ชีวิตดีสังคมดี

สถานการณ์ป่วย 'โรคไต' ในไทยแนวโน้มสูงขึ้นป่วยหน้าใหม่ 5 หมื่นกว่าราย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถานการณ์ป่วย 'โรคไต' ในประเทศไทยแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องพบผู้ป่วยรายใหม่ 50,000 กว่าราย สาเหตุโรคเบาหวาน ความดัน กินเค็ม ก่อให้เกิด ไตวายเรื้อรัง ได้กว่า 40%

อัตราการป่วย "โรคไต" ทั่วโลกสูงขึ้น เนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ทั่วโลกพบการเสียชีวิตจาก "โรคไต" มากถึง 1.4 ล้านคน และมีอัตราสูงขึ้นต่อเนื่อง 20%  ส่วนสถานการณ์การป่วยโรคไตในประเทศไทย ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในปี 2565 พบว่า 1 ใน 25 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง กลายเป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรายใหม่ มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3 จำนวน 420,212 ราย ระยะ 4 จำนวน 420,212 ราย และระยะที่ 5 ที่ต้องล้างไตจำนวนกว่า 62,386 ราย

 

 

 

การป่วย "โรคไต" นับว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยจะต้องรักษา และล้างไตไปตลอดชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ระบบสาธารณสุขไทยมุ่งเน้นคือการป้องกัน การคัดกรองไม่ให้คนไทยเกิดภาวะความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไต ด้วยมาตรการ และแนวทางต่างๆ โดยเฉพาะกการป้องกันโรคเบาหวาน และโรคควาดมันโลหิตสูง เพราะทั้ง 2โรคเป็นโรคนำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง 

โดย นพ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงสถานการณ์ผู้ป่วย "โรคไต" ในประเทศไทย ว่า  ข้อมูลจากสมาคมโรคไตระบุว่าในปี 2020 คนไทยป่วนเป็นโรคที่ได้รับการบำบัดแทนไต ฟอกไต และล้างไตผ่านช่องท้องจำนวน 170,774 ราย  ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต 19,772 ราย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ป่วย "โรคไต" รายใหม่ที่ล้างไตผ่านทางหลอดเลือดประมาณ 15,000 ราย และล้างไตทางหน้าทอง 35,000 ราย  นับว่าเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วง

 

 

ดังนั้นในช่วง 2-3 ปี กระทรวงสาธารณสุข จึงพยามยามที่จะลดอัตราผู้ป่วย "โรคไต" จากการลดความเสี่ยง ของโรคนำซึ่งมีอยู่ 2 โรค คือ โรคความดัน และโรคเบาหวานโดยทั้ง 2 โรคที่กล่าวมานั้นส่งผลให้เกิดโรคไตมากถึง 40% โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่มักจะพบว่ามีโรคไตแทรกซ้อนตามมากด้วย เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความซับซ้อน นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง คาร์โบไฮเดตสูง ก็มีผลทำให้เกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต  รวมทั้งการรับประทานเค็มที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคไตได้มากถึง 2 เท่า  

นพ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ

 

 

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา สธ. พยายามที่ลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด "โรคไต" ในคนไทย โดยการรณรงค์ และสร้างความตระหนักรู้ในการควบคุมไม่ให้เกิดโรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคไตนับวาเป็นโรคแฝงที่มากับทั้ง 2 โรค  รวมไปถึงการความเสี่ยงจากการใช้ยา และการใช้ยาแก้ปวดบางชนิด ซึ่งหากสามารถลดความเสี่ยงจากปัจจัยที่กล่าวมาในข้างต้นได้ ก็จะช่วยใหผู้ป่วย "โรคไต" ลดลงตามไปด้วย

 

 

นพ.กฤษฎา กล่าวต่อว่า สำหรับการดูแลผู้ป่วย "โรคไต" ปัจจุบันผู้ป่วยจะเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทั้งในระบบ สปสช. และระบบประกันสังคม โดยรักษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการฟอกไตผ่านทางเส้นเลือด หรือผ่านทางหน้าท้อง ที่จะมีการขนส่งน้ำยาล้างไตให้ถึงบ้าน เพื่อให้เกิดความสะดวก และประหยัดค่าเดินทางมาทำงานล้างไตที่โรงพยาบาล 

 

 

สำหรับแผนการดูแลผู้ป่วย "โรคไต" ที่ผ่านมา สธ. ได้มีการดำเนินการแผนการดูผู้ป่วย และควบคุมไม่ให้คนไทยป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น  ด้วยการคัดกรองผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถือว่าเป็นโรคนำให้ได้ 100%  รวมทั้งการตรวจคัดกรองความเสี่ยง หรือวัดค่าไตอย่างครอบคลุมทุกปี รวมทั้งการให้คำแนะนำและควบคุมอาหารที่มีความเสี่ยงโดยเฉพาะการปรุงอาหารที่มีรสเค็มจัดมากเกินไป  ซึ่ง สธ.ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะสามารถความเสี่ยงในการเกิด "โรคไต" ให้กับคนไทย เพื่อลดโอกาสการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทาย แต่หน่วยงานที่ดูแลจะต้องดำเนินการให้เห็นผลอย่างชัดเจน 

 

 

เพราะที่ผ่านมาต้องบอกว่าเราใช้งบประมาณในการดูแลผู้ป่วยโรตไตค่อนข้างสูง นอกจากนี้การ "โรคไต" เป็นโรคที่ต้องรักษาแบบต่อเนื่อง แม้ว่าระบบการรักษาจะฟรี แต่ครอบครัวคนที่ดูแลจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าอื่นๆ  ซึ่งทางกรมฯ ไม่อย่างให้ครอบครัวคนไทยต้องเผชิญกับภาวะดังกล่าวอีกต่อไป ดังนั้นการป้องกันตั้งแต่ต้นทางจึงเป็นเรื่องหลักที่หน่วยงานจะต้องดูแล มากกว่าการปล่อยให้เกิดผู้ป่วยโรคไตเป็นจำนวนมาก แล้วจึงรักษาทีหลัง 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ