ชีวิตดีสังคมดี

'GDP' ไตรมาส 2 โต 1.8% เพิ่มแค่ 0.2% ส่งออกทรุด นักท่องเที่ยวจีนต่ำกว่าเป้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สภาพัฒน์ สรุป 'GDP' ไทยไตรมาส 2 โต1.8% เพิ่มจากไตรมาสแรกแค่ 0.2% ส่งออกทรุด ความไม่แน่นอนทางการเมืองทำความเชื่อมั่นสั่นคลอน ด้านท่องเที่ยวโตพุ่งแต่ผิดหวังนักท่องเที่ยวจีนน้อยกว่าเป้า

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ รายงานการเติบโตของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ "GDP"  ไตรมาส 2 ปี 2566  โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สอง ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.8% ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปี 2566 โดยพบว่า "GDP"  ของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาสแรก เพียงร้อยละ 0.2 % เท่านั้น รวมครึ่งแรกของปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.2%

 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์

สำหรับปัจจัยที่มีผลทำให้ "GDP" ไทยไตรมาส 2 ชะลอตัวและไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ สภาพัฒน์ตั้งเป้าเอาไว้นั้นหลักๆ มาจากภาคการส่งออกที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยพบว่า "GDP" การส่งออกลดลงไปถึง - 5.7%  เป็นมาจากอัตราการผลิตที่ลดลงโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ประกอบกับประเทศต้นทางที่เป็นประเทศส่งออกหลักของประเทศไทย เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ก็มีผลทำให้การส่งออกของไทยชะลอตัวลงด้วย กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานยนต์  อาหารสัตว์  ยางพารา  ผลิตภัณฑ์โลหะ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี นอกจากนี้ยังพบว่า ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงก็ทำให้ส่งออกสินค้าการเกษตรได้น้อยลงเช่นกัน

 

 

ด้านการการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ลดลง 4.3% ต่อเนื่องจากการลดลง 6.3% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการ สังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลง 25.1% ต่อเนื่องจากการลดลง 40.6 %ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนค่าซื้อสินค้าและบริการลดลง 2.6 % ปัจจัยที่ทำให้ "GDP" ด้านการอุปโภคปละบริโภคในปีลดลงจากปีที่ผ่านๆมานั้น เนื่องจากการจ่ายเงินช่วยเหลือในปีนี้น้อยลงว่าในช่วงที่เกิดกการระบาดของโควิด-19 ซึ่งรัฐได้จ่ายช่วยเหลือ ทำให้ประชาชนมีกำลังจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

GDPไตรมาส2

 

นายดนุชา กล่าวต่อว่า แม้ว่า "GDP" จากภาคการส่งออกและการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลจะลงลงแต่ สภาพัฒน์ กลับพบว่า "GDP" ที่มาจากการท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง  โดยในไตมาสที่ 2 ของปี 2566 พบว่า สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 15.0 ส่งผลให้มูลค่าบริการด้านการท่องเที่ยวในไตรมาส 2 อยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัตราการท่องเที่ยวจะเพิ่มสูงขึ้นแต่ยังถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเดินทางเข้ามาเที่ยงประเทศไทยมากถึง 5 ล้านคน ดังนั้นจะต้องมีการทำโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน และหลุ่มนักท่องเที่ยวกระเป๋าให้ได้มากที่สุด เนื่องจากข้อมูลพบว่า แม้ว่า "GDP" จะเติบโตจากการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่สัดส่วนการใช้เงินนักท่องเที่ยวย้องน้อยมาก เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 37,000 บาท/คน/ทริปเท่านั้น ดังนั้นรัฐบางจะต้องหามาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และดึงให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินมากขึ้น

 

 

 

ด้านภาคเกษตรปีนี้คาดการณ์ว่าผลผลิตจะลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์ แอลนีโญ โดยคาดการว่า "GDP" จากภาคการเกษตรจะลดลงราวๆ 0.4% ตัวเลขดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ไว้ในช่วงไตรมาแรกของปี 2566 แต่จะต้องจับตาปรากฎการณ์เอลนีโญในอนาคตว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2567 สิ่งสำคัญคือภาครัฐจะต้องบริหารจัดการให้ดี โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำต้นทุน หากจัดการได้ก็คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมน้อยลง และกระทบ "GDP" น้อยลงด้วยเช่นกัน

 

 

 

  • ภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยตลอดปี 2566 สภาพัฒน์ยังมั่นใจว่าดีขึ้น

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.5 - 3.0 %โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของ ภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายตัวต่อเนื่องของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ โดยคาดว่า การอุปโภคบริโภคและการลงทุนรวมจะขยายตัว 5.0 % และ1.6% ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.7 - 2.2 % และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล  1.2 % ของ "GDP"

 

 

 

 

  • แนวทางทางการบริหารจัดการกระตุ้น "GDP" ในช่วงที่เหลือ

1.การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศรวมทั้งการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและ การติดตามป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก

 

2.การรักษา แรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดย การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังมีความล่าช้า การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567

 

3.การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ  Long - term Resident VISA (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพโดยเฉพาะกลุ่มพำนักระยะยาว

 

4.การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดย การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อการผลิต การเพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้ายมากขึ้น  ดำเนินมาตรการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านการส่งเสริมระบบประกันภัยพืชผลจากความเสี่ยงของสภาพอากาศ และ บรรเทาผลกระทบจากปัญหาต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง

 

5.การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้าเพื่อไม่ให้เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยการอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกการเร่งรัด

การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี

 

6.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 - 2565 ให้เกิดการลงทุนจริงการแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อ การลงทุนและการประกอบธุรกิจ

 

 

นายดนุชา ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ความไม่แน่นอนทางการเมือง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การลงทุนของประเทศไทย โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหารเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ที่จะล่าช้า และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการลงทุนของเอกชน และมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับมาจะต้องเร่งรัดให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลให้ได้เร็วที่สุดจึงจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ