ชีวิตดีสังคมดี

ปักหมุดปั้น 'เชียงใหม่' เป็นเมืองยั่งยืนสร้างเศรษฐกิจดี ที่ไม่เป็นพิษ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จุฬาฯ ปักหมุดปั้น 'เชียงใหม่' เป็นต้นแบบเมืองยั่งยืนด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอาณาจักรล้านนา พัฒนาให้เกิดเศรษฐกิจที่เติบโตแบบไม่เป็นพิษต่อคนท้องถิ่นและกลุ่มคนชาติพันธุ์

"เชียงใหม่" ไปกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ฤดูกาล "เชียงใหม่" ก็มักจะมีสถานที่ท่องเที่ยว หรือกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวทำอยู่เสมอที่ผ่านมาเชียงใหม่เป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่คนเข้าไปเที่ยวระยะสั้นแล้วก็จากมา แต่ปัจจุบันเชียงใหม่กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการอยู่แบบระยะยาวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน และวัยรุ่นต่างเมืองที่มีเป้าหมายมาลงหลักปักฐานที่เชียงใหม่ เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพ และช่องทางทำมาหากินจากการกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวและบริการระดับโลกไปแล้ว 

 

 

เมืองเชียงใหม่

 

ปรากฎการณ์การย้ายเข้าไปอยู่ "เชียงใหม่" แบบระยะยาวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และคนต่างถิ่นทำให้เมืองเชียงใหม่เติบโตแบบก้าวกระโดด ดังนั้นความเจริญนำมาซึ่งการสร้างระบบเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่ก็สามารถสร้างผลเสียต่อเมืองได้เช่นกัน หากไร้แผนการจัดการ รวมถึงแผนรองรับการปรับตัวของเมืองและผู้คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นถึงความสำคัญ และมองเห็นศักยภาพของพื้นที่จ.เชียงใหม่จึงได้มีแนวคิดที่จะส่งเสริมเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้แนวคิด Chula Sustaininnovation: โมเดลการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน โดย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ที่ปรึกษาแรนด์จุฬา ได้นำทีมศิษย์เก่าจุฬาฯ ในพื้นที่เชียงใหม่หามุมมองและการพัฒนาเชียงใหม่ให้ยั่งยืนในแบบที่สามารถตอบโจทย์ทั้งคนพื้นถิ่นและนักท่องเที่ยวได้

  • ปั้น "เชียงใหม่" เป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบบไม่ทำลายวัฒธรรมดั่งเดิม 

ผศ.ดร.เอกก์  อธิบายแนวคิดการยกระดับเมืองเชียงใหม่ว่า  เชียงใหม่กับการท่องเที่ยวมีความสำคัญมาก เฉพาะธุรกิจบริการอย่างเดียวคิดเป็น 70% ของเศรษฐกิจภายในพื้นที่ โดยภาคการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหลักในเมืองเชียงใหม่ด้วย ดังนั้นประเด็นการพัฒนาเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) จึงเป็นเรื่องที่จุฬาฯ ให้ความสำคัญ เพราะจุฬาฯ มีทั้งพื้นที่ที่อยู่ในเชียงใหม่ เช่น พิพิธภัณฑ์ดาราภิรมย์ และงานวิจัยด้านการพัฒนาพื้นที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สามารถนำมาต่อยอดและพัฒนาได้เยอะ  

 

 

นอกจากนี้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เรามองไปในจังหวัดที่อยู่รอบๆ เมืองเชียงใหม่ด้วย เพราะการพัฒนาสร้างเมืองที่ยั่งยืนให้ตอบโจทย์ทั้งคนอยู่อาศัย และนักท่องเที่ยวจำเป็นจะต้องทำอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะการดึงเอาอัตลักษ์ของเมืองออกมา ที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นว่าเวลาที่คนทั่วไป นักท่องเที่ยวพูดถึงเชียงใหม่ หรือ ภาคเหนือ จะพูดถึงในมุมบรรยากาศ สถานที่ท่องเที่ยว แต่ในความจริงแล้วเชียงใหม่มีมากกว่าที่เราสัมพัสได้ จากข้อมูลเราพบว่าในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ โดย "เชียงใหม่" และเชียงรายเองมีชนเผ่าอยู่มากถึง 31 ชนเผ่า ทำให้เห็นว่าเราสามารถสร้างการท่องเที่ยงในเชิงชาติพันธุ์ได้ โดยจุฬาฯ เล็งเห็นว่า แม้ว่านักท่องเที่ยวจะเคยเดินทางมาแล้วหลายรอบ แต่หากมีการยกระดับการท่องเที่ยวในเชิงชาติพันธุ์ก็จะทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมา "เชียงใหม่" หรือ เชียงรายแบบสนุกๆ ได้ไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง ดังนั้นจุฬาฯ จึงอยากเปิดประสบการณ์ในการท่องเที่ยวเชิงชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ด้วย 

 

 

เมืองเชียงใหม่

 

 

'การพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีแนวคิดไว้นั้นไม่ใช้การท่องเที่ยวเพื่อชุมชน หรือเพื่อชาติพันธุ์ แต่จะต้องเป็นการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นโดยเขาเอง ประโยชน์กลับสู่ชาวบ้าน แบบไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป เพราะน้อยไปก็ไม่เกิดเศรษฐกิจ แต่หากมากเกินไปก็จะกลายเป็นพิษในด้านภูมิปัญหา องค์ความรู้ที่มีอยู่ในพื้นถิ่น เรื่องแบบนี้จำเป็นจะต้องมีนักวิชาการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และผมคิดว่าจุฬาฯ มีความพร้อมและมีองค์ความรู้ด้านนี้ในการบาลานซ์การท่องเที่ยงในเชิงพื้นที่และเชิงชาต์พันธุ์ จุฬาฯ เองจะทำหน้าที่เป็นสมอง เพราะเรามีองค์ความรู้ที่จะช่วยสังคมให้เกิดความยั่งยืนต่อไป' 

 

 

ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล

 

 

  • ฉายภาพให้ชัดขึ้นเมื่อเมือง "เชียงใหม่" เป็นเมืองยั่งยืนด้วยนวัตกรรม  

ผศ.ดร.เอกก์ อธิบายเพื่อให้มองเห็นภาพเมือง "เชียงใหม่" บนโมเดลที่ยั่งยืนเอาไว้ว่า การที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ในพื้นที่จะต้องสามารถแก้หงุดหงิดได้ ตามคำนิยามที่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯได้บอกเอาไว้ว่า นวัตกรรมคือสิ่งที่จะต้องเข้ามาแก้ปัญหาความหงุดหงิด ถ้ามองในเรื่องการท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่ เราอาจจะเห็นความหงุดหงิดหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จะต้องเผชิญฝุ่น PM2.5 ฤดูแล้งอยู่เป็นประจำ ระบบขนส่งสาธารณะที่ยังมีข้อจำกัด ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาตอบโทย์ความทำธุรกิจ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีนวัตกรรมด้านเข้ามาช่วยเหลือ และแก้ปัญหาได้ให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างตอบโจทย์นักท่องเที่ยวมากขึ้น นวัตกรรมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก รวมไปถึงนวัตกรรมหลังบ้าน อย่างเช่นนวัตกรรมด้านพลังงาน เพราะแน่นอนว่าเมื่อมีคนท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นความต้องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรณ์ก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเลือกให้พลังงานทางเลือกเป็นเรื่องสำคัญอีกหนึ่งประการที่จะต้องเร่งพัฒนา ซึ่งจุฬาฯ มีองค์ความรู้ที่พร้อมจะทำงาน ดังนั้นหากได้ร่วมงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าจะช่วยสร้างเมืองที่ยั่งยืน และการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนให้กับเชียงใหม่ได้ 

 

 

เมืองเชียงใหม่

 

 

  • แนวทางพัฒนาเมือง "เชียงใหม่" รองรับการเป็นเมืองท่องเที่ยวยั่งยืน

นายจารุวัตร เตชะวุฒิ นายกสมาคมศิษย์เก่าจุฬาฯ  กรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงศักยภาพและแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ว่า ปัจจุบันเชียงใหม่มีประชากรราวๆ 1.7 ล้านคน โครงสร้างเศรษฐกิจในเชียงใหม่มาจาก ภาคบริการประมาณ 70% ภาคเกษตรกรรม 19%  และภาคอุตสาหกรรม 11% รวมทั้งขณะนี้เชียงใหม่อยู่ระหว่างการพัฒนาคูเมืองให้เป็นมรดกโลกอีกหนึ่งแห่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ 

 

 

จารุวัตร เตชะวุฒิ

 

 

สำหรับทิศทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 
1.เมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบริการระดับสากล Tourism Hub/ World’sTourist Destination, MICE City, Wellness City เนื่องจากเชียงใหม่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและการบริการระดับสากล จึงมีความพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการประชุมและจัดนิทรรศการของภูมิภาค 

2.เมืองศูนย์กลางการค้า การลงทุนและการคมนาคมขนส่ง Northern Landport จ.เชียงใหม่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และโลจิสติกส์ เชื่อมโยงกับ กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีสนามบินนานาชาติขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 6 ล้านคนต่อปี แต่ที่ผ่านมาเคยรองรับผู้เดินทางมากถึง 10 ล้านคนซึ่งเกิดขีดความสามารถ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินขอก่อสร้างสนามบินแห่งที่ 2 เพื่อยกระดับการคมนาคมให้ดียิ่งขึ้น และลดความแออัดของสนามบินเดิม 

3.เมืองแห่งเกษตรปลอดภัย Northern Food Valley จ.เชียงใหม่กำหนด ตำแหน่งการพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย และเลือกใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูง

4.เมืองศูนย์กลางการศึกษานานาชาติสู่สากล Education Hub จ.เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาค มีสถาบันการศึกษาจานวนมากต่อการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณภาพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อสามารถดารงชีวิตในสังคมอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพ 

5. เมืองน่าอยู่ Eco-Town Eco-Village จ.เชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขณะเดียวกันเป็นเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว การค้าการลงทุน และการย้ายถิ่นฐาน เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน 

 

เมืองเชียงใหม่

 

เมืองเชียงใหม่

 


'นอกจากการส่งเสริมและสร้างให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงแล้ว ทิศทางในการพัฒนาเมืองยังเน้นการเดินตาม SDGs ซึ่งเป็นการพัฒนาและสร้างเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิต'

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ