
'Soft power' อำนาจละมุน พลังสะกดที่ไม่ต้องใช้อำนาจทางทหาร เศรษฐกิจมาบังคับ
'Soft power' อำนาจละมุน พลังสะกดแบบบางเบา ขยายอิทธิพลได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจบีบคั้นทางทหาร และทางเศรษฐกิจ เพื่อให้คนอื่นเห็นด้วยกับสิ่งที่เราต้องการ
"Soft Power" คำที่คุ้นเคยกันมานานแล้ว แต่เมื่อปีที่ผ่านมาเรามองเห็นภาพคำว่า Soft Power กันชัดเจนมากขึ้น จากกรณีที่ มิลล สาวน้อยนักร้องเพียงหนึ่งเดียวของไทยนำเอาข้าวเหนียวมะม่วงไปกินบนเวทีคอนเสิร์ตคเชลลา (Coachella Valley Music and Arts Festival 2022) ที่เมืองแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เรื่องราวอันโด่งดังของมิลลิ ทำให้คนไทยมองคำว่า "Soft Power" อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเรื่อง "Soft Power" ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ประเทศไทยอาจจะขยับและให้ความสำคัญกับการผลักดัน "Soft Power" ช้าไปกว่าประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างเกาหลีใต้ไปมากทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงประเทศไทยมีของดี และพร้อมจะก้าวไปอวดสายตาคนทั่วโลกในฐานะ "Soft Power" อยู่นานมากแล้ว
Soft Power คือ ซอร์ฟพาวเวอร์ หรือ อำนาจละมุน หรือที่ผู้เชี่ยวชาญอย่าง ศ.โจเซฟ ไนย์ (Joseph S. Nye) อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ให้คำนำยามไว้ว่า มันคือ ความสามารถในการชักจูงใจ ทำให้ผู้อื่นมีความพึงพอใจหรือเต็มใจเปลี่ยนพฤติกรรม ยอมรับ คล้อยตามสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้อำนาจ โดยกลไกหลักที่สำคัญในการใช้ "Soft Power" คือ การสร้างความดึงดูดใจต่อผู้อื่น และผลจากการใช้ "Soft Power" ต้องเกิดจากการดึงดูดใจที่ชักจูงให้คล้อยตามโดยปราศจากการคุกคามหรือการแลกเปลี่ยนสิ่งใด
โดย หลักการของ Soft Power คืออะไร นั้นสามารถสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ การขยายอิทธิพล การเปลี่ยนแปลงความคิด การทำให้ผู้คนมีส่วนร่วม โดยไม่ได้ใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญใดๆ (Hard Power) ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางเศรษฐกิจ อำนาจทางการทหาร เพื่อบีบบังคับให้ประเทศต่างๆ ต้องยอมปฏิบัติตามสิ่งที่เราต้องการ แต่เป็นการใช้ความโดดเด่นทางวัฒนธรรม อาหาร ศิลป เข้ามาดึงดูดความสนใจของต่างชาติ
Soft Power ไทย มีอะไรบ้าง ในประเทศไทยมีการกำหนด ซอร์ฟพาวเวอร์ไว้ 5 ประเภท หรือที่เรียกว่า 5F ได้แก่ Food (อาหาร) Film(ภาพยนต์/ดิจิทัศน์) Fasion(การออกแบบแฟชั่นไทย) Figthing(ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย) Festival (ประเพณีแบบไทย)
โดยตั้งเป้าหมาย ว่าในปี พ.ศ.2570 งานวัฒนธรรมจะมีบทบาทในการส่งเสริมการเติบโตของมูลค่าของสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมต่อ GDP การขยายตัวของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม และบทบาทของประเทศไทยในฐานะ ประเทศผู้ผลิตและเจ้าของความคิดสร้างสรรค์
ตัวอย่างประเทศที่สามารถในการสร้าง "Soft Power" ได้อย่างประสบความสำเร็จแบบสุดๆ จนทำให้ทั่วโลกรู้จักเป็นวงกว้าง เช่น เกาหลีใต้ ซึ่งให้ความสำคัญกับ Soft Power เป็นอย่างมากภายหลังจากเกิดวิกฤตการเงินของเอเชียเมื่อปี 2540 เกาหลีใต้ได้มีการปรับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศใหม่ จากเดิมที่เน้นการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมสินค้าวัฒนธรรมสมัยนิยมเพื่อเป็นการสร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ที่มา: library.parliament.go.th