ชีวิตดีสังคมดี

ประกาศ 'แอสปาร์แตม' ก่อมะเร็งเป็นทางการ WHO ให้คำแนะนำควรบริโภคเท่าไหร่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประกาศ 'แอสปาร์แตม' สารแทนความหวานที่ก่อมะเร็งได้อย่างเป็นทางการ WHO ให้ข้อแนะนำควรบริโภค ข้อมูลระบุให้ความหวาามากกว่าน้ำตาล 200 เท่า

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ "แอสปาร์แตม" ซึ่งเป็นสารให้ความหวาน ถูกจัดประเภทเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นไปได้ อย่างเป็นทางการ ภายหลังจากที่ในช่วงต้นเดือนมีกระแสข่าวออกมาว่าเตรียมจะประกาศให้ "แอสปาร์แตม" เป็นสารก่อมะเร็งในวันที่ 14 ก.ค. นี้

 

หน่วยงานวิจัยมะเร็งองค์การอนามัยโลก (IARC) และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญร่วมของ WHO และองค์การอาหารและเกษตรว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร (JECFA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ พร้อมเผยแพร่ผลประเมินอันตรายความเสี่ยง สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" โดยจัดอยู่ในกลุ่มเป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็ง หรือ Group 2B แต่ยังสามารถบริโภคได้ โดยกำหนดไม่เกิน 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

อย่างไรก็ตาม WHO ได้เตือนว่า ผู้บริโภคไม่ควรตื่นตกใจในเรื่องนี้จนเกินไป เนื่องจากผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม มีการควบคุมปริมาณการใช้ สารแอสปาร์แตม วัตถุประสงค์ของการออกแถลงการณ์ดังกล่าว เพื่อให้เกิดการประเมินอันตรายจากการใช้สารแอสปาร์แตม และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม

 

 

ขณะที่ยังคงรักษาคำแนะนำเกี่ยวกับการจำกัดการบริโภค "แอสปาร์แตม" ในแต่ละวัน ได้เสนอให้บริษัทต่างๆ พิจารณาประเมินสูตรส่วนผสมของตนใหม่เพื่อลดการใช้สารให้ความหวาน

 

 

ผู้อำนวยการแผนกโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหารของ WHO ระบุส่าว่า องค์กรไม่ได้แนะนำให้บริษัทต่างๆ ถอนผลิตภัณฑ์หรือแนะนำผู้บริโภคให้หยุดบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แต่ให้บริโภคในปริมาณที่พอเหมาะแทนปู้ผลิตสามารถงเปลี่ยนแปลงสูตรผลิตภัณฑ์ และการเลือกส่วนผสมที่ทำให้อร่อยโดยไม่ต้องใช้สารให้ความหวานได้

 

 

จากข้อมูลของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) เผยว่า "แอสปาร์แตม" นั้นหวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า ดังนั้นร่างกายจึงควรได้รับในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยปริมาณที่แนะนำต่อวัน ได้แก่

-องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administratio หรือ FDA) แนะนำว่า ไม่ควรเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

 

-หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority หรือ EFSA) แนะนำว่า ไม่ควรเกิน 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

 

 

 IARC จำแนกประเภทอาหารและพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง 4 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มที่ 1 สารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Carcinogenic to Humans) เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป, แร่ใยหิน, แคดเมียม, ยาสูบ
2. กลุ่มที่ 2 2A สารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์(Probably Carcinogenic to Humans) เช่น อาชีพช่างทำผม, คนทำงานกลางคืน
3. กลุ่มที่ 3 2B สารที่มีความเป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็งในมนุษย์ (Possibly Carcinogenic to Humans) เช่น ว่านหางจระเข้, ผักดอง, คลื่นโทรศัพท์มือถือ
4. กลุ่มที่ 4 ไม่สามารถจำแนกประเภทได้ (Not classifiable as to its carcinogenicity to humans) 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ