นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย หรือ "GDP" ไตรมาส 3 /2566 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566-2567 รวมไปถึงประเด็นแนวโน้มเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระดับต่ำ นอกจากนี้ในการแถลงยังได้พูดถึงประเด็นการส่งเสริมแรงงานในด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงาน และเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2567
- "GDP" ไทยไตรมาส 3 โตแค่ + 1.5% ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 2
นายดนุชา กล่าวถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ "GDP" ไตรมาส 3 ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ขยายตัว 1.5% ต่อเนื่องจากในมาสที่ 2 ปี 2566 1.8% ภามรวม 9 เดือนแรกพบว่าเศรษฐกิจไทยขยาตัวประมาณ 1.9% ส่วนปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 เติบโตนั้นหลักๆ มาจาหภาคการอุปโภคบริโภคเอกชน โดยพบว่ามีการขยายตัวสูงต่อเนื่อง 8.1% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน แฃะคาดว่าในไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 จะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหมวดบริการขยายตัวอยู่ที่ 15.5% เป็นการขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มโรงแรม และร้านอาหาร ภัตตาคาร ด้านการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลง 4.9% ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ตามการลดลงของรายการโอนจ่ายเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินและบริการในตลาด 38.6% ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง เงินเดือน และค่าซื้อสินค้า บริการขยายตัว 0.2% และ 0.5% ตามลำดับ ส่งผลให้ภาพรวม 9เดือนแรกของปี 2566 การอุปโภคบริโภคเอกชนขยายตัว 7.3% ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภครัฐบาลลดลง 5.2%
ส่วนการส่งออกสินค้า ซึ่งเป็นตัวกระตุ้น "GDP" หลักของประเทศลดลงเหลือ 2.0% โดยกลุ่มสินค้าที่มีการส่งออกลดลง เช่นน้ำตาล ลดลง 3.7% ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม ลดลง 2.7% เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี ลดลง 12.7% ผลิตภัณฑ์โลหะ ลดลง 3.9% อาหารลดลง 6.2% ยางพาราลดลง 32.7% ภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรกมีมูลค่า 210,473 ล้านดอลลาร์
- แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 และการบริการจัดการเพิ่มพื้นที่ในการดำเนินนโยบาย ( Policy Space)
นายดนุชา กล่าวถึงแนวทางการบริหารจัดการเศรษฐกิจในภาพรวมของปี 2567 ว่า การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลืองของปี 2566 ต่อเนื่องปี 2567 ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญต่อจากนี้เป็นอย่างมาก โดยภาครัฐจะต้องดำเนินนโยบานการเงินการคลังอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ท่ามกลางความเสี่ยงจากความผันปวนในระบบเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและแรงกดดันทางด้านสถียรภาพเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มพื้นที่ในการดำเนินนโยบาย (Policy space) ให้มีความเพียงพอในการรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะต่อไป เพราะหากประเทศไทยมี Policy space น้อยลงจะยิ่งส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังต้องเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบ และใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการขยายตัวของความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ขับเคลื่อนภาคการส่งออกให้กลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ฟื้นฟูการท่องที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง สร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวอยู่ในประเทศนานขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น ดูแลดารผลิตภาคการเกษตรและรายได้เกษตรกร ที่คาดว่าจะว่าได้รับผลกระทบจากการเปลียนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และท้ายที่สุดคืดการรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายจากงบประมาณในช่วงที่ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้ พร้อมทั้งจะต้องเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 เตรียมโครงการให้พร้อมสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายได้โดยเร็ว
- ปีหน้าเงินดิจิทัล 10,000 บาท กระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงเล็กน้อย
นอกจากนี้เลขาธิการสภาพัฒน์ ยังได้ให้ความถึงโครงการ Digital Wallet หรือ โครงการเงินดิจิทัล 10,000 เอาไว้ว่า สำหรับการคาดการณ์การเติบโตของ "GDP" ในปี 2567 ยังไม่ได้มีการคาดการณ์โดยนำเอาโครงการ เงินดิจิทัล 10,000 มารวมด้วย เนื่องจากยังรอความชัดเจนในหลักการ การออกพ.ร.บ. เงินกู้ 5 แสนล้านบาท รวมทั้งความเห็ยจากคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน นอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะใช้รู้แบบการจับจ่ายใช้สอยเงินผ่านโครงการเงินดิจิทัลในรูปแบบใด อย่างไรก็ตามโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเป็นเพียงแค่อีกหนึ่งมาตรการในการพยุงสภาพเศรษฐกิจไทยเพียงระยะสั่นเท่านั้นที่จะมีแรงส่งสูง แต่หลังจากนั้นก็จะลดลง เพราะการเติบโต "GDP" ในประเทศไทยไม่ได้มาจากการบริโภคภายในประเทศไทยเป็นหลัก แต่มาจากการส่งออก ดังนั้นสิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการคือการส่งเสริมการส่งออกไทยให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง ตนเทียบเปรียบกับมาตรการคนละครึ่งและมาตรการเยียวยาช่วงโควิดที่ผ่านมาเรายังพบว่าช่วยกระตุ้น "GDP" ไทยเพียงแค่ 0.4% เท่านั้น เบื้องต้นจะต้องรอให้โครงการดำเนินการไปก่อนจึงจะนำมาพิจารณาได้ว่าช่วยให้ GDP ไทยเติบโตเพิ่มขึ้นประเท่าไหร่
- เตรียมหนุนแรงงานด้านดิจิทัล ป้อนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลปี 2567 ความต้องการของตลาดมากขึ้น
นายดนุชา กล่าวเพิ่มเติมถึง ปัจจุบัน สภาพัฒน์ พบว่า อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.99% ต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาส และต่ำกว่า 1.06%ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าในปี 2567 อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและดิจิทัล จะเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างมากในระบบเศรษบกิจของไทย ซึ่งขณะนี้มีบริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนเพิ่มยิ่งขึ้น ดังนั้นแรงงานในกลุ่มดิจิทัลจึงจะกลายมาเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น สิ่งที่ภาครัฐจะต้องเร่งดำเนินการคือการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เพราะอนาคตจะกลายเป็นที่ต้องการของตลอดแรงงานมากขึ้นื โดยเฉพาะในสาขาการผลิตชอฟแวร์ เซมิคอนดักส์เตอร์ ระบบดิจิทัลต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเรายังพบว่าแรงงานไทยมีข้อจำกัดในด้านนี้อยู่ ดังนั้นจะต้องมีการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษาในการเข้าไปส่งเสริม และให้ความรู้ให้แรงงานไทยมีทักษะด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง