ชีวิตดีสังคมดี

'เงินกลุ่มเปราะบาง 2567' เช็กรอบโอนในแต่ละเดือน 3 กลุ่ม เงินเข้าวันไหนบ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'เงินกลุ่มเปราะบาง 2567' เช็กรอบโอนในแต่ละเดือน ทั้ง 3 กลุ่ม เงินอุดหนุนบุตร เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ เงินเข้าวันไหนบ้าง อัปเดตล่าสุดที่นี่

'เงินกลุ่มเปราะบาง 2567' เป็นเงินที่รัฐจ่ายให้กลุ่มเปราะบางในแต่ละเดือน ประกอบด้วย เงินอุดหนุนบุตร เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งสามารถรับได้ทุกเดือน โดยมีตารางการจ่ายเงินแต่ละกลุ่ม ดังนี้

 

 

'เงินอุดหนุนบุตร' กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยศูนย์ปฏิบัติการ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด แจ้งปฏิทินการจ่าย 'เงินอุดหนุนบุตร' ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ต.ค. 2566 - ก.ย. 2567) โดย เด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 6 ขวบ สำหรับครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 1 แสนบาทต่อคนต่อปี จะได้รับเงินโอนเข้าบัญชี 600 บาทต่อเดือน

 

 

กำหนดการจ่าย เงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดู เด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีดังนี้

 

  • เดือนมกราคม : วันพุธที่ 10 ม.ค. 2567
  • เดือนกุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 ก.พ. 2567
  • เดือนมีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มี.ค. 2566
  • เดือนเมษายน : วันพุธที่ 10 เม.ย. 2567
  • เดือนพฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 10 พ.ค. 2567
  • เดือนมิถุนายน : วันจันทร์ที่ 10 มิ.ย. 2567
  • เดือนกรกฎาคม : วันพุธที่ 10 ก.ค. 2567
  • เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 ส.ค. 2567
  • เดือนกันยายน : วันอังคารที่ 10 ก.ย. 2567
  • เดือนตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ต.ค. 2567
  • เดือนพฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พ.ย. 2567
  • เดือนธันวาคม : วันอังคารที่ 10 ธ.ค. 2567

 

 

หลักเกณฑ์ของการได้รับ 'เงินอุดหนุนบุตร' 600 บาท

 

  • เด็กต้องมีสัญชาติไทย พ่อแม่ต้องเด็กมีสัญชาติไทย
  • เด็กไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
  • เด็กอยู่ในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

 

 

เงินอุดหนุนบุตร

 

เงินผู้สูงอายุ หรือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือ เงินคนแก่ เป็นสวัสดิการของรัฐ ที่เปิดให้ลงทะเบียนทุกปี ซึ่งการลงทะเบียนขอรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนถึงปีงบประมาณ ที่จะมีอายุครบ 60 ปีโดยปกติ จะเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ จะจ่ายในวันทำการก่อนวันหยุด

 

 

ตารางจ่าย เงินผู้สูงอายุ 2567

 

เดือนมกราคม : วันพุธที่ 10 ม.ค. 2567
เดือนกุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 ก.พ. 2567
เดือนมีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มี.ค. 2567
เดือนเมษายน : วันพุธที่ 10 เม.ย. 2567
เดือนพฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 10 พ.ค. 2567
เดือนมิถุนายน : วันจันทร์ที่ 10 มิ.ย. 2567
เดือนกรกฎาคม : วันพุธที่ 10 ก.ค. 2567
เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 ส.ค. 2567
เดือนกันยายน : วันอังคารที่ 10 ก.ย. 2567
เดือนตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ต.ค. 2567
เดือนพฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พ.ย. 2567
เดือนธันวาคม : วันจันทร์ที่ 9 ธ.ค. 2567

 

 

เงินผู้สูงอายุ 2567 ได้เท่าไร

 

  • ผู้สูงอายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน 
  • ผู้สูงอายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน 
  • ผู้สูงอายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน 
  • ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน

 

 

ผู้สูงอายุ

 

 

เบี้ยคนพิการ หรือ เบี้ยยังชีพคนพิการ เป็นหนึ่งในสิทธิที่อยู่ใน "กลุ่มเปราะบาง" ซึ่งจะได้รับเฉพาะผู้ที่ขึ้นทะเบียนมีบัตรประจำตัวคนพิการถูกต้อง และมีสิทธิลงทะเบียนขอรับเบี้ยคนพิการ จะได้รับคนละ 800-1,000 บาท/เดือน จะจ่ายเป็นเงินสด หรือจ่ายผ่านบัญชีธนาคาร ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน แต่หากวันใดตรงกับวันหยุด เงินจะโอนเข้าก่อนวันหยุดนั้น และสิ้นสุดลงเมื่อคนพิการเสียชีวิต หรือ แจ้งขอสละสิทธิ

 

  • เดือนมกราคม : วันพุธที่ 10 ม.ค. 2567
  • เดือนกุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 ก.พ. 2567
  • เดือนมีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มี.ค. 2567
  • เดือนเมษายน : วันพุธที่ 10 เม.ย. 2567
  • เดือนพฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 10 พ.ค. 2567
  • เดือนมิถุนายน : วันจันทร์ที่ 10 มิ.ย. 2567
  • เดือนกรกฎาคม : วันพุธที่ 10 ก.ค. 2567
  • เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 ส.ค. 2567
  • เดือนกันยายน : วันอังคารที่ 10 ก.ย. 2567

 

 

พิการแบบไหนถึงได้เบี้ยคนพิการ 

 

  • ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 800 บาทต่อเดือน

 

 

คุณสมบัติรับ เบี้ยคนพิการ 

 

  • มีสัญชาติไทย
  • มีบัตรประจำตัวคนพิการ
  • มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
  • ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนส่วนใหญ่จากรัฐ
  • คนพิการซึ่งได้รับสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือระเบียบอื่น ไม่เป็นการตัดสิทธิที่คนพิการจะได้รับสิทธิตามระเบียบ

 

 

ผู้พิการ

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ