ชีวิตดีสังคมดี

เสี่ยงติดเอชไอวี 'รับยา prep ฟรีได้ที่ไหน' เช็ก 271 รพ.รัฐให้ prep และ pep ฟรี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี 'รับยา prep ฟรีได้ที่ไหน' เช็ก 271 โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ สรุปครบ prep ต้องกินตอนไหน ส่วน pep ต้องกินตอนไหน ตรวจสอบวิธีการใช้ยาต้านไวรัสแบบถูกต้อง ที่นี่

เกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือที่ทุกคนมักจะเรียกกันว่าโรคเอดส์ กันอีกครั้ง หลังจากที่มีหญิงสาวรายหนึ่งออกมาสารภาพว่า มีการปล่อยเชื้อเอชไอวี ให้กับผู้ชายหลายคนตลอดระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา โดยการ One Night Stand เรื่องราวการแพร่เชื้อเอชไอวี ของหญิงสาวรายดังกล่าวที่เธอระบุว่าได้รับเชื้อมาตั้งแต่เกิดสร้างความตื่นตระหนกได้อย่างมาก แต่ยังทำให้สังคมไทยกลับมาตระหนักถึงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยการสวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธุ์ด้วย

สำหรับโรคเอดส์ หรือการติดเชื้อเอชไอวีในโลกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่สังคมจะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งปัจจุบันยังมีวิธีการรักษาและให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประกอบกับข้อมูลทางแพทย์ได้ระบุว่า การรับเชื้อเอชไอวียังไม่เท่ากับการเป็นโรคเอดส์ โดยยาที่ป้องกันการติดเชื้อมีทั้ง 2 ชนิดคือ ยาเพร็พ (PrEP) และ ยาเพ็พ (PEP) โดยทั้ง 2 ตัว มีกระบวนการในการใช้ยา และออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ประชาชน คนทั่วไป สามารถรับได้สถานบริการ โรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีจะต้องได้รับยาต้านไวรัส ยาเพร็พ (PrEP) หรือ ยาเพ็พ (PEP) โดยยาทั้ง 2 ตัวมีความแตกต่างดังนี้

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย อธิบายเอาไว้ว่า

ยาเพร็พ (PrEP) หมายถึง ยาต้านไวรัสป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือก่อนจะมีความเสี่ยง โดยมีงานวิจัยยืนยันชัดเจนว่าสามารถป้องกันการรับเชื้อ HIV ได้ “เกือบ 100%” ซึ่งผู้ที่จะรับบริการยา PrEP จะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงจากเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาก่อนได้รับยา และครั้งต่อไปหากผู้รับบริการมีวินัยในการทานยาที่ดี ก็สามารถที่จะตรวจเลือดและรับยากลับบ้านได้เลย โดยที่ไม่ต้องพบผู้ให้คำปรึกษา (PrEP Express)

 

 

ยาเพ็พ (PEP) หมายถึง ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน ที่จ่ายให้กับผู้ใช้บริการที่เพิ่งไปสัมผัสกับเชื้อเอชไอวีมา ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยผู้รับบริการสามารถเข้ามาขอคำปรึกษาจากเจ้าที่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเสี่ยง ซึ่งหากผลการตรวจเลือดในวันนั้นไปพบว่ามีการติดเชื้อ HIV ผู้ใช้บริการจะได้รับยาไปเพื่อป้องกันตนเองไม่ให้รับเชื้อ HIV ได้เลย

 

 

Prep ต้องกินอย่างไร

  • สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงโดยอาจจะไม่ใช้ช้ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง หรือเคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่หลังจากการตรวจเลือดต้องมีผลเลือดลบ
  • กินยาเป็นประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
  • ตรวจเลือดทุก ๆ 3 เดือน สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เกือบ 100% ถ้าทำตามเงื่อนไข แต่ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ เช่น หนองใน หนองในเทียม หรือซิฟิลิส

 

 

Pep ต้องกินอย่างไร

  • ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่เพิ่งสัมผัสเชื้อไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  • ต้องได้รับทันที ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  • รับยาติดต่อกัน 28 วัน รับยาเร็ว สามารถป้องกันการติดเชื้อได้กว่า 80% หากติดเชื้ออยู่แล้ว ไม่สามารถใช้ได้

 

รับยา prep ที่ไหน

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี โดยการตรวจเลือดที่คลินิกเทคนิคทางการแพทย์ภาคประชาสังคม จากนั้นส่งผลตรวจและสั่งจ่ายยาโดยแพทย์และเภสัชกรในสถานพยาบาลรัฐ

 

"รับ prep ฟรีได้ที่ไหน"

อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถรับยา prep และ pep ได้โดยไม่มีความใช้จ่ายแต่จะต้องรับบริการในโรงพยาบาลของรัฐ ทั้งหมด  271 แห่งทั่วประเทศ

 

ภาคเหนือ

โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชยีงของ

โรงพยาบาลนครพิงค์

โรงพยาบาลชุมชนเชียงดาว

โรงพยาบาลทั่วไปฝาง

โรงพยาบาลชุมชนสันป่าตอง

โรงพยาบาลชุมชนไชยปราการ

โรงพยาบาลทั่วไปน่าน

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว

โรงพยาบาลชุมชนเชียงม่วน

โรงพยาบาลทั่วไปแพร่

โรงพยาบาลศูนย์พุทธชินราช

โรงพยาบาลชุมชนวัดโบสถ์

โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวร

โรงพยาบาลทั่วไปศรีสังวาลย์

โรงพยาบาลทั่วไปลำพูน

โรงพยาบาลชุมชนแม่ทา

โรงพยาบาลชุมชนลี้

โรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์

โรงพยาบาลชุมชนน้ำปาด

โรงพยาบาลชุมชนพิชัย

โรงพยาบาลชุมชนลับแล

 

 

ภาคกลาง

โรงพยาบาลเลิดสิน

โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

โรงพยาบาลวชิรโรงพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์

วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์

โรงพยาบาลกลาง

โรงพยาบาลตากสิน

โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ ชุตินธโร อุทิศ

โรงพยาบาลเจรญกรุงประชารักษ์

ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 – บางซื่อ

 

ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 – ดินแดง

ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 – ประชาธิปไตย

ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 – วัดธาตุทอง

ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 – วัดปากบ่อ

ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 – สี่พระยา

ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 – ห้วยขวาง

ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 – เจ้าคุณพระประยูรวงศ์

ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 – กรุงธนบุรี

ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 – ช่วงนุชเนตร

ศูนย์บริการสาธารณสุข 36 – บุคคโล

ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 – คลองเตย

ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 – มีนบุรี

ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 – นาควัชระ อุทิศ

ศูนย์บริการสาธารณสุข 61 – สังวาลย์ ทัสนารมย์

ศูนย์บริการสาธารณสุข 64 – คลองสามวา

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหดล

โรงพยาบาลศิริราช

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

โรงพยาบาลสิรินธร

คลินิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

พริบตาแทนเจอรีนสหคลินิก

โรงพยาบาลกำแพงเพชร

โรงพยาบาลชุมชนคลองขลุง

โรงพยาบาลชุมชนพรานกระต่าย

โรงพยาบาลทั่วไปพหลพลพยุหเสนา

โรงพยาบาลทั่วไปมะการักษ์

โรงพยาบาลศูนย์พุทธชินราช

โรงพยาบาลชุมชนวัดโบสถ์

โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวร

โรงพยาบาลชุมชนศรีเทพ

โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหลมเก่า

โรงพยาบาลวิเชียรบุรี

โรงพยาบาลสุโขทัย

โรงพยาบาลชุมชนสรรคบุรี

โรงพยาบาลชุมชนหันคา

โรงพยาบาลศูนย์สวรรค์ประชารักษ์

โรงพยาบาลทั่วไปพิจิตร

โรงพยาบาลชุมชนบางมูลนาก

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน

โรงพยาบาลนครนายก

โรงพยาบาลชุมชนองครักษ์

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

โรงพยาบาลปากเกร็ด

โรงพยาบาลบางกรวย

โรงพยาบาลบำราศนราดูร

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

โรงพยาบาลทั่วไปปทุมธานี

โรงพยาบาลธรรมศาสตรเฉลิมพระเกียรติ

โรงพยาบาลประชาธิปัตย์

โรงพยาบาลทั่วไปเสนา

โรงพยาบาลชุมชนวิเศษชัยชาญ

โรงพยาบาลสระบุรี

โรงพยาบาลพระพุทธบาท

โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม

โรงพยาบาลกำแพงแสน

โรงพยาบาลชุมชนนครชัยศรี

โรงพยาบาลชุมชนห้วยพลู

โรงพยาบาลชุมชนพุทธมณฑล

โรงพยาบาลชุมชนหลวงพ่อเปิ่น

โรงพยาบาลทั่วไปประจวบคีรีขันธ์

ทั่วไปพระจอมเกล้า

โรงพยาบาลชุมชนหนองหญ้าปล้อง

โรงพยาบาลชะอำ

โรงพยาบาลท่ายาง

โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี

โรงพยาบาลชุมชนปากท่อ

โรงพยาบาลทั่วไปสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

โรงพยาบาลสมุทรสาคร

โรงพยาบาลบ้านแพ้ว

โรงพยาบาลเซ็นทรัลปาร์ค

โรงพยาบาลบางบ่อ

 

 

ภาคตะวันออก

โรงพยาบาลระยอง

โรงพยาบาลชุมชนท่าใหม่

โรงพยาบาลชุมชนบางคล้า

โรงพยาบาลบางปะกง

โรงพยาบาลบ้านโพธิ์

โรงพยาบาลพนมสารคาม

โรงพยาบาลแปลงยาว

โรงพยาบาลทั่วไปบางละมุง

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

โรงพยาบาลทั่วไปตราด

โรงพยาบาลชุมชนคลองใหญ่

โรงพยาบาลชุมชนเกาะช้าง

โรงพยาบาลทั่วไปกบินทร์บุรี

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โรงพยาบาลชุมชนคลองหาด

โรงพยาบาลชุมชนวังน้ำเย็น

โรงพยาบาลชุมชนวัฒนานคร

โรงพยาบาลชุมชนเขาฉกรรจ์

โรงพยาบาลวังสมบูรณ์

โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

โรงพยาบาลชุมชนกมลาไสย

โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น

โรงพยาบาลหนองเรือ

โรงพยาบาลน้ำพอง

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน

โรงพยาบาลทั่วไปชุมแพ

โรงพยาบาลชุมชนบ้านไผ่

โรงพยาบาลชุมชนแวงน้อย

โรงพยาบาลชุมชนมัญจาคีรี

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โรงพยาบาลทั่วไปมหาสารคาม

โรงพยาบาลวาปีปทุม

โรงพยาบาลชุมชนจตุรพักตรพิมาน

โรงพยาบาลชุมชนธวัชบุรี

โรงพยาบาลชุมชนพนมไพร

โรงพยาบาลชุมชนโพนทอง

โรงพยาบาลชุมชนหนองพอก

โรงพยาบาลชุมชนเสลภูมิ

โรงพยาบาลชุมชนสุวรรณภูมิ

โรงพยาบาลชุมชนจังหาร

โรงพยาบาลทั่วไปนครพนม

โรงพยาบาลชุมชนโพนสวรรค์

โรงพยาบาลบึงกาฬ

โรงพยาบาลชุมชนพรเจริญ

โรงพยาบาลชุมชนโซ่พิสัย

โรงพยาบาลชุมชนเซกา

โรงพยาบาลชุมชนบุ่งคล้า

โรงพยาบาลทั่วไปเลย

โรงพยาบาลสกลนคร

โรงพยาบาลชุมชนกุดบาก

โรงพยาบาลชุมชนคำตากล้า

โรงพยาบาลชุมชนบ้านม่วง

โรงพยาบาลชุมชนอากาศอำนวย

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

โรงพยาบาลทั่วไปหนองคาย

โรงพยาบาลโพนพิสัย

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

โรงพยาบาลทั่วไปหนองบัวลำภู

โรงพยาบาลโนนสัง

โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

โรงพยาบาลกุดจับ

โรงพยาบาลกุมภวาปี

โรงพยาบาลศรีธาตุ

โรงพยาบาลชุมชนหนองหาน

โรงพยาบาลชุมชนทุ่งฝน

โรงพยาบาลชุมชนไชยวาน

โรงพยาบาลชุมชนบ้านผือ

โรงพยาบาลชุมชนเพ็ญ

โรงพยาบาลชุมชนหนองแสง

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง

โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม

โรงพยาบาลทั่วไปชัยภูมิ

โรงพยาบาลชุมชนเกษตรสมบูรณ์

โรงพยาบาลทั่วไปภูเขียวเฉลมพระเกียรติ

โรงพยาบาลชุมชนแก้งคร้อ

โรงพยาบาลศูนย์มหาราชนครราชสีมา

โรงพยาบาลชุมชนจักราช

โรงพยาบาลชุมชนด่านขุนทด

โรงพยาบาลทั่วไปพิมาย

โรงพยาบาลชุมชนสีคิ้ว

โรงพยาบาลทั่วไปปากช่องนานา

โรงพยาบาลเดอะโกลเดนเกท

โรงพยาบาลทั่วไปเทพรัตน์นครราชสีมา

โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์

โรงพยาบาลทั่วไปนางรอง

โรงพยาบาลศูนย์สรินทร์

โรงพยาบาลปราสาท

โรงพยาบาลทั่วไปมุกดาหาร

โรงพยาบาลชุมชนหว้านใหญ่

โรงพยาบาลทั่วไปยโสธร

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา

โรงพยาบาลชุมชนกุดชุม

โรงพยาบาลชุมชนคำเขื่อนแก้ว

โรงพยาบาลชุมชนป่าติ้ว

โรงพยาบาลชุมชนค้อวัง

โรงพยาบาลชุมชนไทยเจริญ

โรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ

โรงพยาบาลชุมชนกันทรารมย์

โรงพยาบาลชุมชนศรีรัตนะ

ชุมชนเสนางคนิคม

โรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์

โรงพยาบาลทั่วไปวารินชำราบ

โรงพยาบาลชุมชนพิบูลมังสาหาร

โรงพยาบาลชุมชนสิรินธร

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

โรงพยาบาลทั่วไป 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์

โรงพยาบาลนาเยีย

 

ภาคใต้

โรงพยาบาลทั่วไปกระบี่

โรงพยาบาลชุมชนเขาพนม

โรงพยาบาลชุมชนอ่าวลึก

โรงพยาบาลชุมชนลำทับ

โรงพยาบาลชุมชนเหนือคลอง

โรงพยาบาลชุมชนปะทิว

โรงพยาบาลชุมชนหลังสวน

โรงพยาบาลศูนย์มหาราชนครศรีธรรมราช

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง

โรงพยาบาลชุมชนชะอวด

โรงพยาบาลชุมชนท่าศาลา

โรงพยาบาลทั่วไปสิชล

โรงพยาบาลชุมชนขนอม

โรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ

โรงพยาบาลทั่วไปพระพรหม

โรงพยาบาลชุมชนบางไทร

โรงพยาบาลทั่วไปพังงา

โรงพยาบาลชุมชนเกาะยาวชัยพัฒน์

โรงพยาบาลชุมชนกะปงชัยพัฒน์

โรงพยาบาลชุมชนตะกั่วทุ่ง

โรงพยาบาลชุมชนคุระบุรีชัยพัฒน์

โรงพยาบาลชุมชนทับปุด

โรงพยาบาลท้ายเหมืองชัยพัฒน์

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

โรงพยาบาลชุมชนป่าตอง

โรงพยาบาลชุมชนถลาง

โรงพยาบาลทั่วไประนอง

โรงพยาบาลศูนย์สราษฎร์ธานี

โรงพยาบาลทั่วไปเกาะสมุย

โรงพยาบาลชุมชนกาญจนดิษฐ์

โรงพยาบาลชุมชนท่าชนะ

โรงพยาบาลชุมชนบ้านตาขุน

โรงพยาบาลชุมชนหนองจิก

โรงพยาบาลกะพ้อ

โรงพยาบาลทั่วไปพัทลุง

โรงพยาบาลชุมชนกงหรา

โรงพยาบาลชุมชนเขาชัยสน

โรงพยาบาลชุมชนตะโหมด

โรงพยาบาลชุมชนควนขนุน

โรงพยาบาลชุมชนศรีบรรพต

โรงพยาบาลชุมชนป่าพะยอม

โรงพยาบาลยะลา

โรงพยาบาลรามัน

โรงพยาบาลชุมชนนาหม่อม

โรงพยาบาลชุมชนสิงหนคร

โรงพยาบาลควนกาหลง

 

 

ที่มา: สภากาชาดไทย, กระทรวงสาธารณสุข 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ