ชีวิตดีสังคมดี

'ภาษีที่ดิน' ใครบ้างที่ต้องจ่าย ยังเป็นคำถามลดความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ใครบ้างที่ต้องจ่าย 'ภาษีที่ดิน' แม้กฏหมายตั้งใจจะลดหย่อนเพื่อความเท่าเทียม แต่กลับทำให้คนรวยจ่ายน้อยลง หลายคนตั้งคำถามลดความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือไม่

หลังจากที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 ลด "ภาษีที่ดิน" และสิ่งปลูกสร้าง 15% ปีภาษี 2566  แต่หลังจากที่เห็นตัวเลขการ และอัตราการเก็บ "ภาษีที่ดิน" ในแต่ละประเภทไปแล้วพบว่า บางรายที่เคยเสีย ภาษีที่ดิน  ในอัตราสูงกลับต้องจ่ายในราคาที่ถูกลง จนกลายเป็นคำถามว่ามาตรการการลด ภาษีที่ดิน ช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือไม่ 

 

 

การลด "ภาษีที่ดิน" ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งทำให้หลายหน่วยงานมีรายได้จากการเก็บภาษีที่ดินลดลง ส่งผลกรทบต่อการบริหารจัดการรายได้ขององค์กรปกครองท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีที่ดิน และการลดอัตราการเก็บ "ภาษีที่ดิน" หลายคนตั้งความหวังเอาไว้ว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยลดความเหลือมล้ำทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด แต่กลายเป็นว่าเมื่อคำนวณแล้ว เจ้าของอาคารขนาดใหญ่ หรือเจ้าของที่ดินกลางเมือง กลับได้เสียภาษีที่ดินในอัตราที่ถูกลง เช่น เจ้าของพักเคยเสียภาษีประมาณ 2,000,000 ล้านบาท/ปี เมื่อมีมาตรการลดหย่อนภาษีกลับได้จ่ายแค่หลักแสนเท่านั้น

หากย้อนกลับไปดูรายละเอียด "ภาษีที่ดิน" ใครบ้างต้องเสีย 

-เจ้าของที่ดิน, เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง, เจ้าของห้องชุด อาจไม่ใช่เจ้าบ้านก็ได้ เพราะหากเจ้าบ้านไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น เจ้าบ้านก็ไม่ใช่ผู้ที่ต้องเสียภาษี

-ผู้ครอบครองทรัพย์สิน ทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุอยู่ แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่นั้น ๆ แต่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย

-ผู้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีภาษีนั้น  กรณีเจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นเป็นคนละคนกัน ให้ต่างคนต่างเสียภาษีเฉพาะส่วนที่ตัวเองเป็นเจ้าของ

อัตราการเก็บภาษีที่ดินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่พักอาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า คิดภาษีที่ดินแบบขั้นบรรได เพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน 

 

 

1.ที่ดินเกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
โดยที่ดินเกษตรกรรม คือการใช้ที่ดินเพื่อทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่น โดยในการปลูก หรือทำการเกษตรจะมีเกณฑ์กำหนดว่าที่ดินผืนดังกล่าวเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือไม่ คลิกที่นี่

 

 

2.ที่พักอาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.30%  
บ้านหลังหลัก คือ เราเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่อในทะเบียนบ้าน  อัตราภาษีที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 50 ล้านบาท ยกเว้นภาษี
มากกว่า 50-75 ล้านบาท 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
มากกว่า 75-100 ล้านบาท 0.05% (ล้านละ 500 ล้านบาท) 
มากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท) 

 

ประเภทที่สอง คือ เป็นบ้านหลังหลักที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 ม.ค. 2565 แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน เช่น ซื้อคอนโดมิเนียม 
ไม่เกิน 10 ล้านบาท ยกเว้นภาษี 
มากกว่า 10-50 ล้านบาท 0.02%   (ล้านละ 200 บาท)
มากกว่า 50-75 ล้านบาท 0.03%   (ล้านละ 300 บาท)
มากกว่า 75-100 ล้านบาท 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
มากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป 0.10% (ล้านละ 1,000บาท) 

 

เก็บภาษีที่ดินกระทรวงการคลัง

 

สิ่งที่น่าสนใจคือการประเมินที่ดิน สำหรับที่ดินแปลงใหญ่ โดยก่อนหน้าคิดตามความใกล้ถนนแล้วแบ่งเป็น 4 ชั้นตามระยะห่างออกไป โดยพื้นที่ด้านในคิดภาษีถูกสุด แต่ได้ปรับเกณฑ์ภาษีใหม่โดยที่ดินแปลงใหญ่แบ่งเป็น 7 ชั้น ซึ่งภาษีจะลดหลั่นลงเร็วกว่าทำให้ที่ดินแปลงใหญ่บางที่ภาษีลดลงไปเยอะ 

 

 

ขณะที่คนที่มีที่ดินแปลงเล็กเสียภาษีเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นตามราคาประเมิน หรือกรณีอื่น ๆ อาทิ ราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างบางรายการไม่ครอบคลุม ทำให้ไม่สามารถประเมินภาษีได้ เช่น เสาสื่อสารส่งสัญญาณ หรือพื้นที่เกษตรจำแลงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี การมีพื้นที่เกษตรในพื้นที่สีแดงในเขตเมือง ซึ่งอาจมองว่าเป็นการทำให้เป็นพื้นที่เกษตรเพื่อหลีกเลี่ยงการจัดเก็บภาษีหรือไม่

 

 

สำหรับกฎหมาย "ภาษีที่ดิน" และสิ่งปลูกสร้าง ต้องบอกว่ามีทั้งข้อดีและมีทั้งข้อที่ต้องปรับปรุง แทำให้ต้องย้อนกลับไปว่ากฎหมายฉบับนี้ที่ตั้งใจออกมาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำนั้น ลดได้จริงหรือไม่ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ