประมาณ 950 เมตรความกว้าง 2,110 เมตร ความยาว 5,950 เมตร พื้นที่ประมาณ 7,019 ไร่ 

 

 

ข่าวยอดนิยม