ชีวิตดีสังคมดี

ทำไม 'ถังดับเพลิงระเบิด' ข้างในบรรจุสารเคมีอะไรบ้าง เปิดปัจจัยคร่าชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำไม 'ถังดับเพลิงระเบิด' ข้างในถังบรรจุสารเคมีอะไร สำหรับใช้ดับเพลิงไว้บ้าง อะไรคือสาเหตุและความเป็นไปได้ที่มีโอกาสทำให้เกิดการระบาดจนคร่าชีวิตนักเรียนโรงเรียนราชวินิต

สาเหตุ "ถังดับเพลิงระเบิด" ระหว่างการซ้อมดับเพลิงของ โรงเรียนราชวินิต ส่งผลให้มีนักเรียนเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บกว่า 10 ราย  โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้ "ถังดับเพลิงระเบิด" ระหว่างที่ใช้งาน  

 

 

 

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ "ถังดับเพลิงระเบิด" นั้นยังคงทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่าเพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้ถังระเบิด และข้างในถังดับเพลิงบรรจุสารเคมีอะไรไว้บ้าง 

ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า ในถังดับเพลิง 1 ถัง จะมีการสารเคมีบรรจุอยู่ข้างใน ได้แก่ ผงเคมีแห้ง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ที่จะถูกอัดเข้าไปภายในถัง โดยส่วนใหญ่ ถังดับเพลิง แต่ละยี่ห้อ ก็จะมีการใช้สารเคมีที่แตกต่างกัน แค่สารแคมันทั้ง 2 ชนิด จะเป็นสารตั้งต้น และสารเคมีชนิดหลักๆ  ที่จะต้องมีในถังดับเพลิงโดยในหลักการ การดับเพลิงนั้นขะต้องใช้แรงดันภายในเพื่อฉีดสารเคมีออกมา 

 

 

สำหรับปัจจัยที่มีความเสี่ยงจะทำให้ "ถังดับเพลิงระเบิด" เบื้องต้นอาจจะเกิดจากควาดมันที่มากจนเกินไป  เพราะโดยปกติแล้ว ถังดับเพลิงจะมีแรงดันภายใน 1,800 PSI หรือ ประมาณ 126 กิโลกรัม/ตารางเมตร   หากมีการอัดที่มากจนเกินความจุส่งผลให้เกิดแรงดันที่มากเกินไป และระเบิดได้ 

 

นอกจากนี้ความเสี่ยงที่ทำให้ "ถังดับเพลิงระเบิด" ได้คือการเก็บรักษาในอุณภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนจนเกินไป  และตรวจสอบสภาพถังตลอดเวลา เพราะหากถังดับเพลิงที่เก่าจนเกินไป เมื่อมีการนำมาใช้งาน จะไม่สามารถทนต่อแรงดันได้ และจะส่งผลให้ถังระเบิด  

 

 

ข้อมูลจาก Santo Fire กรุ๊ประบุถึงประเภทถังดับเพลิง เอาไว้ดังนี้  

  • เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles)

เพลิงไหม้ class A มีสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย หรือของแข็ง ที่สามารถพบได้ทั่วไปตามอาคาร ที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า เช่น ไม้ ผ้า ขยะ พลาสติก กระดาษ เป็นต้น ซึ่งเพลิงประเภท A สามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า

 

 

  • เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids)

เพลิงไหม้ class B มีสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวที่สามารถติดไฟ และก๊าซที่สามารถติดไฟได้  โดยของเหลวที่สามารถติดไฟมักมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าซ ที่สามารถพบได้ตามปั๊มน้ำมัน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และโรงงานที่ผลิตสีบางชนิด โดยเพลิงประเภท B สามารถดับได้ด้วยการตัดออกซิเจนในอากาศ

 

 

  • เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment)

เพลิงไหม้ class C มีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดความร้อนสูง หากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าจัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้ โดยเพลิงไหม้ประเภท C จำเป็นต้องตัดระบบไฟฟ้าก่อนทำการดับเพลิงทุกครั้ง 

 

 

  • เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals)

เพลิงไหม้ class D มีสาเหตุมาจากโลหะที่สามารถติดไฟได้ ที่สามารถพบได้ตามห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง และโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโลหะ เช่น Titanium, Aluminium, Potassium และ Magnesium เป็นต้น โดยเพลิงประเภท D ไม่สามารถดับเพลิงได้ด้วยน้ำเปล่า

 

 

  • เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible Cooking)

เพลิงไหม้ประเภทนี้มีสาเหตุมาจากน้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ของเหลวที่ใช้ประกอบอาหาร สามารถพบได้ตามห้องครัว ร้านอาหาร หรือห้องอาหารตามโรงแรม เป็นต้น 
 

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก: santofire.co.th

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ