ชีวิตดีสังคมดี

ปรับโครงสร้างหนี้ 'กยศ.' ไม่พอ นักวิชาการแนะควรเลิกทำตัวเป็นเจ้าของเงิน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปรับโครงสร้างหนี้ 'กยศ.' อาจยังไม่พอ นักวิชาการชี้ต้องเลิกทำตัวเป็นเจ้าของเงิน เลิกยึดทรัพย์ บังคับคดี ระบุควรออกแบบโครงสร้างหนี้ใหม่ทั้งระบบตั้งแต่ระยะปลอดหนี้ ไปจนถึงการกำหนดดอกเบี้ยใหม่

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึง การปรับโครงสร้างหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ "กยศ." ตาม พ.ร.บ.กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2566  ว่า การปรับโครงสร้างหนี้ "กยศ."ในครั้งนี้จะทำให้ระบบการกู้ยืมสำหรับการศึกษาดีขึ้น แต่รูปแบบจะต้องมีความชัดเจนมากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาเราต้องยอมรับว่า การเข้าถึงข้อมูลของ กยศ. เป็นไปได้ยากมากโดยเฉพาะในกลุ่มคนข้างล่างที่ต้องการเข้าถึงเงินกู้ อีกทั้งที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของ "กยศ." ไม่ค่อยดีมากนัก เพราะมีทั้งการยื่นฟ้อง ยึดทรัพย์ ส่งผลให้นักเรียน นักศึกษาที่จะต้องการจะเข้าถึงเงินกู้ กยศ. เกิดความหวั่นเกรง ไม่กล้ายื่นกู้ จนท้ายที่สุดขาดโอกาสในการศึกษาต่อ

 

ขอบคุณจาก กสศ.

ดังนั้นการปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้ควรจะมองให้รอบด้านไม่ใช่แค่การปรับลดเพดานดอกเบี้ย หรือเบี้ยปรับลงเท่านั้น แต่ควรจะทำให้คนจนเข้าถึงเงินของกองทุนมากยิ่งขึ้น เพราะยังมีกลุ่มคนอีกจำนวนมากที่หมดโอกาสในการกู้ยืมเงินจาก "กยศ." เพราะเข้าไม่ถึงระบบ นอกจากนี้ตนมองว่า "กยศ." ยังจะต้องปรับ พ.ร.บ.กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้เป็นกองทุนที่ให้ทุนการศึกษาด้วย นอกเหนือไปจากการให้กู้ยืมเงินเท่านั้น

 

 

ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงการปรับภาพลักษณ์ของ "กยศ." ใหม่ ด้วยว่า นอกจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "กยศ." จะต้องคำนึงถึงระบบการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นหลักด้วยโดยจะต้องไม่คิดว่าตัวเองเป็นเจ้านี้ หรือเป็นเจ้าของเงิน เพราะที่ผ่านมาเราพบว่า กองทุนฟ้องลูกหนี้ และเอาทรัพย์สินของประชาชน ทำให้คนกู้เกิดความเครียด ซึ่งกองทุนเพื่อการศึกษาจริงๆ ไม่ควรจะปล่อยให้เกิดเรื่องราวแบบนี้ ดังนั้น "กยศ." จะต้องปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้กลายเป็นที่พึ่งหรือทางเลือกสำหรับคนจนที่ต้องการอยากเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางรายได้ให้แก่ประชาชน

 

 

“ที่ผ่านมาเราเข้าใจว่าระเบียบของ พ.ร.บ. กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาอาจจะเป็นตัวกำหนดให้กองทุนจะต้องเข้าไปฟ้อง บังคัยคดี ยึดทรัพย์ผู้กู้ แต่การปรับครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ กยศ. จะเข้าเป็นแรงสนับสนุนให้คนไทยได้เข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย เพราะการศึกษาควรจะเป็นสวัสดิการ และไม่ควรกลายเป็นผลประโยชน์  และการศึกษาควรจะเป็นเรื่องที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคน ไม่ใช่กู้เงินไปแล้วกลับต้องมาเครียดเพราะดอกเบี้ย หรือเพราะการดำเนินคดี” ศ.ดร. สมพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

สอดคล้องกับความคิดเห็นจาก  นายพงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยด้านปฏิรูปการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่มองว่าการปรับโครงสร้างนี้ของ กยศ. เป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสมกว่าการยกหนี้ให้แก่ผู้กู้ โดยการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้จะยังทำให้คนที่ต้องการเรียนต่อมีโอกาส มีทางเลือก และมีช่องทางมากยิ่งขึ้น และแน่นอนผู้กู้เงินจะได้ประโยชน์จากการปรับโครงสร้างในครั้งนี้

 

 

โดยนายพงศ์ทัศ  ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญในการปรับโครงสร้างหนี้ และรายละเอียดอื่นๆ ใน พ.ร.บ.กู้ยืมเพื่อการศึกษา  ว่า หากพิจารณาตามรายละเอียดของ พ.ร.บ.ฯ แล้วพบว่าแน่นอนคนที่จะได้ประโยชน์ในครั้งนี้คือ ผู้กู้เงิน "กยศ." ซึ่งการปรับลดอัตราดอเบี้ย และเบี้ยปรับลงจะทำให้ภาระหนี้สินของผู้กู้ลดลง เพราะหากเปรียบเทียบกับธนาคารดอกเบี้ยที่ปรับลดลงมาจาก 18% เหลือ 0.5% ถือว่าต่ำมาก  ส่วนการปรับลำดับการชำระเงินเป็นการช่วยให้ผู้กู้ที่ไม่ได้ตั้งใจจะผิดชำระหนี้ได้ประโยชน์ เพราะคนที่ลืมชำระจะได้มีโอกาสใช้เงินต้นก่อนดอกเบี้ยปรับ

 

ภาพจาก TDRI

 

 

ส่วนกรณีที่การปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้จะทำให้เงินในกองทุนของ "กยศ." ลดลงไปกว่า 50% นั้นในอนาคต กยศ.จะต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะที่ผ่านมา กยศ.เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่สามารถบริหารจัดการตังเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินงบประมาณแผ่นดิน มาตั้งแต่ปี 2561 ดังนั้นการปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้จะกระทบอะไรหรือไม่ จะต้องรอการประมาณการหลังจากปรับโครงสร้างหนี้ให้เสร็จก่อน

 

อย่างไรก็ตาม นายพงศ์ทัศ ได้พิจารณาหลักการการปรับโครงสร้างหนี้ของ "กยศ." 3 ประเด็น คือ การลดความเหลื่อมล้ำ  สังคมได้ประโยชน์  และความยั่งยืนของกองทุน

 

 

ประเด็นแรก คือ การลดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทย แน่นอนว่าการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ โดยเฉพาะคนยากจนที่ใช้เงินกู้จาก กยศ. เท่านั้น ปัจจุบันเราพบว่าประชากรในวัยเรียน มีคนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและไม่ได้กู้ยืมเงินกยศ. โดยในแต่ละช่วงวัยตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่หนึ่ง จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีเด็กหายออกไปจากระบบระหว่างทางจำนวนมาก ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มกู้เงินจาก กยศ.ได้ พบว่ามีเด็กที่ได้ไปต่อนระดับมหาวิทยาลัยเพียงร้อยละ  60 เท่านั้น ดังนั้นกลุ่มคนที่ตกหล่นจึงไม่มีแม้แต่โอกาที่จะได้ใช้เงินของ กยศ. และหากแบ่งตามฐานะทางเศรษฐกิจเด็กที่มีฐษนะยากจนมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเข้าถึงระบบของ กยศ. เพราะพวกเขาหลุดออกจากระบบการศึกาษาไปตั้งแต่กลางคันแล้ว ดังนั้นการปรับโครงาร้างหนี้ในครั้งนี้อาจจะช่วยได้เฉพาะคนที่กู้เงินจาก กยศ. เท่านั้น และจะทำให้คนจนเสียเปรียบกว่าคนรวยด้วย  ดังนั้น กยศ. จึงจำเป็นจะต้องพึ่งพาสถาบันการศึกษา  เพราะเงินกู้อย่างเดียวไม่สามารถที่ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ทั้งหมด

 

 

ประเด็นที่สอง คือ สังคมได้ประโยชน์อะไรบ้าง โดยแยกเป็นประโยชน์ส่วนตัวคือการกู้เงิน "กยศ." ส่งผลให้ผู้กู้มีงานทำมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น  ประโยชน์ต่อส่วนรวม  คือจะต้องพิจารณาว่าเงินกู้ที่ใช้จ่ายไปนั้นต้นทุนเป็นอย่างไรโดยรัฐจำเป็นจำเป็นจะต้องอุดหนุนจำนวนเงินหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายที่เด็กหนึ่งคนจะต้องแบกรับไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับอาชีวะ หรือระดับมหาวิทยาลัย โดยจะต้องร่วมมือกับกองทุนที่อยู่ในระบบการศึกษาเช่น กสศ. แต่จากการศึกษาพบว่าการปล่อยเงินกู้ของกยศ. นั้นเป็นผลตอบแทนส่วนตัวเพราะการออกเงินกู้เงิน เป็นการให้กู้ตามความเหมาะสม สาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการของตลาดและมีโอกาสจะได้รับการตอบรับจากอุตสาหกรรม  ดังนั้นการปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้จึงมีความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดเพราะไม่ใช่การยกหนี้ให้แก่ผู้กู้ แต่ทั้งนี้กยศ. จะต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินของกองทุนเอาไว้ เพราะการปรับโครงสร้างหนี้อาจจะทำให้รัฐต้องเงินแผ่นดินมาแบกรับในส่วนดังกล่าว

 

 

ประเด็นที่สาม คือ ความยั่งยืนของกองทุน  แม้ว่า กยศ. จะมีเงินทุนมากพอบวกกับการบริหารจัดการที่ดีแล้วนั้นแต่อย่าลืมว่าที่ผ่านมามีค่าดำเนินการบังคับคดีที่ต้องจัดการดังนั้นกยศ. จึงมีความเสี่ยงอยู่ ที่ผ่านมาพบว่าแม้ผู้กู้จะจ่ายเงินตามปกติและครบตามเกณฑ์ แต่เหลือเงินเข้าสู่กองทุนจริงๆ เพียงราวๆ 30% เท่านั้น โดยพื้นฐานปกติแล้วกองทุนกยศ. นับว่าเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว ดังนั้นการปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของกองทุนเพิ่มขึ้น สิ่งที่จะแก้ปัญหาได้คือการส่งเสริมให้กู้ยืมในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ ทำให้เด็กใหม่มีงานทำและสร้างความมั่นคง ผลิตแรงงานที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน เพื่อลดภาระการผิดนัดชำระ

 

 

นายพงศ์ทัศ ได้เสนอทางออกสำหรับการออกแบบโครงสร้างหนี้ของ กยศ. ให้ครอบคลุม ไว้ว่า อย่างไรก็ตามการออกแบบโครงสร้างหนี้ของกยศ. ตนมองว่ายังสามารถดำเนินการได้มากกว่าแค่การปรับลดดอกเบี้ยและการลดเบี้ยปรับเท่านั้น  โดยวิธีการที่สามารถทำได้คือการเพิ่มระยะการปลอดหนี้ การกำหนดรายได้อัตราที่จะต้องจ่ายหนี้ เช่นสหรัฐอเมริกากำหนดระยะปลอดปลอดหนี้ที่ 6 เดือน ประเทศอังกฤษกำหนดให้มีรายได้ 30,000 ดอลล่าร์ขึ้นไปจึงเริ่มชำระหนี้ได้  การกำหนดดอกเบี้ยแบบลอยตัว โดยปรับไปตามสัดส่วนเงินกู้และสัดส่วนเงินต้นที่เหลือที่เหลือเหลืออยู่

 

 

นอกจากนี้ การชำระ แบบผูกกับรายได้ (income contingent loan) อย่างเช่นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้อยู่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ควรจะพิจารณา ทั้งนี้คงไม่สามารถระบุได้ว่าแนวทางแบบไหนที่จะเหมาะสมกับกยศ. มากที่สุดแต่จะต้องมีการศึกษาและพิจารณา เพื่อนำมาเป็นตัวเลือกและทางเลือกที่เหมาะสมในอนาคต อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือการทวงหนี้ที่กยศ. จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางใหม่  โดยอาจจะใช้เป็นวิธีการแจ้งเตือนการออกแบบในข้อความจดหมายเตือนชำระหนี้ ให้มีถ้อยคำที่เหมาะสมมากกว่าการส่งหนังสือบังคับคดีไปที่บ้าน บังคับบังคับคดี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ