ชีวิตดีสังคมดี

เช็กกฎหมาย 'ตรวจแอลกอฮอล์' แบบใหม่ วิธีวัดทำอย่างไร ทำไมขัดขืนถือว่าเมา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็กกฎหมาย 'ตรวจแอลกอฮอล์' แบบใหม่ วิธีตรวจวัดทำอย่างไร ปริมาณแอลกอฮอล์เท่าไหร่เท่ากับเมา กฎหมายใหม่ขัดขืนถือว่าเมาทันที อ่านรายละเอียดที่นี่

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมติหลักการกฎหมาย "ตรวจแอลกอฮอล์" แบบใหม่ หรือ ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ออกตามความใน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ เพื่อเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่  เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับ 13 ) พ.ศ. 2565 รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ถือว่าเป็นความผิดให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่แต่ละประเภท 

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง "ตรวจแอลกอฮอล์" จะเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 หรือ ตรวจแอลกอฮอล์แบบใหม่ ครอบคลุมถึงการตรวจพิสูจน์บุคคลที่อยู่ในภาวะที่สามารถให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์การมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายได้ แต่ไม่สามารถทดสอบด้วยวิธีการตรวจวัดจากลมหายใจได้ รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ถือว่าเป็นความผิดให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่แต่ละประเภท 

สำหรับวิธี "ตรวจวัดแอลกอฮอล์" แบบใหม่ จะใช้วิธีการ ดังนี้  

1.วิธีตรวจหรือทดสอบ ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้วิธีการ

  • ตรวจวัดลมหายใจ โดยวิธีเป่าลมหายใจ
  • ตรวจจากเลือด (ต้องได้รับความยินยอม)
  • ตรวจวัดจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ โดยกำหนดให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่นด้วยวิธีการทางการแพทย์ที่เจ็บปวดน้อยที่สุด และไม่เป็นอันตรายอย่างอื่น ซึ่งจากเดิมกำหนดให้ตรวจจากปัสสาวะ เป็น ตรวจจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ

 

2.เจ้าหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแลพแพทย์ กรณีมีอุบัติเหตุจากการขับขี่และมีพฤติการณ์ที่เชื่อว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลอาจจะเป็นผู้ขับขี่ได้กระทำการฝ่าฝืนในขณะเมาสุราหรือเมาของอย่างอื่นให้ดำเนินการสอบสวนข้อมเท็จจริงว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ทุกกรณี  เช่น บุคคลที่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์ 

 

3.กรณีผู้ขับขี่ไม่ให้ความยินยอม ในการ "ตรวจแลอกอฮอล์" ด้วยลมหายใจ ให้พนักานสอบสวนดำเนินดารดังนี้  

  • ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งเป็นหนังสือขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายบุคคล ภายใน 3 ชั่วโมง
  • ให้แพทย์เก็บตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่น และให้ออกหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว
  • ให้สันนิษฐานว่าบุคคลที่เป็นผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควรนั้นมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

 

 

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดตามที่กฎหมาย "ตรวจแอลกอฮอล์" กำหนด มีดังนี้ 

1.กรณีตรวจวัดจากเลือด (เจาะเลือด) หากผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์สำหรับบางกรณี เช่น ผู้ขับขี่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ผู้ขับขี่ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว เป็นต้น หรือกรณีผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 

2.กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะให้เทียบกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน  ดังนี้ 

  • กรณีตรวจวัดจากลมหายใจ จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 80 ซึ่งเทียบได้ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
  • กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ จะต้องวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากปัสสาวะได้ค่าเท่าใดให้คูณด้วยเศษ 1 ส่วน 1.3 
logoline

ข่าวที่น่าสนใจ