ชีวิตดีสังคมดี

ภารกิจฝึกนวัตกรรม 'โดรน' สร้าง 'นวัตกรโดรน' กู้โลก-พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โดรน" ไม่ใช่นวัตกรรมโลกอนาคตอีกต่อไป เพราะเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาให้ช่วยผู้คนได้จริง วช.-สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เดินหน้าสร้าง "นวัตกรโดรน" พัฒนาโดรนสู่ธุรกิจในอนาคต ช่วยพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน พร้อมรายได้หลักแสน

"อาชีพ "โดรน" เป็นอาชีพอันดับ 6 ที่ทั่วโลกต้องการตัว การติดอาวุธให้เด็กไทยเก่ง "โดรน" ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ จะทำให้เด็กไทยมีความรู้ช่วยผู้คน และมีรายได้ไม่ต่ำหลักแสนต่อเดือน" "พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล" "นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว "คมชัดลึก" หลังจากนำ "โดรน" แปรอักษร 300 ลำลงจอดบริเวณสนามฟุตบอลโรงเรียนบ้านเชียงคาน วิจิตรวิทยา จ.เลย  เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 

 

 

 

 

พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กำลังอยู่ระหว่างปล่อยโดรนแปรอักษร 300 ตัว ขึ้นแปรอักษรเปิดงานอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน ที่โรงเรียนบ้านเชียงคาน วิจิตรวิทยา จ.เลย  เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2566

"นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" บอกว่า เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สามารถช่วยเหลือกิจกรรมมนุษย์ได้หลายอย่าง เช่น การแพทย์ฉุกเฉิน การเกษตร ธุรกิจโลจิสติกส์ การดับและป้องกันไฟไหม้ป่า การวัดแนวเขต การถ่ายภาพ รวมถึงโดรนสอดแนม เป็นต้น ทำให้ "โดรน" รวมถึงนักบิน "โดรน" เป็นที่ต้องการของตลาด และเมื่อไม่นานมานี้ "โดรน" ถูกจัดอันดับในเป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการในอันดับที่ 9 ของโลก แต่ปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 6

 

 

 

 

โดรนเพื่อการเกษตร  

ยืนยันได้ว่า "โดรน" ได้รับกระแสความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ได้มีการสั่งซื้อ "โดรน" ไม่ต่ำ 200,000 แสนลำ นี้คือตัวชี้วัดว่า ธุรกิจ "โดรน" ขยายตัว และมีโอกาสเติบโตในวันข้างหน้าแน่นอน "สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ" (วช.) เล็งเห็นความสำคัญและแนวโน้มอาชีพในอนาคต จึงร่วมมือกับ "สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" ฝึกอบรม "ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน" ให้นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ

 

 

 

 

เตรียมโดรนขึ้นบินแปรอักษร

 

 

 

 

"สิ่งที่พวกผมและ วช.ทำคือ การติดอาวุธให้เด็กๆ ได้มีความรู้เรื่อง "โดรน" เพราะความรู้เหล่านี้มีเงิน 10 ล้านก็หาซื้อจากต่างประเทศไม่ได้ ถ้าเด็กๆ ได้ความรู้ตรงนี้ไป เขาจะเป็นคนเก่ง มีคุณค่าในตัวเอง สามารถทำงานต่างประเทศหรือไปที่ไหนใครๆ ก็รับ เงินเดือนหลักแสนแน่นอน หรือเขาอยากทำงานในไทย ประกอบอาชีพส่วนตัวก็บอกได้เลยว่า ไม่ตกงาน มีงานทำต่อเนื่อง และเป็นอาชีพสร้างรายได้ล่ำซำในอนาคต 100%" "นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" อธิบาย

 

 

 

 

น้องๆ นักเรียนจาก จ.หนองคาย เข้าร่วมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน

 

 

 

 

"นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" เล่าต่อว่า การฝึกอบรม "โดรน" แปรอักษร ไม่ได้มีเป้าหมายแค่เด็กๆ ลงเวทีแข่งแปรอักษร แต่มันคือ การฝึกบิน "โดรน" ควบคู่การเขียนโปรแกรมแบบไม่หวงความรู้ หลังจากฝึกอบรมเสร็จสามารถสร้างและประกอบ "โดรน" ได้ด้วยตัวเอง และอนาคตต่อยอดความรู้สู่อาชีพได้

 

 

 

 

โดรนเพื่อการเกษตร

 

 

 

 

ขณะนี้ "โดรน" เพื่อการเกษตรกำลังได้รับความสนใจในวงการการเกษตร เพราะเกษตรกรต้องการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีปราบแมลงศัตรูโดยตรง "โดรน" จึงเข้ามามีบทบาทไม่น้อย แต่มีข้อจำกัดด้านราคาที่เกษตรกรเข้าถึงได้ยาก เพราะโดรน 1 ลำราคาไม่ต่ำ 200,000 บาท 

 

 

 

 


"เรื่องราคาผมมองว่าไม่ใช่ประเด็น หากมองในมุมชีวิตที่จะสามารถรักษาชีวิตไม่ให้ป่วยเพราะรับสารเคมีมากเกินไป แต่จะให้เกษตรกรซื้อเองคงไม่ไหว ดังนั้น หน่วยงานรัฐ เช่น อบต. ต้องสนับสนุนให้มี "โดรน" ไว้ประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ลำ ให้เกษตรกรเช่าใช้ คิดค่าบริการเป็นผลผลิต แล้วนำผลผลิตไปขายมาเป็นค่าซ่อมบำรุง "โดรน" ค่าตัวนักบิน ผมและวช. พยายามเสนอและผลักดันเรื่องนี้อยู่ ยิ่ง "โดรน" มีประสิทธิภาพควบคุมสั่งการข้ามจังหวัดได้โอกาสสัมผัสสารเคมีไม่มีเลย โอกาสที่ "โดรน" จะล่วงตกพื้นเสียหายก็ไม่มี ยกเว้นแบตหมด" "นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" ระบุ

 

 

 

 

 

รายงานจาก "สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" (สปสช.) เปิดข้อมูลล่าสุดผู้ป่วยบัตรทองปีงบประมาณ 2562 มีรายงานผู้ป่วยจากพิษสารเคมีปราบศัตรูพืชเข้ารักษา 3,067 ราย เสียชีวิต 407 ราย ขณะที่ข้อมูล 3 ปี ย้อนหลังเฉลี่ยผู้ป่วยจากพิษสารเคมีสูงถึงปีละกว่า 4,000 ราย

 

 

 

 

 

"นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" เล่าต่ออีกว่า ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่อาศัยความถนัดด้านเทคโนโลยี ฝึกฝนทักษะการขับ "โดรน" จนชำนาญ ประกอบกับพรสวรรค์ในการถ่ายภาพ ผันตัวเองเข้าสู่อาชีพนักขับโดรน การฝึกอบรมเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญให้พวกเขาพัฒนาตัวเองให้มีอาชีพเลี้ยงตัวเอง ไม่เป็นภาระสังคม

 

 

 

 

 

นักเรียน นักศึกษา จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ดี อาชีพ "โดรน" ยังถูกมองว่า "หาที่เรียนยาก" "สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" และ "วช." ภายใต้ "กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม" (อว.) จึงใช้สนามฝึกอบรมนี้เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่สร้างนวัตกรรมสู่ "นวัตกรโดรน" เพื่อให้นวัตกรนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม "โดรน" ในอนาคต เชื่อว่า ในอนาคตประเทศไทยจะมี "นวัตกรโดรน" เก่งๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศ ใช้ความรู้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล

 

 

 

 

 

สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน "ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง" ผู้อำนวยการ วช. ระบุว่า ที่ผ่านมา "สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ" ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการใช้ "โดรน" ในภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และล่าสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่โรงเรียนบ้านเชียงคาน วิจิตรวิทยา จ.เลย เมื่อเร็วๆ นี้

 

 

 

 

 

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง   

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ