ชีวิตดีสังคมดี

เปิดที่มา 'ส่วย' มีตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์แต่ไม่เหมือน จ่ายส่วย ทุกวันนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดที่มาคำว่า 'ส่วย' จัดเก็บจากราษฎรตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่จุดประสงค์ต่างจากการ 'จ่ายส่วย' ในวันนี้

"ส่วย" สมเด็จกระพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่า คำว่า "ส่วย" มาจากภาษาแต้จิ๋ว ส่วยโบ๊ว หมายถึงการเก็บส่วนลดผลประโยชน์จากราษฎร

 

 

"ส่วย" จึงหมายถึง เงินหรือสิ่งของแทนการมาทำงาน ที่มีการยินยอมให้บุคคลบางพวกส่งให้รัฐแทนการมาทำงานด้วยแรงงาน

 

 

ทั้งนี้คำว่า "ส่วย" ในประวัติศาสตร์ได้แบ่งความหมายไว้ดังนี้

"ส่วย" หมายถึง สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ใต้ปกครองหรืออยู่ในความอุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง "ส่วย" ในลักษณะนี้จึงหมายถึงการจ่ายส่วยเป็นเครื่องราชบรรณาการ

 

 

"ส่วย" หมายถึง เงินที่ราชการกำหนดเรียกเก็บจากราษฎรที่ไม่ได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล โดยในอดีตสังคมไทยมีระบบการเกณฑ์แรงงานจากราษฎร โดยที่รัฐไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเป็นการตอบแทน หากใครไม่ต้องการจะใช้แรงงานจะต้องเสียส่วย หรือที่เรียกว่า ส่วยแทน

 

"ส่วย" หมายถึง เงินที่ทางราชการเกณฑ์ให้ราษฎร ร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง เช่น เกรฑ์ให้ช่วยกันเลียงแขก สร้างป้อมปราการ

 

"ส่วย" หมายถึง ทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลสงหากเกินกำลังของทายาทเอาไว้ใช้สอย

 

 

ในอดีตแสดงให้เห็นว่ามีการเรียเก็บส่วยและจังกอบเท่านั้นที่บังคับเก็บโดบที่ผู้ที่ต้องจ่ายไม่ได้รับผลต่างตอบแทบ (1)

ในประวัติศาสตร์การเก็บ "ส่วย" มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิขของประเทศค่อนข้างมาก เพราะรายได้ที่สำคัญของประเทศมาจากการเก็บ ภาษีอากร ซึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีหลักฐานระบุว่า ผลประโยชน์ที่รัฐบาลเรียกเก็บจากราษฎรเรียกว่า ส่วยอากร ทำให้รายได้ส่วนหนึ่งจากรัฐไทยในยุคนั้นจึงมาจาก ส่วย  จึงทำให้ระบบการเก็บส่วยมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจของไทยในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

งานวิจัย ระบุ ด้วยว่า ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นรัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายเบี้ยหวัดข้าราชการ จึงขอลดการจ่ายครึ่งหนึ่งและมีการนำเอาผ้าขาวม้ามาจ่ายเทนเงิน

 

 

อีกทั้งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระนั้งเหล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงการดำเนินการค้าต่างประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล โดย ส่วยเป็นส่วนหนึ่งในการวิธีการดำเนินการค้า ณ ขณะนั้น การเก็บส่วยจึงได้เข้ามามีความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ในระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยในยุคนั้นรัฐบาลสนใจการหารายได้แบบผูกขาด เงินลงทุนส่วนใหญ่จึงมากจากเงินส่วย และสินค้าส่วนมากได้มาจากส่วย นอกจาก ส่วย ยังมีความสำคัญต่องานราชการในด้านอื่นๆ  ดังนั้นจึงมีความสนใจในการเก็บส่วยและจัดระเบียบการเก็บ ส่วย เพื่อให้ได้มากอยางเพียงพอ อย่างไรก็ตามพบว่าการเก็บ ส่วยไม่ประสบผลสำเร็จมากพอในยุคนนั้น ส่งผลให้รายได้ของรัฐบาลกระทบกระเทือนไปด้วย

(2)

 

 

อย่างไรก็ตาม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการเก็บ "ส่วย" หรือ ค่าราชการเดือนละ 4.50 บาท แทนการเข้าเวรปีละ 4 เดือน เป็นเงิน 18 บาท ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 5 ค่าราชการได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 6 บาท แทนการเข้าเวรปีละ 3 เดือน เป็นเงิน 18 บาท ทาสต้องรับราชการปีละ 8 วัน ถ้าจะจ่ายค่าราชการแทนก็ได้ในอัตรา 1.50 บาท (3)

 

 

 

 

อ้างอิง

1.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย คลังข้อมูลและบทสำรวจสถานะทางวิชาการ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2527)

2.บุญรอด แก้วกันหา, การเก็บส่วยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2411) ศูนย์วิทยทรัพยากรณ์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย

3.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย คลังข้อมูลและบทสำรวจสถานะทางวิชาการ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2527)

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ