ชีวิตดีสังคมดี

บทสรุป เสาตอม่อ 'สะพานพระราม 3' เสาบางไม่แข็งแรง ยืนยันแล้วไม่เป็นปัญหา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บทสรุป เสาตอม่อ 'สะพานพระราม 3' ดราม่าเสาไม่แข็งแรง แต่ออกแบบถูกต้องตามหลักวิศวกรรมต่างประเทศยังใช้เสาแบบนี้ ทนต่อแผ่นดินไหว ลดรอยต่อดีกว่าตอม่อใหญ่

1.กลายเป็นเรื่องดราม่าหลังจากที่นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นถ่ายภาพ เสาตอม่อ "สะพานพระราม 3" พร้อมวิจารณ์ถึงว่า เสาตอม่อสะพานพระราม 3 ทำไมดูบางขนาดนี้ ดูไม่แข็งแรงทนทานเลย เพิ่งได้เห็นกับตาดูน่ากลัว ความปลอดภัยอยู่ที่ไหนหลังจากนั้นก็มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาคอมเมนต์จำนวนมาก ภาพที่ถูกแชร์ออกไปก็เล่นเอาคนไทยตกอกตกใจ เพราะหากเทียบกับเสาตอม่อของสะพานอื่นๆ ก็ดูเหมือนว่า เสาตอม่อ "สะพานพระราม 3" จะเล็กจริงๆ   

 

เสาตอม่อสะพานพระราม 3

2. "สะพานพระราม 3" สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา รูปแบบอสมมาตรที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก สะพานพระราม 3  ก่อสร้าง วันที่ 29 สิงหาคม 2539 และเปิดให้สัญจรในวันที่ 30 มี.ค. 2543  สำหรับ  "สะพานพระราม 3" สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร เนื่องจาก สะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้าง "สะพานพระราม 3" ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้  ปัจุจบันเปิดใช้งานมาแล้ว 23 ปี โดยมีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแลและก่อสร้าง 

 

 

3. "สะพานพระราม 3" ถูกออกแบบการก่อสร้างเป็นแบบ สะพานคานรูปกล่อง (Box Girder) 6 ช่องจราจร 2 ทิศทาง 23 เมตร ยกเว้นเชิงสะพานทั้งสองฝั่ง มี 4 ช่องจราจร เนื่องจากช่องจราจรด้านซ้ายสุดทั้งสองช่องเป็นสะพานเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุงและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งหมด 411,489,540 บาท และจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) 2,481,181,265 เยน หรือราวๆ 607 ล้านบาท 

 

 

4. รศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการควบคุมอาคาร ที่ปรึกษาสาขาวิศกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) อธิบายว่า หากมองตามความรู้สึกขนาดของเสาตอม่อ "สะพานพระราม 3"  อาจจะดูไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะมีขนาดที่บางมาก โดยภาพเสาตอม่อที่แชร์กันนั้นเป็นเสาตอม่อช่วงบริเวณเชิงสะพานยกระดับเชื่อมกับสะพานใหญ่ (approach elevated bridge) แม้ว่าเสาจะมีขนาดเล็กแต่ในทางวิศกรรมมีการวางตอม่อต่อเนื่องกัน 4 ช่วงคาน  ดึงรวดอัดแรงที่ละ 4 ช่วง มีรอยต่อน้อย หากเสามีขนาดใหญ่จะส่งผลต่อการดึงรวดอัดแรงหรือการเสริมกำลังในสะพาน เพราะจะเสริมแรงได้น้อยลง โดยทางวิศวกรรมเรียกว่าให้การออกแบบเชิงโครงตั้งฉากอาศัยการถ่ายแรงจากพื้นมายังเสา เนื่องจากเป็นช่วงเชิงสะพานการออกแบบจึงไม่ได้ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เหมือนโครงสร้างสะพานอื่นๆ อาทิ เสาตอม่อของทางด่วน ประกอบการต้องมีการความคุมการยืดหยุ่นของ สะพานในช่วงเชิงคานสะพาน การออกแบบเสาตอม่อให้เล็กจึงหมาะสมมากกว่า 

 

 

5.ความปลอดภัยมีมากพอและไม่เกิดเหตุการพิบัติแน่นอน โดย รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่าเสาจะมีขนาดเล็ก และบางกว่าเสาตอม่อที่เราคุ้นเคยกัน แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น  เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน และในการถ่ายเทน้ำหนัก  ซึ่งปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย  ประเทศญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ทำให้ดังนั้นจึงมั่นใจไดว่าเสาตอม่อ "สะพานพระราม 3 " มีความแข็งแรงมั่นคงพอ และที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลาง   สะพานการออกแบบเสาตอม่อก็ให้เสาตอม่อขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ  อีกทั้งการออกแบบลักษณะดังกล่าว จะทำให้สะพานขยับตามแนวทิศทางการวิ่งของรถ ลดรอยแตกร้าวได้ดี 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ