ชีวิตดีสังคมดี

31 ปีพ.ร.บ.จับขับขี่บนทางเท้า ปรับ 5,000 ก็ไม่สน สู่ยุคเทคโนโลยี AI

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รถจักรยานยนต์ "ขับขี่บนทางเท้า" ใน กทม. เป็นปัญหาเรื้อรังไม่ต่างจากน้ำท่วมในฤดูฝน ไม่ว่าใครดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ วันนี้จะพาย้อนไปดูมาตรการเด็ดๆ ตลอด 31 ปี กับการแก้ปัญหาขับขี่บนทางเท้า จนมาถึงมาตรการเทคโนโลยี AI

ปัญหารถจักรยานยนต์ "ขับขี่บนทางเท้า" เป็นปัญหาเดียวที่ "นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยอมรับว่า แก้ยากที่สุด แม้ทำงานมาได้ครบ 1 ปีก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้ จนนำมาสู่ "เทคโนโลยี AI" 

  • จักรยานยนต์ชนคนบนทางเท้า

รถจักรยานยนต์ชนคนบนทางเท้าบ่อยครั้ง ประชาชนร้องเรียน กทม.จักรยานยนต์ยึดทางเท้า ฟุตบาทเสียหาย สาเหตุเหล่านี้ ทำให้ปี 2560 กทม.แก้ไข พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ตามมาตรการ "จับจริง ปรับจริง" มาตรา 17 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท หากฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับ จะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย หากเจ้าหน้าที่ตำรวจและเทศกิจพบเห็น "ขับขี่บนทางเท้า" สามารถดำเนินการจับกุมหรือจับปรับได้ทันที

นักเรียนหญิงโรงเรียนบดินทร์เดชา 3 บาดเจ็บ เพราะถูกรถจักรยานยนต์ขับชนขณะกำลังเดินบนทางเท้า เมื่อปี 2561

 

 

 

 

เปิดโครงการจุดกวดขัน 115 จุด

 

 

 

  • ปรับ 5,000 ไม่เป็นผล ชนนักเรียนบาดเจ็บ

ปี 2561 ประกาศปรับอัตราค่าปรับ จาก 500 บาทเป็น 1,000 บาท ตั้งจุดกวดขัน 115 จุด และใครแจ้งเบาะแสคนทำผิดรับส่วนแบ่งค่าปรับ 50% ซึ่งปีนี้ก็มีอุบัติเหตุบริเวณทางเท้าปากซอยลาดพร้าว 69 นักเรียนหญิงโรงเรียนบดินทร์เดชา 3 รายหนึ่งบาดเจ็บ เพราะถูกรถจักรยานยนต์ขับชนขณะกำลังเดินบนทางเท้า เป็นกระแสสังคมขึ้นมาพักใหญ่กับประเด็น "ทางเท้าไม่ปลอดภัย" แต่ไม่นานก็กลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ 

 

 

 

 

จุดกวนขันขับขี่บนทางเท้า

 

 

 

 

 

  • ปี 2562 กทม.เน้นจัดระเบียบทางเท้า

กทม.จัดเทศกิจตรวจตราและกวดขันผู้ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน จอดหรือ "ขับขี่บนทางเท้า" กำหนดจุดกวดขันทั่วพื้นที่ กทม. จาก 115 จุด เพิ่มเป็น 233 จุด ปรากฏว่า สถานการณ์เริ่มดีขึ้น แต่ยังมีบางกลุ่มที่ยังแอบ "ขับขี่บนทางเท้า" และเมื่อเห็นเทศกิจก็จะดับเครื่องยนต์และเข็นรถแทน ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเอาผิดได้

 

 

 

  • เข้าทำนองเดิม เทศกิจลงขับขี่บนทางเท้าหาย

จุดกวดขันทั่ว กทม. พร้อมปรับ 1,000 บาท ไม่ทำให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้าลดลงไปได้ "กรมการขนส่งทางบก" ปรับอัตราค่าปรับ จาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท ใครแจ้งเบาะแสคนทำผิดรับส่วนแบ่งค่าปรับ 50% พบว่า สถิติผู้รับรางวัลส่วนแบ่งปี 2561-2564 เป็นเงินหลักล้านบาท แต่ไม่ได้ทำให้ปัญหาขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้าลดลงเช่นเคย

 

 

 

 

หนุ่มไรเดอร์ผู้ก่อเหตุ

 

 

 

 

  • ปี 2565 เกิดเหตุรถจักรยานยนต์ชนคนบนทางเท้า

หนุ่มไรเดอร์ขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนคนบนทางเท้าย่านสายไหม ก่อนเข้าทำร้ายร่างกายคู่กรณีบาดเจ็บ เป็นเหตุการณ์ดราม่าโลกโซเชียล "ทางเท้าไม่ปลอดภัย" ก่อนจะเงียบหายไปและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 

 

 

  • ร้อง กทม.แก้ปัญหาผ่านแพลตฟอร์ม "ทราฟฟีฟองดูว์"

กทม.จัดเทศกิจกวดขัน "ขับขี่บนทางเท้า" ที่ฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด ตั้งโต๊ะดักจับปรับ แต่ไม่ได้ผล ให้รางวัลคนที่แจ้งเบาะแสคนละ 50% ของค่าปรับก็ไม่เป็นผล เพราะประชาชนรู้แล้วว่า ดับเครื่องยนต์และเข็นรถแทนจะไม่โดนปรับ สุดท้ายก็แก้ปัญหาไม่ได้

 

 

 

 

เทคโนโลยี AI จับภาพป้ายทะเบียนรถขับขี่บนทางเท้า

 

 

 

 

กระทั้งล่าสุด กทม.พัฒนา "เทคโนโลยี AI" จับภาพป้ายทะเบียนรถแบบคมชัด ส่งใบสั่งถึงหน้าประตูบ้าน โดยเทศกิจเป็นคนออกใบตักเตือนภายใน 15 วัน หากไม่มาจ่ายค่าปรับ ก็จะส่งอีกครั้งภายในอีก 15 วัน รวม 30 วัน ถ้าไม่มาจ่ายยอดจะสะสมเรื่อยๆ และเรียกเก็บตอนต่อทะเบียนภาษีกับกรมขนส่งทางบก ขณะนี้ได้ลงนาม MOU กับตำรวจและกรมการขนส่งทางบกเรียบร้อยแล้ว

 

 

 

  • เทคโนโลยี AI จับภาพ "ขับขี่บนทางเท้า"

เทคโนโลยี AI ถูกพัฒนาขึ้นให้ใช้กับกล้องซีซีทีวี (CCTV) เดิมที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ ทั่ว กทม. แค่ปรับระดับให้กล้องส่องถึงทางเท้าก็สามารถจับภาพผู้ฝ่าฝืนได้ โดยตั้งเป้าติดตั้งให้ได้ 200 จุด แต่เบื้องต้นนำร่อง 5 จุด ได้แก่ 


1. ปากซอยรัชดาภิเษก 36 (ซอยเสือใหญ่อุทิศ) เขตจตุจักร 

2. โรงเรียนนิเวศน์วารินทร์ เขตบางเขน  

3. ปากซอยเพชรเกษม 28 เขตภาษีเจริญ 

4. ถนนเทพารักษ์ เขตบางเขน 

5. ปากซอยเพชรบุรี 9 เขตราชเทวี

 

 

 

 

  • 1 สัปดาห์จับ "ขับขี่บนทางเท้า" ได้ 4,000 คัน

ภาพรวมหลังจากนำ "เทคโนโลยี AI" มาใช้ติดตั้งบนทางเท้า เพื่อจับรถจักรยานยนต์ขับขี่บนทางเท้า ระหว่างวันที่ 12- 20 มิ.ย. 2566
พบจำนวนรถจักรยานยนต์ที่ทำผิดมีกว่า 4,000 คัน ในจำนวนนี้เป็นรถของประชาชนทั่วไปมากที่สุด 1,884 คัน

 

 

 

จุดที่พบการทำผิดมากที่สุด คือ ทางเท้าปากซอยรัชดาภิเษก 36 หรือซอยเสือใหญ่อุทิศ นอกจากนี้ ยังพบ กลุ่มจักรยานยนต์รับจ้างทำผิด 592 คัน กลุ่มไรเดอร์ 309 คัน หลังจากนี้ จะขยายเพิ่มอีก 100 จุด ให้ครอบคลุมทั่ว กทม. ภายใน 1-2 เดือนนี้ 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ