ชีวิตดีสังคมดี

อวสาน 'กัญชาเสรี' ถูกผลักกลับไปเป็นยาเสพติด สิ้นฤทธิ์กัญชาไทยปลูกได้เสรี

อวสาน 'กัญชาเสรี' ถูกผลักกลับไปเป็นยาเสพติด สิ้นฤทธิ์กัญชาไทยปลูกได้เสรี

27 ก.ย. 2566

ถึงตอนอวสาน 'กัญชาเสรี' จ่อถูกผลักกลับไปเป็นเสพติด หลังเจ้าของนโยบายไม่ได้กุมกระทรวงสาธารณสุข และนี้คือจุดสิ้นสุดกัญชาไทยปลูกได้เสรี

อาจจะถึงคร่าอวสานของ "กัญชาเสรี" หลังจากที่เจ้าของนโยบายปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพอย่าง อนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ไม่ได้กุมบังเหียนกระทรวงสาธารณสุขอีกต่อไป เพราะที่ผ่านมาเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการที่มีการออกกฎหมายให้  "กัญชาเสรี"  สามารถปลูกเพื่อการแพทย์ และเชิงพาณิชย์ ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก ภาพนักเรียน ร้านค้าเปิดขายกัญชาอย่างโจงครึ่มแสดงให้เห็นถึงความไม่รัดกุมของกฎหมายทำให้ "กัญชาเสรี" ที่มุ่งหวังให้ใช้เพื่อทางการแพทย์ รักษาโรค กลายเป็นสินค้าที่สามารถซื้อหาเพื่อบริโภคได้อย่างง่ายดายขึ้น 

 

 

ภาพประกอบกัญชาเสรี

 

 

กระแส  "กัญชาเสรี" ไม่เคยแผ่วเลยสักครั้ง เพราะตั้งแต่ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศปลดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดในปี 2565  ก็มีกระแสต่อต้าน คัดค้านจากหน่วยต่างๆ รวมไปถึงนักวิชาการ และกลุ่มนักการเมืองอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องบอกว่าที่ผ่านมากฎหมาย "กัญชาเสรี" กลายเป็นสูญญากาศ ส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุขต้อง ออกประกาศกำหนดให้ช่อดอกของกัญชาหรือบางส่วนของกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดชั่วคราวจนกว่าสภาจะให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชา กัญชง พ.ศ. ... หรือ ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ

 

 

กัญชาเสรี

 

 

ความคลุมเครือ และปัญหาที่เกิดจากนโยบาย "กัญชาเสรี" เกิดการถกเถียงกันแบบไม่รู้จบ จนกระทั้งกัญชาทุกรูปแบบ รวมทั้งอุปกรณ์การเสพวางขายริมถนนเหมือนข้าวของทั่วไป ท้ายที่สุดทางออกของการแก้ไขปัญหา "กัญชาเสรี" ที่เปิดเสรีจนสร้างความเสียหายกำลังจะถูกผลักดันให้ กัญชา กลับเข้าไปอยู่ใน พ.ร.บ.ยาเสพติดอีกครั้ง หลังจากที่เจ้าของนโยบายอย่าง อนุทิน ชาญวีรกุล ไม่ได้นั่งบัลลังก์กระทรวงสาธารณสุขอีกต่อไป

  • ย้อนเวลาไปหา "กัญชาเสรี"

นโยบาย "กัญชาเสรี" เริ่มต้นจากการเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคภูมิใจไทยในช่วงลงเลือกตั้งปี 2562 อนุทินได้ปราศัยและพูดเรื่องนโยบาย "กัญชาเสรี"  ไว้ครั้งแรกที่จ.บุรีรัมย์ โดยมีการประกาศว่า 'กัญชาไทยปลูกได้เสรี' และ "พืชแก้จน พืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ "กัญชาเสรี"  หลังจากที่พรรคภูมิใจไทยเป็นรัฐบาล อนุทิน คว้าเก้าอี้รัฐมนตรีว่ากากระทรวงสาธารณสุขมาครองได้สมใจ จากนั้นพรรคภูมิใจไทยก็เดินหน้าผลักดัน "กัญชาเสรี" อย่างเต็มที่แม้ว่าจะเป็นทางเดินที่ฝ่าดงกระสุนก็ไม่หวั่น  

 

ภาพประกอบบทความกัญชาเสรี

 

เพราะประเทศไทย ถือว่า เป็นประเทศที่มีสายพันธุ์กัญชามากที่สุด ดังนั้น รัฐบาลจึงควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงกัญชาได้อย่างเสรี โดยเริ่มต้นจากการสนับสนุนการปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือนบ้านละ 6 ต้น หากเหลือจึงขาย โดยรัฐจะเป็นคนรับซื้อ และดูแลพื้นที่การปลูกโดยการซื้อขายต้องผ่านรัฐ ไม่สามารถซื้อขายได้โดยตรง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้แก่ครัวเรือนถึงปีละกว่า 400,000 แสนบาท  

 

 

อย่างไรก็ตามเดิมที่ กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้กัญชาและพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดเสพ หรือนำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยหรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และยังกำหนดโทษทั้งผู้เสพและผู้ครอบครอง

 

 

ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมและได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กพ. 2562 เป็นต้นมา โดยได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับและใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ในการรักษาและพัฒนาทางการแพทย์ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ได้รับอนุญาต เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการให้ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

 

 

  • กลางปี 2565 "กัญชาเสรี" เสพได้เสรี ขายได้เสรี จนเดือดร้อน 

วันที่ 9 มิ.ย. 2565 เป็นวันที่กัญชาก็ได้กลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายสำหรับเมืองไทยไปแล้ว แม้ว่าหลังจากที่ "กัญชาเสรี" ไปแล้ว กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศถึง 3 ครั้ง เพื่อกำกับและควบคุมการใช้กัญชา แต่ดูเหมือนว่ามาตรการดังกล่าวจะใช้กับสถาการณ์ "กัญชาเสรี" ในประเทศไทยได้ จนทำให้มีการขาย การเสพทั่วบ้านทั่วเมืองไม่เว้นแม้แต่เด็กเรียนที่นั่งเสพกัญชากับแบบโจ่งแจ้ง 

 

 

สำหรับหัวใจของ ร่างพ.ร.บ.กัญชา คือ การให้ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกกัญชาได้ โดยการปลูกกัญชาจะแบ่งออกเป็นการปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน กับ การปลูกใช้เชิงพาณิชย์  

 

 

กัญชาเสรี

 

 

การปลูกในเชิงพาณิชน์ ถูกกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาตรา 15 ที่ระบุว่า ผู้ประสงค์จะเพาะปลูกกัญชาต้องได้รับใบอนุญาตจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยการเพาะปลูกนั้นต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา หรือ วิจัย หรือเพื่อประโยชน์ในพชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม

 

 

การปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือน ถูกกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาตรา 18 ที่กำหนดให้หนึ่งครัวเรือนปลูกกัญชาได้ไม่เกิน 15 ต้น เว้นแต่เป็นสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หมอพื้นบ้าน หรือหน่วยงานของรัฐ สามารถปลูกได้มากกว่า 15 ต้น แต่ต้องเป็นไปเพื่อใช้ปรุงยาเพื่อรักษาโรคให้กับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่อยู่ในการดูแลของตน โดยให้จดแจ้งกับ เลขาธิการ อย. และเมื่อได้รับใบจดแจ้งแล้วจึงดำเนินการปลูกได้

 

 

ภาพประกอลลทความ

 

 

แต่ขอบเขตของการใช้กัญชาที่ระบุ พ.ร.บ.กัญชาฯ ได้กำหนดนิยามการบริโภคกัญชาไว้ อย่างน้อย 4 ลักษณะ ได้แก่ กิน เคี้ยว อม สูบ รวมไปถึงการนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ หรือ ลักษณะใดๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ตัวร่างกฎหมายอนุญาตให้คนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไปสามารถเสพกัญชาเข้าสู่ร่าวงกายได้ตามปกติ โดยไม่มีเงื่อนไขพิเศษ ข้อนี้เองทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงกัญชาได้ง่ายมากขึ้น  

 

 

  • ถึงเวลาผลักกัญชาให้กลับเข้าสู่ พ.ร.บ.ยาเสพติด  

รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายก็เปลี่ยนกัญชาที่เคยเสรี จะไม่เสรีอีกต่อไปเมื่อรัฐบาลยุค เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีแนวโน้มว่า กัญชาจะต้องใช้เพื่อการแพทย์เท่านั้น โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ไว้บางช่วงบางตอน ว่า การควบคุมกัญชาให้ใช้เฉพาะทางการแพทย์นั้นต้องไปดูที่กฎหมายเดิม ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนปลูกกัญชาทางการแพทย์ได้ดังนั้นต้องไปดูว่า การปลูกเป็นอย่างไร ทำอย่างไรให้ได้มาตรฐาน 

 

 

ส่วนเรื่องสันทนาการ ตามนโยบายเราเน้นเฉพาะทางการแพทย์และเพื่อสุขภาพเท่านั้น ถ้าเรื่องใดไม่ใช่เพื่อการแพทย์ หรือเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะต้องมีกฎหมายเข้ามาควบคุมตรงนี้ ว่าควรใช้อย่างไรไม่ให้ไปกระทบต่อสุขภาพ เพราะ ในกัญชามีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ถือเป็นสารเสพติดประเภทหนึ่ง ซึ่งกฎหมายให้มีสารดังกล่าวได้ไม่เกิน 0.2% เท่านั้น ดังนั้นต้องไปดูกฎหมายกัญชากันชง ที่กำลังร่างออกมาว่าจะมีเนื้อหาควบคุมดูแลอย่างไร 

 

 

ภาพประกอบบทความ

 

 

คำถามต่อมาหลังจากที่รัฐบาลชุดนี้ไม่ให้ "กัญชาเสรี" ได้ไปต่อคือ แล้วร้านขายทั่วไปจะทำอย่างไร นพ.ชลน่าน ได้ชี้แจงว่า หรับเสพหรือสันทนาการยังสามารถเปิดต่อไปได้หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ถ้ากิจการดังกล่าวไม่กระทบต่อสุขภาพในภาพรวม ก็จะมีข้อกฎหมายเข้าไปกำกับดูแลในภาพรวม ย้ำว่าตอนนี้เราพยายามทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์บนพื้นฐานที่ไม่ได้ทำลายสุขภาพ 

 

 

ส่วนจะมีการออกประกาศ กระทรวงสาธารณสุขควบคุมเพิ่มเติมหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เป็นเรื่องที่สามารถพิจารณาควบคู่ไปกับการร่างพระราชบัญญัติกัญชากันชงได้