ชีวิตดีสังคมดี

ปี 67 มี 'พ.ร.บ.กรมรางฯ' คุมค่าโดยสาร รถไฟฟ้าเสีย ล่าช้า ต้องเยียวยาผู้โดยสาร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เร่งคลอด 'พ.ร.บ.กรมรางฯ' คุมราคาค่าโดยสาร ปี 67 ลดจ่ายค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน รถไฟฟ้าเสียล่าช้าต้องเยียวยาผู้โดยสารเท่ากัน แจงคืบหน้าก่อสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยาย

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการ มอบนโยบายแก่กรมการขนส่งทางราง ว่า สำหรับการมอบนโยบายในวันนี้ได้มีการติดตามความคืบหน้าในการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง หรือ "พ.ร.บ.กรมรางฯ" เข้าสู่การพิจารณาของสภา เพราะปัจจุบันมีการก่อตั้งกรมรางฯ และปฎิบัติหน้าที่ก่อนที่จะมีกฎหมาย ส่งผลให้ที่ผ่านมากรมขนส่งทางรางมีอำนาจในการส่งผลให้ที่ผ่านมากรมขนส่งทางรางมีอำนาจในการควบคุมระบบรางทั่วประเทศ แต่เป็นการใช้กฎหมายฉบับอื่นๆ เข้ามาควบคุมแทน ดังนั้นจำเป็นจะต้องเร่งเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาเพื่อให้สามารถประกาศใช้ พ.ร.บ. กรมรางฯ ได้อย่างเป็นทางการประมาณต้นปี 2567 

สำหรับขั้นตอนในการพิจารณากฎหมายขณะนี้นั้นจะต้องเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา โดยในวาระแรกมีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญในการพิจารณารายละเอียด หลังจากนั้นจะส่งร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาล่างทั้งหมด 2 วาระ และเข้าสู่การพิจารณาขอสภาสูงก่อนที่จะประกาศเป็นกฎหมาย 

 

 

ทั้งนี้หากมีการประกาศใช้กฎหมายแล้วจะทำให้ ประกาศใช้กฎหมายแล้วจะทำให้กรมมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมระบบขนส่งทางรางได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจไม่ว่าจะเป็นอำนาจการควบคุมราคาค่าโดยสาร การควบคุมความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด 

 

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ตนยังได้มีการติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้างรถไฟรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดงทั้ง 3 เส้นทาง ได้แก่ 

 

-เส้นทางรังสิต - ธรรมศาสตร์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)

 

-เส้นทางตลิ่งชัน-ศาลายา กรมรางฯ อยู่ระหว่างการเสนอรายละเอียดไปยังกระทรวงคมนาคมหลังจากนั้นทางกระทรวงจะพิจารณานำเข้าสู่ วาระการประชุม ครม.

 

 -เส้นทางตลิ่งชัน-ศิริราช  อยู่ระหว่างการรอความเห็นจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ คาดว่าใช้เวลา 1 เดือน 

 

อย่างไรก็ตามคาดว่า ส่วนต่อขยายสายสีแดงทั้ง 3 เส้น จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ครม. และก่อสร้าง ได้ประมาณต้นปี 2567 

ปี 67 มี \'พ.ร.บ.กรมรางฯ\'  คุมค่าโดยสาร รถไฟฟ้าเสีย ล่าช้า ต้องเยียวยาผู้โดยสาร

ด้านนายพิเชษฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมขนส่งทางราง กล่าวว่า หาก "พ.ร.บ.กรมรางฯ" ประกาศใช้ สิ่งที่ประชาชนจะได้ประโยชน์คือ 

 

1. ประชาชนใช้บริการระบบจะมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะจะสามารถทำการเพราะจะสามารถทำการตรวจสอบผู้ขับขี่ตรวจสอบตัวรถก่อนออกให้บริการเพื่อลดอุบัติเหตุ

 

2. คุ้มครองผู้โดยสารกรณีเกิดเหตุขัดข้องล่าช้า ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องมีการเยียวยาอย่างเท่าเทียมกัน เพราะในพ.ร.บ. มีการกำหนดมาตรการเยียวยาไว้อย่างชัดเจนว่าหากเกิดกรณีล่าช้าจะต้องดำเนินการเยียวยาอย่างไร  ซึ่งผู้ให้บริการเดินรถทุกรายจะต้องดำเนินการ ซึ่งผู้ให้บริการเดินรถทุกรายจะต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน 

 

3.กำหนดอัตราค่าโดยสารแบบมีเพดานที่ชัดเจน กำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับ ผู้สูงอายุ นักเรียนและเด็กเล็ก ให้เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมาย เนื่องจากปัจจุบันเราพบว่าผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางแต่ละเส้นทาง ไม่ได้กำหนดมาตรการเยียวยากรณีรถขัดข้อง รวมไปถึงการกำหนดรวมไปถึงการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่มีมาตรฐานเดียวกัน

 

4.ส่งเสริมให้มีการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้โดยสารในการกำหนดอัตราค่โดยสารและค่าขนส่งสินค้าที่เป็นธรรม โดยมีคณะกรรมการกำหนดอัตราขั้นสูงของคำโดยสารและค่าขนส่งสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการขนส่งสินค้าให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ

 

5. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถขนส่งทางรางเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับการประกอบกิจการขนส่งทางรางนำรายได้เข้ารัฐในการนำไปพัฒนาหรือบำรุงรักษา ด้านการขนส่งทางรางและด้านอื่นๆ

 

6.กำหนดให้มีคณะกรรมการสวบสวนอุบัติเหตุเพื่อคันหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีก กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม

 

 

นอกจากนี้หากมีการประกาศใช้กฎหมายแล้วประชาชนจะไม่ต้องจ่ายค่าแรกเข้าที่ซ้ำซ้อน  เพราะในกฎหมายจะกำหนดไว้อย่างชัดเจน ถึงระเบียบวิธีการในการกำหนดค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทาง

 

 

อย่างไรก็ตามคาดว่า "พ.ร.บ.กรมรางฯ" จะสามารถประกาศใช้ได้ประมาณปี 2567 กรมรางฯ คาดหวังว่าเพราะ พ.ร.บ. ดังกล่าวจะทำให้ระบบบริการขนส่งทางรางทั่วประเทศมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ดีขึ้น. 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ