ชีวิตดีสังคมดี

'นายจ้าง' เช็กด่วน เดดไลน์ 'ส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567' ก่อนเจอความผิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ส่งเงินสมทบประกันสังคม' ที่ 'นายจ้าง' ต้องรู้ เดดไลน์ 'ส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567' ก่อนเจอความผิด ทั้งคุก ทั้งปรับ

“ประกันสังคม” คือ สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ทางรัฐบาลมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยหลักการแล้ว จะมีการหักเงิน จากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสังคม ให้กับ “ผู้ประกันตน” โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคม ประกอบด้วย ผู้ประกันตน, นายจ้าง และรัฐบาล โดยเฉพาะ “นายจ้าง” เมื่อมี ลูกจ้าง อยู่ในความดูแล จะต้องมีหน้าที่ในการ ขึ้นทะเบียน และ “ส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567” คมชัดลึก ได้รวบรวมเรื่องที่ นายจ้าง ต้องรู้ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียสิทธิ

“ส่งเงินสมทบประกันสังคม นายจ้าง”  นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้น จะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

วิธีการ ส่งเงินสมทบประกันสังคม

 

นายจ้างจะต้องเป็นผู้หักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้าง ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง โดยต้องมีการคำนวณเงินสมทบค่าจ้าง ฐานของเงินค่าจ้างขั้นต่ำ ตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยพนักงานจะถูกหักจ้างเงินเดือน 5% ตามด้วยเจ้าของกิจการจ่ายสมทบ 5% และรัฐบาลจ่ายสมทบอีก 2.75%

 

 

จากนั้น ให้นำส่งเงินสมทบ พร้อมจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส.1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือนำส่งทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเงื่อนไขดังนี้

  1. นำส่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ เป็นเงินหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  2. ชำระเงินผ่านทางธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคากรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด โดยต้องเป็นสาขาในจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

 

 

ขั้นตอนการ “ส่งเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์”

 

  • เข้าสู่ระบบ และเลือกเมนู “ส่งข้อมูลเงินสมทบ”
  • เลือก “วิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ”
  • เลือกสถานประกอบการ
  • เลือกวิธีการนำส่ง พร้อมกรอกเดือน ปี และอัตราเงินสมทบ
  • เลือกอัปโหลดไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ”
  • สรุปข้อมูลเงินสมทบ
  • ส่งข้อมูลเงินสมทบสำเร็จ

 

 

จากนั้น ระบบจะส่งข้อมูลยืนยันตามแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ 2) เข้าทางอีเมลของนายจ้าง เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงินต่อไป

 

 

ทั้งนี้ นายจ้างที่ชำระเงินผ่านช่องทางดังกล่าว จะได้รับการขยายเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และการชำระเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ออกไปอีก 7 วันทำการ นับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ โดยไม่มีเงินเพิ่มตามกฎหมาย สำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือน ม.ค. 2567-ธ.ค. 2567 เป็นระยะเวลา 12 เดือน

 

 

ตารางวันสิ้นสุดการนำ ส่งเงินสมทบประกันสังคม

 

  • งวดค่าจ้าง มกราคม 2567  วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 27 ก.พ. 2567
  • งวดค่าจ้าง กุมภาพันธ์ 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 มี.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง มีนาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 เม.ย. 2567
  • งวดค่าจ้าง เมษายน 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 27 พ.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง พฤษภาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 มิ.ย. 2567
  • งวดค่าจ้าง มิถุนายน 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 25 ก.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง กรกฎาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 ส.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง สิงหาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 25 ก.ย. 2567
  • งวดค่าจ้าง กันยายน 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 25 ต.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง ตุลาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 พ.ย. 2567
  • งวดค่าจ้าง พฤศจิกายน 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 25 ธ.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง ธันวาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 24 ม.ค. 2567

ตารางสิ้นสุดส่งเงินสมทบประกันสังคม

 

 

นายจ้างไม่ส่งประกันสังคม

 

หากนายจ้างดำเนินการส่งเงินสมทบไม่ทัน หรือส่งเงินสมทบไม่ครบ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง หรือจำนวนเงินที่ขาดอยู่ โดยต้องนำส่งด้วยตนเอง ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น

 

 

แต่ถ้านายจ้างเกิดกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10) ผิดพลาด เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะดำเนินการสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง หากยังไม่ปฏิบัติตามหรือยังทำไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ