ชีวิตดีสังคมดี

คน 'ป่วยจิตเวช' ไทยพุ่ง 6 เท่า ซ้ำจิตแพทย์น้อย ยก 5 ประเทศต้นแบบปัญหาป่วยจิต

คนไทย 'ป่วยจิตเวช' พุ่ง 6 เท่า ซ้ำมีจิตแพทย์น้ำกว่าองค์การอนามัยโลกกำหนด วางแผนให้คนไทยเข้าถึงการรับคำปรึกษาผ่านร้านยา เครือข่ายชุมชน ยก 5 ประเทศต้นแบบแก้ปัญหาผู้ป่วยโรคจิตเวชได้ดี

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลจากคลินิกจิตเวชและยาเสพติด พบว่า ในปี 2565 มีผู้ "ป่วยจิตเวช" เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกจำนวน 22,481 ราย ส่วนใหญ่จากอาการ โรคจิต ซึมเศร้า วิตกกังวล คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ขณะที่ผู้ป่วยทางจิตเวชเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในรอบ 6 ปี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการ

ในขณะนี้ที่ผู้ป่วยด้านจิตเวชเพิ่มขึ้น แต่เรากลับพบว่าจิตแพทย์ในประเทศไทยลดน้อยลง โดยขณะนีพบว่า มีจิตแพทย์ประมาณ 1.25 คน ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO)กำหนด โดยปกติแล้วควรมีจิตแพทย์ 1.7 คน ต่อ ประชากร 100,000 คน

จากภาวะผู้ "ป่วยจิตเวช" ในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้น  สถาบันวิจัยวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จึงเห็นความสำคัญของการศึกษาองค์ความรู้และบทเรียนทั้งของต่างประเทศ และการจัดบริการในประเทศไทย เพื่อทบทวนให้เห็นถึงการจัดระบบบริการจิตเวชครบวงจร และประเมินความเป็นไปได้เบื้องต้นในการจัดระบบบริการจิตเวชครบวงจรในประเทศไทย

 

 

โดย พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า การพัฒนาระบบบริการจิตเวชครบวงจรเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น จากการทบทวนนโยบายและมาตรการของประเทศที่มีผลประจักษ์ของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตแบบครบวงจรที่ประสบความสำเร็จ อาทิ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ จะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพจิตในนโยบายสุขภาพองค์รวม โดยมีจุดร่วมที่เหมือนกัน  คือมีการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ด้านสุขภาพจิตโดยคำนึงถึง สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทุกกลุ่มวัย และมีการขยายและพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านสุขภาพจิตไปสู่ชุมชน โดยเฉพาะการเข้าถึงการดูแลรักษา และฟื้นฟูสุขภาพจิต

 

 

สำหรับการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญระดับแผนยุทธศาสตร์ และการขับเคลื่อนในด้านการขยายบริการสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของระบบริการจิตเวชในโรงพยาบาล เช่น นโยบายที่ต้องการให้การดูแลรักษาเกิดขึ้นอย่างครบวงจรและไร้รอยต่อ ความพยายามในการให้มีคลินิกบริการจิตเวชในโรงพยาบาลทุกจังหวัด

 

 

ด้าน ดร.ภญ.นพคุณ ธรรมธัชอารี ผู้จัดการงานวิจัยอาวุโส สวรส. อธิบายเสริมว่า งานวิจัยเรื่องการทบทวนระบบบริการจิตเวชครบวงจรดังกล่าว นับเป็นฐานความรู้ที่สำคัญในการวางแผนพัฒนาการจัดระบบบริการจิตเวช ภายใต้การขับเคลื่อนที่ยึดหลักตามแนวทางสิทธิมนุษยชนสากล และแนวคิดสุขภาพแบบองค์รวมที่ควรมีความเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ระดับบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล องค์กร ชุมชน นโยบาย กฎหมาย และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการพัฒนาระบบบริการจิตเวชครบวงจรควรพัฒนาศักยภาพของการบริการด้านสุขภาพจิตในทุกมิติ โดยเฉพาะเครือข่ายสุขภาพจิตในชุมชน เพื่อให้เกิดการบริการและดูแลด้านสุขภาพจิตที่เข้าถึงง่ายและมีคุณภาพ  ซึ่งร้านยาชุมชนถือว่าเป็นต้นทุนของชุมชน ที่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถยกระดับให้มีบทบาทในการจัดการปัญหาด้านสุขภาพจิตโดยชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพเภสัชกรให้มีความรู้เรื่องยาจิตเวชและงานด้านสุขภาพจิตมากขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลงานวิจัยทำให้เห็นช่องว่างของการพัฒนาเชิงระบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายที่ตอบสนองปัญหาที่เป็นอยู่ได้อย่างแท้จริง

ข่าวยอดนิยม