ชีวิตดีสังคมดี

กะเทาะเปลือกกระบวนการ 'จ่ายส่วย' คอร์รัปชันเชิงระบบ แก้ได้แต่ไม่แก้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กะเทาะเปลือกกระบวนการ 'จ่ายส่วย' ปัญหาคอรัปชันเชิงระบบ ส่วยทางหลวง เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ชี้การตรวจสอบไม่ชัดเจนตรวจกันเองใครจะรู้ เปิดวิธีการสิงคโปร์ ฮ่องกง แก้ปัญหาส่วยอย่างไรให้หมดไป

ดร. ประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงปัญหาส่วยทางหลวง ว่า ปัญหาดังกล่าวนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดมาต่อเนื่องยาวนาน และไม่สามารถแก้ไขได้อย่างจริงจัง  เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยไม่เคยแก้ไขปัญหาส่วยรถบรรทุก ได้อย่างตรงจุดเลยสักครั้ง และปัญหาดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์จำนวนมหาศาล โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงคือ กรมทางหลวง และตำรวจทางหลวง ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนระหว่างการเข้าด่านชั่งน้ำหนักซึ่งกำกับดูแลโดยกรมทางหลวง

 

 

สภาพการจราจรที่ดูแลโดยตำรวจทางหลวง แต่อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วกระบวนการ "จ่ายส่วย" นั้นทำกันมากกว่า 2 หน่วยงานที่ตนกล่าวมาอยู่แล้ว และมีการทำเป็นระบบ เริ่มจากที่ผู้ประกอบการจนส่งสินค้าที่ต้องการลดต้นทุนการขนส่งจึงมีการให้คนขับรถบรรทุกใส่น้ำหนักให้ได้เยอะที่สุด จากนั้นผู้ประกอบการหรือผู้ว่าจ้าง จะทำหน้าที่ไปเคลียร์กับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยการเสนอจ่ายเงิน หรือเสนอให้ใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้สามารถเลี่ยงกฎหมาย เลี่ยงการตรวจสอบได้ ดังนั้นการตรวจสอบ บังคับใช้กฏหมายเพื่อจัดการปัญหา "จ่ายส่วย" จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการเป็นระบบ เพราะทุกอย่างโยงใยกันไปหมด  ที่สำคัญควรจะมีกฎหมายสำหรับเอาผิด ควบคุมนายจ้างด้วย เพื่อให้เกิดการลงโทษทั้งสองฝ่าย เพราะขณะนี้กฎหมายที่ใช้อยู่บังคับ จับกุมแค่คนขับรถบรรทุกเท่านั้น 

  • วิวัฒนาการส่วยทางหลวงวังวนที่ไม่รู้จบสิ้นแท้จริงก็ใช้มุกเดิมๆ 

ดร.ประภัสร์ อธิบายถึงวิวัฒนาการของรูปแบบ ส่วยทางหลวง เอาไว้ว่า ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีกระบวนการ "จ่ายส่วย" ก็ยังคงใช้สติ๊กเกอร์ เป็นสัญลักษณ์ เพื่อการสื่อสารและส่งสัญญาณไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ารถบรรทุกคันนี้จ่ายเงินแล้ว แต่เริ่มแรงอาจจะมีการใช้เป็นตัวเลข และเปลี่ยนไปตามวัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน หลังจากนั้นก็เริ่มเปลี่ยนมาเป็นสติ๊กเกอร์รูปต่างๆ เพื่อแย่งแยกเส้นทาง เขตการเดินรถที่ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นการแบ่งเรทราคาด้วย เพราะแน่นอนว่าแต่ละราคาจะมีอภิสิทธิ์ที่ไม่เหมือนกัน  แน่นอนว่าวิวัฒนาการของรูปแลลและกลไกของกระบวนการส่วยทางหลวงอาจจะไม่ได้ใช้วิที่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ และไม่แน่ว่าปีหน้าก็อาจจะมีการเปลี่ยนสัญลักษณ์สติกเกอร์เป็นแบบใหม่ๆ ด้วย 

 

 

ดร. ประภัสร์ จงสงวน

  • ขยับกฏหมายให้เอาผิดตั้งครบทุกองคาพยพตัดวงจร ส่วยทางหลวง

หากจะตัดวงจรหรือแก้ปัญหาส่วยทางหลวงได้ การแก้ไขกฏหมายและการบังคับใช้อย่างเข้มงวดและจริงจัง เป็นสิ่งแรกๆ ที่เราจะต้องนึกถึง  การแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายจะต้องทำให้ตรงจุด โดยเฉพาะกฏหมายจราจรและกฏหมายแพ่งที่จะต้องครอคลุมไปถึงผู้ประกอบ หรือคนจ้างขนส่งสินค้าด้วย ทุกวันนี้เรามองแค่ด้านการบังคับใช้กฎหมายจราจร ถนนพังเท่านั้น แต่เรากำลังลืมมองเรื่องความปลอดภัยของชีวิตประชาชน การเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งที่ผ่านมาเกิดการณ์บ่อยครั้งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายกฏหมายความรับผิดชอบ 

 

 

"ในยุค คสช.เป็นยุคที่เกิดปัญหาส่วยมากที่สุด ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเข้มงวดอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาส่วย และส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพราะท้ายที่สุดแล้วปัญหาส่วยก็นำมาซึ่งการใช้เงินขึ้นสู่ตำแหน่ง เพราะหากไม่มีการแก้ปัญหาคอร์ปรับชันมา เชื่อว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องปัญหาส่วยจะสามารถได้" ดร.ประภัสร์ กล่าวสรุป  

 

 

  • แก้ปัญหา "จ่ายส่วย" แบบสิงคโปร์และฮ่องกง เอาจริง สืบสวนลับแล้วจับเข้าคุก 

ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญวิทยาให้มุมมองเกี่ยวกับการแก้ปัญหา ส่วยทางหลวง หรือส่วยในรูปแบบอื่น ๆ เอาไว้อย่างน่าสนใจ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล นักอาชญาวิทยา ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นไว้ว่า ส่วย คือการ ทุจริตอีกรูปแบบหนึ่งที่ผ่านมาเคยมีการทำคดีในส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ  (ป.ป.ท.) โดยที่ผ่านมาเป็นการสอบสวนกันภายในของเจ้าหน้าที่ตำรวจเอง โดยไม่ได้มีการตรวจสอบจากหน่วยงายภายนอก ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ว่า มีการลงโทษผู้ที่กระทำผิดจริงหรือไม่  

 

 

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์  ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาส่วยของต่างประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจ ว่า ที่ผ่านมาประเทสสิงคโปร์ และฮ่องกง มีปัญหาเรื่องส่วยหนักมาก แต่ปัจจุบันหน่วยงานรัฐสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเด็ดขาด เพราะมีกระบวนและวิธีการที่รัดกุม โดยจะเริ่มตั้งแต่การตรวจสิบภายในหากพบว่าเจ้าหน้าคนนั้นๆ มีความร่ำรวยผิดปกติ เพราะโดยความเป็นจริงแล้วเงินเดือนเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้สูงมาก แต่หากพบว่ามีเส้นทาการเงินที่ต่างออกไป ใช้ชีวิตหรูหรา จะมีหน่วยงานตรวจสอบ และสืบสวนแบบลับๆ  โดยการสอบสวนจะลงลึกไปจนถึงการสอบถามเพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อมรอบตัว จากนั้นหากพบะว่ากระทำความผิดจริงจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตั้งแต่ให้ออกราชการ ริบทรัพย์สินทั้งหมด ปัจจุบันทั้งสองประเทศแถบจะไม่มีปัญหาเรื่องส่วยแล้ว 

 

ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล

 

อีกแนวทางสำคัญที่จะเป็นการป้องกันกระบวนการให้ส่วยหรือติดสินบน คือ การให้ความรู้ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตั้งแต่ยังเด็ก เพราะการสร้างตระหนักโดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย จะทำให้เกิดกระบวนการคิดที่ถูกต้องและสามารถลดอัตราการทุริตในภาครัฐลงได้ 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ