ชีวิตดีสังคมดี

รู้จัก 'แอสปาร์แตม' คืออะไร ล่าสุด WHO เตรียมประกาศเป็นสารก่อมะเร็ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้จัก 'แอสปาร์แตม' สารให้ความหวานแทนน้ำตาลคืออะไร หลังจากที่ WHO เตรียมประกาศให้เป็นสารก่อมะเร็ง เตือนเครื่องดื่มน้ำตาล 0% เสี่ยงอันตราย

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในวันที่ 14 ก.ค. 2566  เตรียมประกาศ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล "แอสปาร์แตม" (Aspartame) ให้เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก่อก่อมะเร็ง (possible carcinogen)ข้อมูลจาก WHO มีความสอดคล้อง  กับ องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer:IARC)ได้ สร้างความตื่นตระหนกและวิตกกังวลให้กับผู้บริโภคสารแทนน้ำตาลชนิดดังกล่าว ซึ่งถือเป็นส่วนผสมหลักในน้ำอัดลมแคลอรีต่ำและ เครื่องดื่มน้ำตาล 0% หมากฝรั่ง

 

 

โดยข้อมูลจาก IARC ระบุว่าเตรียมจัดให้ "แอสปาร์แตม" อยู่ในกลุ่ม สารที่มีความเป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็งในมนุษย์ (possible carcinogenic) ซหมายถึงมีหลักฐานยืนยันจำนวนจำกัดจากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยพบการก่อมะเร็งในมนุษย์หรือสัตว์ทดลองเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้น ซึ่งยังถือว่าเป็นหลักฐานที่ไม่หนักแน่นพอและไม่อาจใช้สรุปได้ว่าเป็นสารก่อมะเร็งอย่างแน่นอนหรือไม่ 

สาร "แอสปาร์แตม" คือ  หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล  "แอสปาร์แตม"  ถือว่าเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทรายมากที่สุด  

 

 

"แอสปาร์แตม" ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิดต่อกัน คือ ฟินิลอลานิน (phenylalanine) และกรดแอสปาติก (aspartic acid) แอสปาเทมให้ความหวานประมาณ 200-300 เท่าของน้ำตาลทรายในปริมาณเดียวกัน

 

 

ข้อเสียของ "แอสปาร์แตม" คือสลายตัวในอุณหภูมิที่สูง จึงมักเห็นคำแนะนำไม่ให้ใช้ในอาหารขณะที่กำลังปรุงบนเตา เพราะอุณหภูมิสูงทำให้  "แอสปาร์แตม" สลายตัว รสชาติของอาหารก็จะเปลี่ยนไปจากที่ปรุงตอนแรก

ส่วนน้ำตาลเทียม (Artificial Sweeteners) เป็นสารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อแต่งเติมรสชาติหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลธรรมชาติ มีทั้งแบบที่ให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน นิยมใช้ในผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลและพลังงาน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก โดยสารให้ความหวานที่นิยมใช้กัน ได้แก่ แอสพาร์เทม (Aspartame) แซ็กคาริน (Saccharin) แอซีซัลเฟม โพแทสเซียม (Acesulfame potassium) ซูคราโลส (Sucralose)  นีโอแทม (Neotame)

 

 

ด้าน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า   หากร่างกายต้องการความหวาน ควรกินน้ำตาลแต่พอดี คือ ไม่ควรกินเกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ร่างกายได้รับต่อวัน โดยเด็กไม่ควรกินน้ำตาลเกิน วันละ 4 ช้อนชา และสำหรับผู้ใหญ่ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน วันละ 6 ช้อนชา และควรจำกัดการกินสารให้ความหวานแทนน้ำตาลอย่าง  "แอสปาร์แตม" ซูคราโลส อะเซซัลเฟมเค และแซลคาริน เลือกกินน้ำตาลจากธรรมชาติหรือน้ำตาลจากผลไม้สด เพราะมีประโยชน์และให้คุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย อุดมไปด้วย วิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร และไฟโตนิวเทรียนท์ แต่ถึงแม้ว่าน้ำตาลในผลไม้จะมีคุณค่าต่อร่างกาย แต่ไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัดมากเกินไป ควรเลือกผลไม้หวานน้อย เช่น กล้วย แอปเปิล ส้ม ฝรั่ง สาลี่ แตงโม สตรอว์เบอร์รี และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดี 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ