ชีวิตดีสังคมดี

บทบาท กองเซ็นเซอร์ภาพยนต์ อาจฉุดไทยให้ไปไม่ถึงประเทศ 'ซอฟต์พาวเวอร์'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บทบาทกองเซ็นเซอร์ภาพยนต์ ควรเป็นบทบาทจากควบคุมและส่งเสริม เพราะอาจฉุดไทยให้ไปไม่ถึงคำว่า 'ซอฟต์พาวเวอร์' ระบุ ภาพยนต์ คอนเทนต์เป็นอำนาจละมุนได้อย่างดี เพราะวัฒนธรรมไทยไม่เท่ากับ Soft Power

ที่ผ่านมาต้องบอกว่าวงการภาพยนต์ไทยสูญเสียโอกาสไปกับว่าถูกเซ็นเซอร์อย่างนับไม่ถ้วน ยังไม่รวมไปถึงการเสียโอกาสที่จะใช้ภาพยนต์ คอนเทนต์ อื่นๆ ในการผลักดัน "ซอฟต์พาวเวอร์" เพราะถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยในเสวนา “เอายังไงดีกับกองเซ็นเซอร์ บทบาทของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนต์และวิดีทัศน์ภายใต้รัฐบาลซอฟต์พาวเวอร์” ที่ปัจจุบันยังมีการจำกัดเสรียังคงอยู่แม้ว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา จะผ่านไปนานแล้วก็ตามแต่ยังคงถูกกองเซ็นเซอรืเป็นคนกำหนดอยู่ เปรียบเสมือนกำแพงที่ปิดกั้นการผลิตผลงาน หรือการสร้างสรรค์ผลงานที่ไร้กรอบ หรือออกจากกรอบเดิมๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสังคม

 

 

ภาพประกอบข่าว

 

นายโชคชัย ชยวัฑโฒ ผู้อำนวยการสมาพันธ์ภาพยนต์แห่งชาติ กล่าวระหว่างการเสวนาว่า ว่า พ.ร.บ.ภาพยนต์ ภาครัฐกำหนดให้มีมาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่อำนาจกลับไปอยู่ที่กองตำรวจในยุคนั้นมีการต่อสู้มาอย่างยาวนาน หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.ภาพยนต์ 2551 มีการระบุอำนาจว่า ขอให้มีการแบนได้ โดยเปลี่ยนจากการควบคุมเป็นการกำกับดูแล หมายความว่าต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิมาควบคุม ตัดบางฉากออกไป ที่ผ่านมาตนพยายามต่อสู้มาตลอดบางฉากมีนัยสำคัญ และมีบทสรุป การตัดสินจะดูเป็นฉากๆ ไปไม่ได้ดูภาพรวมทั้งหมดของภาพยนต์

 

 

อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการขับเคลื่อนภาพยนต์ไทย ให้กลายเป็นอีกหนึ่งซอฟต์พาวเวอร์ สิ่งที่รัฐทำคือ ยกเลิกการกำกับดูแลใน พ.ร.บ.ภาพยนต์ เป็นการส่งเสริมแทน เพราะภาพยนต์เป็น "ชอฟต์พาวเวอร์" การเซ็นเซอร์มันเป็นวิธีการบิดจากความเป็นจริงที่มีอยู่ ภาพที่กองเซ็นเซอร์กำลังทำอยู่มันคือความล้าหลัง การพยายามปิดบังการกดทับต่างหากที่เป็นความผิดพลาดอย่างมากยิ่งปิดยิ่งไปกระตุ้นความอยากรู้

 

โชคชัย ชยวัฑโฒ(ซ้าย)

ด้านมาดามเดียร์ หรือนางสาววทันยา บุนนาค ประธานนวัตกรรมการเมืองกรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์  มีมุมมองด้านการส่งเสริม "ซอฟต์พาวเวอร์" และบทบาทหน้าที่ของกองเซ็นเซอร์อย่างน่าสนใจ โดย วทันยา ระบุว่า  "ซอฟต์พาวเวอร์" หากมองการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใช้กำลังความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทุกๆ การเคลื่อนไหวทางการเมืองจะมีการปฏิรูปปฏิวัติวัฒนธรรม หมายถึงทางความคิด หรือซอฟต์พาวเวอร์ ดังนั้นการที่เราจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม การจำกัดเสรีภาพกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหว

 

 

อีกทั้งยังบอกถึงการที่เราจะพูดจะส่งความเห็นออกไปสู่สังคมก็ยังถูกจำกัดด้วยเช่นเดียว มองว่ามีนัยและมีความสำคัญอย่างมาก  วันนี้เรากลับไปดูคณะกรรมการภาพยนต์ มี 2 คณะกรรมการ โดยมีภาพยนต์และวีดีทัศน์ หรือคล้ายๆ ซุปเปอร์บอร์ด ตอนที่เราศึกษาเราพบว่าคณะกรรมการภาพยนต์วีดีทัศน์ทำไมถึงต้องมีฝ่ายความมั่นคง เพราะไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์มากเท่าไหร่  การกำหนดให้คณะกรรมการมีฝ่ายความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง  เป็นอะไรที่น่าเสียดายสำหรับภาพยนต์ไทยอย่างมาก เพราะในคณะกรรมการมีบุคคลากรที่มีความสามารถกับมีส่วนน้อยมากกว่าฝ่ายความมั่นคง

 

 

ดังนั้นหากมองในมิติเศรษฐกิจหลายประเทศสามารถพาตัวเองไปสู่ประเทศรายได้สูง มีการเคลื่อนไหวทางด้านซอฟต์พาวเวอร์ ที่เป็นตัวเรียกความเชื่อมั่น แต่ไทยไม่ด้ใช้พื้นที่เหล่านี้เลย  คนที่ตรากฎหมายขึ้นมามองการเซ็นเซอร์ภาพยนต์มองเพียงมิติความมั่นคงอย่างเดียวเท่านั้น วันนี้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงด้านการจำกัดสิทธิเสรีภาพ หรือที่เรียกว่าการยัดเยียดค่านิยมของตัวเองและไม่ยอมรับความจริงมากกว่า แนวคิดการตั้งคระกรรมฯ จึงเน้นไปที่ความมั่นคง ซึ่งไม่ได้ผิดแต่บั่นทอนอุตสาหกรรมภาพยนต์มากกว่า

 

 

 

ในวันนี้รัฐบาลไทยให้ความสำหรับกับการขับเคลื่อน "ซอฟต์พาวเวอร์" อย่างมา ตนต้องการจะบอกว่าซอฟต์พาวเวอร์ไม่เท่ากับวัฒนธรรม เราต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อน ตราบใดที่เข้าใจไม่ตรงกันเราก็จะพัฒนาไปไม่ได้ หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าซอฟต์พาวเวอร์เป็นวัฒนธรรมไทย แทนที่เราจะส่งเสริมไปในทางที่ถูก กลับทำไปในทางที่ผิดเสียทั้งเวลา โอกาส

 

วทันยา บุนนาค

 

 

เพราะแท้จริงแล้ว "ซอฟต์พาวเวอร์" มันแปลว่าอำนาจละมุน หรืออำนาจอะไรก็ได้ที่ทำให้คนนึงทำแบบนั้นและเห็นแบบนั้น ทำให้พวกเขาสมยอม เพราะเกิดความรู้สึกได้ตัวเองหากถามว่าแล้วอะไรที่จะทำให้คนคนนึงเปลี่ยนความคิดได้ด้วยตัวเอง นั้นคือการเรียนรู้ การดูคอนเทนต์ ทั้งหมดเหล่านี้คือสิ่งที่จะถูกถ่ายทอดไปยังคนได้ง่ายที่สุด และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายที่สุด ต้องกลับมาดูว่าเราจะสร้างสังคมไห้เกิดเสรีภาพในการเสนอความเห็นในงานวรรณกรรม ผ่านบทละคร ซีรีย์ เกม เราจะช่วยส่งเสริมศักภาพของคนไทยให้ไปได้ไกลที่สุดได้อย่างไร

 

 

 

ด้านนายศิธา ทิวารี ประธานคณะกรรมการอำนวยการและพัฒนาและเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย ระบุว่า มันเป็นระเบียบที่ต้องบาลานซ์ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือถ้าการที่ข่าวาจะสร้างปัญหาต้องแยกแยะให้ดี กองเซ็นเซอร์จะเลือกตัดเฉพาะตอนที่ดีๆ ออก  ดังนั้นต้องแยกแยะถ้าเราไม่เซ็นเซอร์เลยจะเกิดปัญหาอย่างไร เช่น ภายนต์ที่สอนทำอาวุธ ไทยอยู่ภายใต้วิธีการแก้ปัญหาโดยให้คนไม่รู้ แต่ประเทศที่เจริญแล้วจะมีวิธีการสอนให้คนแยกแยะเรื่องดีไม่ดี แต่ประเทศไทยจำกัดแต่ให้เด้กไม่เห็นเลย สิ่งที่เราห้าวไม่บล้อกการเข้าถึงข้อมูลได้ และขาดการสอนที่ถูกต้อง  การเซนเซอร์ต้องดูเจนตนารมย์ของกฎหมายและดูบริบท เพื่อทที่จะขยายซอฟต์พาวเวอร์ไปให้ได้ การปิดกั้นไม่ได้ประโยชน์ แต่กลับขยายประเก็นด้วยซ้ำ เพราะการปิดกั้นยิ่งทำให้เราอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น

 

 

ส่วนตัวมองว่าหากรัฐบาลต้องการจะขับเคลื่อรจะต้องมีความเข้าใจก่อนว่าจะทำอย่าง เพราะซอฟต์พาวเวอร์คือการเอาความนุ่มนวล บันเทิงมาทำให้เข้าเกิดความนิยมชมชอบ เราต้องเข้าใจก่อนว่าคืออะไร คำนิยามของ และเราจะต้องเอาความเป็นไปไปสร้างให้เกิดแนวคิดระดับโลก จำเป็นจะต้องทำให้สิ่งที่ทั้งโลกอินกันก่อน ปรับให้เข้ากับความต้องการของโลกซอฟต์พาวเวอร์มันจึงจะเกิดผลสำเร็จ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ