ชีวิตดีสังคมดี

สาเหตุ 'สะพานลาดกระบังถล่ม' คานหิ้วชิ้นส่วนสะพานหลุด แนะวิธีก่อสร้างต่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วสท. เปิดปมสาเหตุ 'สะพานลาดกระบังถล่ม' เพราะคานหิ้วชิ้นส่วนสะพานหลุด แนะกทม.ไม่ต้องรื้อทิ้งทั้งหมด แต่ต้องตรวจสอบโครงสร้างให้ละเอียด

รศ.เอนก ศิริพานิชยกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. กล่าวถึง "สะพานลาดกระบังถล่ม" ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้าง ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบังว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง ถล่มเมื่อช่วงค่ำวานนี้ (10 ก.ค. 2566)  พบว่า ตัวหิ้ว Segment ซึ่งเป็นชิ้นส่วนตัวประกอบสะพาน เกิดการร่วงลงมา ส่งผลทำให้ชิ้นส่วนคานสะพานที่ต่อเชื่อมกันได้รับแรงกระแทกจน "สะพานลาดกระบังถล่ม" ลงอย่างรุนแรง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ตัวหิ้ว Segment ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง ร่วงลงมานั้นเกิดจากสาเหตุอะไร กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการจะต้องไปตรวจสอบอีกครั้ง 

จากภาพที่มีการแชร์กันมานั้นจะเห็นได้ว่า บางช่วงของทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง ไม่ได้รับผลกระทบและไม่มีความเสียหาย รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า ในส่วนรอยต่อของ สะพานลาดกระบังถล่ม ซึ่งเป็นการก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบังที่ไม่ได้รับความเสียหายหนักกทม. ไม่จำเป็นซ้ำในส่วนรอยต่อของโครงสร้างสะพานที่ไม่ได้รับความเสียหายหนักกทม. ไม่จำเป็นจะต้องทุบทิ้ง โดยสามารถพิจารณาหรือถอนเฉพาะส่วนที่พังถล่มลงมาได้

 

สะพานลาดกระบังถล่ม

แต่จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างทางยกระดับที่ไม่ได้เสียหายอย่างละเอียด โดยเฉพาะความแข็งแรง แนวตรง ของเสาตอม่อ เส้นเหล็กคงสภาพภายใน Segment หรือไม่ ว่ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ 100% และเป็นไปตามหลักวิศวกรรมหรือไม่ หลังจากดำเนินการหลังจากดำเนินการตรวจสอบเสร็จแล้วจะต้องมีการแถลงรายละเอียดแก่ประชาชน เพื่อลดความไม่มั่นใจในการช้ายทางยกระดับหลังจากที่มีการก่อสร้างเสร็จตามแผนงาน
 
 
ส่วนกรณีการก่อสร้าง ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง ที่มีการใช้ การใช้ชิ้นส่วนจากคลังนอกนั้นไม่ได้มีผลกระทบทำให้ ถึงสะพานโดยการรชิ้นส่วนจากข้างนอกนั้นไม่ได้มีผลกระทบทำให้โครงสร้างไม่มีความแข็งแรงแต่อย่างใด ปัจจุบันการใช้ชิ้นส่วนที่หล่อจากภายนอกและนำปัจจุบันการใช้ชิ้นส่วนที่หล่อจากภายนอกและนำมาติดตั้งเป็นที่นิยมเนื่องจากค่อนข้างมีความแข็งแรง 
 
ส่วนข้อเสนอแนะที่ วสท. ได้ให้ไปนั้นคือวิธีการตัดเฉพาะชิ้นส่วนที่เสียหายออก โดยไม่ต้องทุบหรือสะพานทั้งหมดทิ้ง พอจากการลงพื้นที่ยืนยันว่า บางช่วงไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด 
 
 
สำหรับรูปแบบการก่อสร้างโครงการทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง เป็นการก่อสร้าง girder box segment ซึ่งติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในที่ ให้เป็น precast box segment ที่หล่อขั้นรูปมาจากโรงงาน และขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และจะแจ้งให้ผู้รับจ้างเพิ่มแรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วขึ้น
 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ