ชีวิตดีสังคมดี

'ส่วยทางหลวง' ไม่ธรรมดาเงินสะพัด 30 ล้าน/เดือน 1 มิ.ย.ส่งไม้ต่อให้ก้าวไกลแฉ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ส่วยทางหลวง' ไม่ธรรมดารถบรรทุกจ่ายสะบัดแต่ละเดือนเงินสะพัดกว่า 30 ล้าน แลกบรรทุกน้ำหนักไม่อั้น ไม่ต้องเข้าด่าน 1 มิ.ย.นี้สมาคมขนส่งฯเตรียมส่งหลักฐานให้พรรคก้าวไกลสาวไส้ต่อ

ปัญหา "ส่วยรถบรรทุก" ที่นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ สส.พรรคก้าวไกล ออกมาเปิดเผยถึงกระบวนการที่มีการทำสติ๊กเกอร์ Easy Pass โดยมีทั้งสติ๊กเกอร์ที่เป็นรูปกระต่าย พระอาทิตย์ แผนที่ประเทศไทย ฯลฯ เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบน้ำหนักรถบรรทุก โดยเจ้าของบริษัทรถบรรทุกเหล่าจะต้องจ่ายเงินค่าสติ๊กเกอร์เป็นประจำทุกเดือน เพื่อเลี่ยงไม่ให้ถูกจับ 

 

 

นายวิโรจน์  ระบุต่อว่า หากมีสติ๊กเกอร์ Easy Pass จะสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากถึง 100 ตัน  แถมยังไม่ต้องเข้าด่านชั่งน้ำหนักให้เสียเวลาอีกด้วย อย่างไรก็ตามปัญหา "ส่วยรถบรรทุก" ถือว่าเป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานานที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และปล่อยให้เจ้าของธุรกิจขนส่งบางรายที่ไม่ยอมจำนนต่อการจ่ายส่วยต้องแบกรับภาระต้นทุนการขนส่งที่แพงมากขึ้น ซึ่งสร้างความไม่เป็นธรรมในการทำธุรกิจ

อย่างไรก็ตามปัญหา "ส่วยทางหลวง" ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือที่หลายคนเรียกว่า ส่วยรถบรรทุก ที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานไม่ว่าจะรัฐบาลยุคไหนก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ มิหนำซ้ำยังปล่อยปะละเลยให้จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ผิดปกติ และกัดกินคนทำธุรกิจจนส่งเรื่อย 

 

 

นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง นายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลกับ คมชัดลึก ว่า "ส่วยรถบรรทุก" หรือ ส่วยสติกเกอร์เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งมีการใช้วิธีการนี้มาเป็นเวลานานกว่า 20-30 ปี ที่ผ่านมารัฐบาลรับรู้ปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด แต่ไม่เคยมีรัฐบาลยุคไหนที่จะเข้ามาช่วยเแก้ปัญหา หรือปราบปรามได้อย่างจริงจังสักครั้ง พอมีคนฟ้องร้องทีก็จัดการทีจนทำให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำๆ และไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง 

ปัจจุบันสติ๊กเกอร์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเลี่ยงการเข้าด่านชั่ง ไม่ต้องตรวจวัดน้ำหนักแพร่ระบาดและมีจำนวนมาก โดยจากข้อมูลพบว่าสติ๊กเกอร์มีตั้งแต่ราคาต่ำสุดที่ 3,000 บาท ไปจนถึงสูงสุดที่ 27,000 บาท โดยราคาที่แพงที่สุดหากเปรียบเทียบคงเป็นเหมือนระบบจ่ายเงินค่าผ่านทางที่พไปถึงหน้าด่านก็ไม่ต้องจอด แต่สามารถขับผ่านไปได้โดยง่ายเลยทันที และสามารถใส่น้ำหนักของรถบรรทุกเท่าไหร่ก็ได้ไม่จำกัด อายุข้อสติ๊กเกอร์จะมีสามารถใช้ได้ 1 เดือน

 

สมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย

 

 

อย่างไรก็ตามปัจจุบันรถบรรทุกในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 1.5 ล้านคันกว่า 20-25 % จะต้องมีการจ่ายเงินซื้อสติ๊กเกอร์ หากคิดเป็นตัวเลขกลมๆ จะมีการจ่ายเงินในวงการ "ส่วยทางหลวง" ราวๆ 30 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นเงินที่สูงมากที่ตกไปอยู่ในกระเป๋าของผู้มีส่วนรู้เห็นทั้งฟมด และในแต่ละปีพบรถบรรทุกจ่ายส่วยประมาณ 120,000 คัน หรือคิดเป็นมูลค่าราคา 1,000 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นมูลค่ามหาศาล ขณะที่ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณทั้งในความดูแลของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และท้องถิ่น มากกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อซ่อมแซมถนน

 

 

นายอภิชาติ ระบุต่อว่า ปัญหา "ส่วยทางหลวง" สร้างความเดือดร้อนให้แก่รถบรรทุกคันอื่นๆ ที่ไม่ยอมเงินเพื่อเลี่ยงกฎหมายให้สามารถยรรทุกน้ำหนักได้เกินกว่ากฎหมายกำหนด โดยปัจจุบันรถบรรทุกจำนวนกว่า 4 แสนคันที่อยู่ในสมาคมฯยอมแบกรับค่าต้นทุนการขนส่งที่แพงขึ้น และไม่ยอมจ่ายเงินซื้อสติ๊กเกอร์ส่วยทางหลวง เพื่อตัดวงจรการเก็บเงินใต๊ะแบบผิดกฎหมาย แต่ปัญหาดังกล่าวไม่ได้หมดไปเพราะยังมีขนส่ง หรือ บริเวณเอกชนบางเจ้าที่ยังยอมควักกระเป๋าจ่ายส่วยอยู่ ดังนั้นเพื่อเป็นการตัดวงจรการเก็บ "ส่วยรถบรรทุก" ให้หมดไปตนจึงหวังว่ารัฐบาลใหม่จะจริงจังกลับการแก้ปัญหามากขึ้น และในวันที่ 1 มิ.ย. 2566 เวลา 13.00 น. สมาคมฯจะเดินทางไปยื่นหนังสือ และหลักฐานต่างๆ ที่เก็บรวบรวมเอาไว้ที่พรรคก้าวไกลเพื่อให้พรรคก้าวไกลดำเนินการต่อไปไม่ว่าจะเป็นการยื่นเรื่องไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  และ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ต่อไป 

 

อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง นายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย

 

"30 ปีที่ผ่านมาปัญหาส่วยทางหลวงไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังเลยสักครั้ง ขนส่งจะต้องบอกรับภาระค่าให้จ่ายที่สูงมากขึ้น โดยเฉพาะขนส่งที่ไม่ยอมซื้อสติ๊กเกอร์ ปัฐหาดังกล่าวสร้างความไม่เป็นธรรมในการทำธุรกิจอย่างมาก เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเลือกที่จะใช้วิธีการเก็ยส่วยแลกกับการที่รถบรรทุกไม่ต้องทำตามกฎหมาย เราหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะดำเนินการเรื่องนี้ให้ถูกที่สุด" นายอภิชาติกล่าวทิ้งท้าย 

 

 

อย่างไรก็ตามทางสมาคมฯ ได้เสนอทางออกสำหรับแก้ปัญหา "ส่วยรถบรรทุก" เอาไว้ 3 ข้อ ดังนี้ 

1.เอาผิดผู้ว่าจ้างในการขนส่งสินค้า เช่น โรงโม่ ที่มีการให้เกิดบรรทุกสินค้าเกินน้ำหนัก

2.กรมทางหลวงต้องติดตั้งเครื่องประเมินน้ำหนักรถบรรทุกบนโครงข่ายทางหลวงในระยะทางกว่า 50,000 กม. ให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยอาจจะมีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ไว้ที่พื้นถนน 

3.ไม่ควรตั้งด่านตรวจสอบรถบรรทุกน้ำหนักเกินซ้ำซ้อน เพื่อแก้ปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์จากรถบรรทุก โดยเฉพาะเส้นทางหลัก

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ