ชีวิตดีสังคมดี

"ป่วยฉุกเฉิน" แบบไหน? เข้า รพ.เอกชน แล้วต้องจ่ายเอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ป่วยฉุกเฉิน" ตามนโยบาย "ยูเซป" วิ่งเข้าโรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้านได้แบบไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ถ้านอกเหนืออาการที่กำหนดต้องจ่ายเอง พร้อมเปิดผลดำเนินงาน 6 ปี พบช่องว่าง "ยูเซป" บนความท้าทายถูกลดงบประมาณ

"ดร.ภญ.ศีลจิต อินทรพงษ์" รองโฆษกสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) บอกว่า ถึงวันนี้ราว 6 ปีแล้ว ที่ สพฉ. ดำเนินนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" หรือ "ยูเซป" (UCEP) เพื่อแก้ปัญหาการคัดแยกอาการผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้โปรแกรม Emergency Pre-authorization (PA) คัดแยกตามกลุ่มอาการ 

ดร.ภญ.ศีลจิต อินทรพงษ์ รองโฆษกสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

 

 

 

 

"ยูเซป" ได้กำหนด 6 กลุ่มอาการเข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤต ให้แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเป็นผู้ประเมิน หากนอกเหนือจากแพทย์ประเมิน หน่วยงานที่รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง ต้องจ่ายเงินเอง แต่หากพบอาการที่เข้าข่าย "ยูเซป" สามารถรักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

สำหรับ 6 อาการเข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤต ได้แก่ 
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

 

 

 

 

"ดร.ภญ.ศีลจิต" อธิบายต่อว่า สถานพยาบาลจะทำการกรองข้อมูลอาการ สัญญาณชีพลงในโปรแกรม ซึ่งจะประเมินว่าเข้าเงื่อนไขสิทธิ  "ยูเซป" หรือไม่ โดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ปรึกษาศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ศคส.สพฉ.) ให้คำปรึกษาคัดกรองอาการอีกชั้นหนึ่ง ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนพ้นวิกฤติฉุกเฉิน แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

 

 

 

 

สำหรับขั้นตอนการใช้สิทธิ "ยูเซป" ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน หลังจากนั้น ศคส.สพฉ.ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ "ยูเซป" ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

 

 

 

 

น.ส.ดวงนภา พิเชษฐ์กุล ผู้ช่วยเลขาฯ สปสช.

 

 

 

 

"น.ส.ดวงนภา พิเชษฐ์กุล" ผู้ช่วยเลขาฯ สปสช. เปิดข้อมูลการใช้บริการของประชาชน ตั้งแต่ปี 2560 ที่ "ยูเซป" เริ่มต้น มีประชาชนรับบริการ 3,896 ครั้ง, ปี 2561 เพิ่มเป็น 12,919 ครั้ง, ปี 2564 เพิ่มเป็น 18,547 ครั้ง 

 

 

 


ปี 2566 ข้อมูลเดือน ต.ค. 2565 - มิ.ย. 2566 มีประชาชนรับบริการ "ยูเซป" แล้ว 16,976 ครั้ง แต่ในปี 2565 เป็นที่น่าสังกตุว่า จำนวนของการรับบริการ "ยูเซป" ได้เพิ่มสูงกว่าปกติหลายเท่าตัว 499,876 ครั้ง เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยสรุปในช่วง 6 ปี มีประชาชนรับบริการ "ยูเซป" ทั้งหมด 587,960 ครั้ง

 

 

 

 

ขณะที่การร้องเรียนมายังสายด่วน สปสช. 1330 พบว่า ตลอด 6 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 7,522 เรื่อง การร้องเรียนมี 2 ประเด็นใหญ่ คือ โรงพยาบาลเรียกเก็บเงินโดยตรง ไม่เบิกจ่ายจาก สปสช. 5,144 เรื่อง และโรงพยาบาลเบิกจ่ายจาก สปสช. พร้อมกับแจ้งให้ประชาชนร่วมจ่าย 2,378 เรื่อง 
  

 

 


 

"หลังรับเรื่องร้องเรียนแล้ว เบื้องต้นจะประสานข้อมูลกับ รพ.ที่เรียกเก็บก่อนเพื่อขอข้อมูลพร้อมชี้แจงหลักเกณฑ์ ทำความเข้าใจกับ รพ. ซึ่งบางครั้งอาจไม่เข้าใจสิทธิและเบิกจ่าย ขณะเดียวกันก็ส่งคำร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป" "น.ส.ดวงนภา" ระบุ

 

 

 

 

ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล อดีตอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

 

 

 

"ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล" อดีตอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะผู้วิจัยโครงการติดตามนโยบาย "ยูเซป"  กล่าวว่า "ยูเซป" กำหนดหลักเกณฑ์ที่รักษาเฉพาะผู้ป่วยเกณฑ์สีแดงที่มีจำนวนน้อย ทั้งจำกัดเวลาดูแล 72 ชั่วโมง ทำให้โรงพยาบาลเอกชนยินดีกับเงื่อนไขมากขึ้น

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลร้องเรียนพบว่า กรณีการถูกเรียกเก็บเงินและปฏิเสธการรักษา โดยเฉพาะในโรงพยาบาลแนวหน้าก็ยังมีอยู่ ขณะที่จำนวนการร้องเรียนที่ สพฉ. ระบุเหลือเพียงแค่ 5% มองว่าอาจเป็นการพูดเกินจริงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงนโยบายรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์ (EMCO) ที่มีการร้องเรียนจำนวนมาก ประกอบกับในภาวะที่ผู้ป่วยเชื่อว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์สีแดง แต่โรงพยาบาลระบุเป็นอาการสีเหลือง ในภาวะเข้าด้ายเข้าเข็มนี้ ทำให้ญาติตัดสินใจจ่ายเงินรักษาเองที่เป็นการปิดโอกาสที่จะร้องเรียนด้วย

 

 

 

 

"ในมุมนักวิชาการ คนไข้สีเหลืองมีโอกาสกลายเป็นสีแดงจากการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้ หรือในจังหวะการประเมินที่อาการยังไม่ถึงสีแดง อีกทั้งการจำกัดเวลา 72 ชั่วโมงก็เป็นช่องโหว่ในแง่ความปลอดภัยของผู้ป่วยเมื่อเทียบกับนโยบาย EMCO ที่ดูแลจนกว่าผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

 

 

 

 

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการนำส่งที่พบว่า แต่ละวันมีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้าถึงบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 ไม่ถึง 10% คำถาม คือ แล้วจะอุดช่องว่างเหล่านี้อย่างไร ซึ่ง 10 กว่าปีที่ผ่านมาการที่ สพฉ. ทำได้เท่านี้ 1. อาจถูกจำกัดด้วยงบประมาณ 2. ถูกจำกัดในการสร้างแรงจูงใจ หรือหากลไกอื่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาร่วมมือ รวมทั้ง ยังมีประเด็นการอบรมเจ้าหน้าที่กู้ชีพที่ยังทำได้น้อยในแต่ละปี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ