ชีวิตดีสังคมดี

เปิดแผน 'สนามบินอันดามัน' ทุ่มงบ 7 หมื่นล้าน อีกไม่นานเกินได้ฤกษ์ลงเสาเข็ม

เปิดแผน 'สนามบินอันดามัน' ทุ่มงบ 7 หมื่นล้าน อีกไม่นานเกินได้ฤกษ์ลงเสาเข็ม

13 ก.พ. 2567

เปิดแผนสร้าง 'สนามบินอันดามัน' ทุ่มงบ 70,000 ล้าน ไม่นานเกินรอได้เวลาลงเสาเข็มบนพื้นที่ 6,000 ไร่ คาดอีก 5 ปีเปิดใช้งานรับผู้โดยสาร 40 ล้านคน

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOTอยู่ระหว่างเตรียมการศึกษาและจัดทำรายละเอียดโครงการ ท่าอากาศยานนานาชาติอันดามัน หรือ "สนามบินอันดามัน" โดยพื้นที่ก่อสร้างจะอยู่บริเวณ ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา พื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราชพัสดุ มูลค่าโครงการ 70,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อให้ศึกษารายละเอียดสำหรับการก่อสร้าง "สนามบินอันดามัน" ไม่ว่าจะเป็น  ขอบเขตพื้นที่ทั้งหมด , วิธีก่อสร้าง , รายละเอียดงบประมาณ และการจัดทำรายผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จะใช้เวลาศึกษารายละเอียด 8 เดือนนับจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้างศึกษา ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจ้างที่ปรึกษาปลายปีนี้ 

รูปแบบ "สนามบินอันดามัน" ใช้พื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่ บริเวณตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา อยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตประมาณ 35 กิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราชพัสดุ  การก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) 2 เส้น รองรับผู้โดยสารสูงสุดที่ 40 ล้านคนต่อปี โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 70,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่าจะใช้ระยะเวลา 3 ปี สำหรับศึกษาออกแบบและขออนุมัติโครงการ คาดว่าจะเริ่มกระบวนการออกแบบ ศึกษาราละเอียดก่อสร้าง "สนามบินอันดามัน" ในปี 2567 ดังนั้นคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2573–2574 

ทั้งนี้ในช่วงปลายปี 2566  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี  รับฟังข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติอันดามัน หรือ "สนามบินอันดามัน" โดยนายกฯ ได้เน้นย้ำในเรื่องการเวรคืนที่ดิน โดยรอบ สนามบิน ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน  เนื่องจากมี1 ใน 3 ของที่ดินทั้งหมด 7,000 กว่าไร่ ที่ยังไม่ได้เวนคืน โดยให้ทาง AOT ทำแผนว่าทั้งหมดมีจำนวนกี่ไร่และระยะเวลาเท่าใด เพื่อบริหารจัดการความคาดหวังและวางแผนการออกแบบไปพร้อมๆกัน

 

 

ที่ตั้ง "สนามบินอันดามัน" ได้เลือกจุดก่อสร้างในพื้นที่ จ. พังงา  บริเวณตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา อยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตประมาณ 35 กิโลเมตร พื้นที่ในการก่อสร้าง "สนามบินอันดามัน" จะใช้พื้นที่ราชพัสดุ งบประมาณ 70,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่าจะใช้เวลาในการศึกษาออกแบบประมาณ 3 ปี พร้อมขออนุมัติโครงการ หลังจากนั้นจะเปิดประกวดราคาและดำเนินการก่อสร้างประมาณ 4 ปี รวมระยะเวลาดำเนินงานทั้งหมดประมาณ 7 ปี นับจากปี 2567 ดังนั้นคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2573–2574