ชีวิตดีสังคมดี

เช็กเงื่อนไข ใครเป็นผู้มีสิทธิ 'เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม'บ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้ประกันตน กว่า 24 ล้านคนไม่ได้มีสิทธิ 'เลือกตั้งบอร์ดประกัน' สังคมทั้งหมด ระเบียบกระทรวงแรงงานฯกำหนดเงื่อนไข เหลือสิทธิเลือกได้เพียงครึ่งเดียว

เปิดระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 หรือ การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม กำหนดให้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมมาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับถึงเดือนที่ประกาศให้มีการเลือกตั้ง หรือต้องอยู่ในระบบประกันสังคมตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 หรือก่อนหน้านั้น หากเข้าสู่ระบบประกันสังคมในเดือนเมษายน 2566 ก็จะไม่มีสิทธิเลือกตั้ง และในระยะเวลา 6 เดือนนี้ต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่าสามเดือน

 

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม

เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมมีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ถึง 10 % 

 

ระเบียบเลือกตั้งประกันสังคมฯ ยังกำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ต้องมีสัญชาติไทย ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ยังต้องเป็นนายจ้างหรือผู้ประกันตนที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้จะใช้สิทธิเลือกตั้ง เท่ากับว่าคนที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งได้จะต้องมีการลงทะเบียนล่วงหน้าก่อน หากไม่ได้ลงทะเบียนตามวิธีการและระยะเวลาที่กำหนดก็ไม่สามารถออกเสียงเลือกตั้งในวันที่ 24 ธ.ค. 2566 ได้

 

ตั้งแต่เปิดระบบให้นายจ้างและผู้ประกันตนลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2566 จนกระทั่งปิดระบบลงทะเบียน  วันที่ 10 พ.ย. 2566 เวลา 23.59 น. มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง ฝ่ายผู้ประกันตน หรือ ลูกจ้าง จำนวน 945,609 ราย ฝ่ายนายจ้าง จำนวน 4,209 ราย รวมจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 949,818 ราย จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว 12 ล้านคน หรือ 8 % ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในจำนวนนี้ มีการคาดการกันว่าจะมาลงคะแนนในวันเลือกตั้ง ไม่เกิน 50 %

 

สำหรับผู้สมัครผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน มีจำนวน 247 ราย และผู้สมัครผู้แทนฝ่ายนายจ้าง จำนวน 69 รายสปส. จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้งในวันที่ 21 พ.ย. 2566 และประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งและหมายเลขผู้สมัครในวันที่ 1 ธ.ค. 2566 ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th และที่ สปส. กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ทั่วประเทศ

ในบรรดาผู้ประกันตนจำนวน 24 ล้านคน มีการแบ่งเป็นผู้ประกันตนออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

 

ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีนายจ้าง มีผู้ประกันตนในระบบทั้งหมดกว่า 11 ล้านราย ได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี ได้แก่ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย คลอดบุตรทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และกรณีว่างงาน

 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1.90 ล้านคน เป็นผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน มีอยู่ในระบบทั้งหมด กว่า 1.9 ล้านรายได้รับความคุ้มครองเหมือนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ยกเว้นกรณี การว่างงาน

 

และกลุ่มสุดท้าย คือผู้ประกันตนตามมาตรา 40 หรือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีอยู่กว่า 10 ล้านราย ได้รับความคุ้มครอง เช่นเดียวกับผู้ประกันตนตามมาตรา 39  ยกเว้น กรณี คลอดบุตรและการว่างงาน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ