ชีวิตดีสังคมดี

"Gaslighting" พฤติกรรมสุดยี้ลดทอนความมั่นใจ ด้อยค่า พาเหยื่อสู่ ซึมเศร้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"Gaslighting" พฤติกรรมสุดยี้ลดศักดิ์ศรีความเป็นคน ลดทอนความมั่นใจ ด้อยค่า พาเหยื่อดิ่งจนถึงจุดซึมเศร้า แนะวิธีให้สังคมพาเหยื่อหลุดพ้น ความเลวร้าย

ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ให้สัมภาษณ์กับคมชัดลึก ถึงพฤติกรรม "Gaslighting" จากรณีของพิธีกร เน็ตไอดอลสายวิทยาศาสตร์ ว่า พฤติกรรม "Gaslighting" เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเหยื่อ หรือ คนที่ตกอยู่ในความสัมพันธ์ มากกว่าพฤติกรรมการบูลลี่ เพราะ "Gaslighting" สร้างความเสียหายต่อความรู้สึกอย่างรุนแรง ทำให้เสียความมั่นใจ และนำมาสู่ ภาวะซึมเศร้า ได้เช่นกัน  นอกจากนี้ พฤติกรรม "Gaslighting" ยังเปรียบเสมือนการเหยียดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ลดทอนความเป็นคน มองคนอื่นไม่ใช่คนเท่ากับตัวเอง 

ลักษณะและพฤติกรรมดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นการทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวชมเพื่อให้ประโยชน์ และด่าทอเมื่อหมดประโยชน์ ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบความสัมพันธ์ในที่ทำงาน หรือความสัมพันธ์แบบคู่รัก  โดยคนที่กระทำมักจะทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่ต้องการ มีคุณค่า หรือมีการเติมเต็มจุดอ่อน จุดด้อยของผู้ถูกกระทำ สร้างให้เหยื่อรู้สึกพึงพอใจและมีความสุขกับสิ่งที่ได้รับ หลังจากนั้นก็เริ่มด่าทอ ดุด่า หรือทำให้รู้สึกหมดคุณค่าในตัวเอง และรู้สึกแย่ เหยื่อที่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้นานๆ มีสิทธิเกิดภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน 

ดร.ศรีดา อธิบายต่อไปว่า  แต่ในเหยื่อบางคนที่มีความตระหนักรู้ และมีพื้นฐานชีวิตที่ดีอยู่แล้วไม่ได้สู้สึกว่าขาดหาย หรือมีจุดด้อยใดๆ ก็จะสามารถพาตัวเองออกมาจากการถูก "Gaslighting" ได้แต่กลุ่มเหยื่อที่น่าเป็นห่วงคือคนที่มีปัจจัยต้นทุนชีวิตต่ำ ไม่มีคนคอยสนับสนุน มีสิทธิสูงมากที่จะฆ่าตัวตาย ดังนั้นพฤติกรรมดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 

 

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่สังคมจะสามารถช่วยเหลือเหยื่อ หรือคนที่ตกอยู่ในภาวะถูก "Gaslighting" คือจะต้องเริ่มต้นที่ตัวเองโดยการเอาตัวเองออกมาจากจุดนั้นก่อน ทำความเข้าใจกับตัวเองว่ามีความพร้อมที่จะออกมาจากจุดนั้นหรือยัง สิ่งสำคัญคือจะต้องมั่นใจว่าเราดีพอ เราสวยพอที่จะไม่ต้องการให้ใครมาควบคุมตัวเองด้วย "Gaslighting" 

 

 

สังคมจะต้องไม่ตัดสินจากสิ่งที่เห็นเท่านั้น เพราะหลายครั้งที่เหยื่อไม่กล้าออกมาพูดความจริง เพราะกลัวการตัดสินจากสังคม กลัวโดคนตีตราว่าว่าเป็นคนเลวเอง เป็นคนที่ยอมเป็นเหยื่อเอง เพราะทุกวันนี้สังคมจะมองเห็นแค่ตอนปลายเรื่องเท่านั้น  รวมไปถึงกระบวนการยุติธรรม หรือกฎหมายที่มีขั้นตอนให้เหยื่ออธิบายขั้นตอนหรือสิ่งที่เกิดขึ้นแบบละเอียดเกินไป เป็นเหมือนการละเมิดเหยื่ออีกซ้ำๆ   

 

 

ดร.ศรีดา ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า นอกเหนือไปจากการช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในภาวะ "Gaslighting" แล้ว สิ่งที่จะต้องทำอย่างเด็ดขาดคือการแยกตัวคนต้นเรื่องออกจากสังคม ตรวจสุขภาพจิต เพราะคนที่พฤติกรรมแบบนี้ถือว่ามีความอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะการปล่อยให้เข้าใจเด็กและเยาวชน  ดังนั้นการเลิกจ้างอาจจะยังไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงควรมีมาตรการกันคนลักษณะแบบนี้ออกจากสังคม  นอกจากนี้เราไม่ควรจะปิดบังตัวตน ใบหน้าของคนกระทำความผิด  เพื่อให้สังคมหรือเยาวชนได้รับรู้ และป้องกันตัวเอง ที่สำคัญที่สุดสังคมจะต้องออกมาแสดงพลังโดยเฉพาะคนที่ตกเป็นเหยื่อ เพราะหากมีคนออกมาจำนวนมากมันจะช่วยลดพลังของผู้กระทำให้อ่อนแอลงได้    

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ