ชีวิตดีสังคมดี

'โคล้านตัว' ไม่ใช่ตลก ราคาเหยียบแสน ขายได้ทั้งเนื้อยันน้ำเชื้อผสมพันธุ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'โคล้านตัว' โครงการชื่อตลกที่ไม่ได้ตลกแบบชื่อ ราคาซื้อ-ขายเหยียบแสน ขายได้ตั้งแต่เนื้อยันน้ำเชื้อผสมพันธุ์ จับตาฟื้นโครงการหนุนเป็นเป็นอาชีพหลักให้เกษตรอีกครั้ง

เกษตรกรผู้เลี้ยงโค อีกหนึ่งอาชีพที่ไม่ค่อยถูกให้ความสำคัญจากภาครัฐมากหนัก อาจจะเป็นเพราะว่าประเทศไทยยังไมไ่ด้เป็นเจ้าแห่งการส่งออกเนื้อวัวเหมือนกับต่างประเทศ รวมไปถึงการเลี้ยงโคยังเป็นแค่เกษตรเสริมของเกษตรเท่านั้น

 

 

ส่งผลให้ที่ผ่านเราปทบจะไม่เคยเป็นมาตรการที่เกื้อหนุนเกษตรผู้เลี้ยงโคกันแบบเป็นรูปธรรมเลยสักครั้ง แต่ในความเป็นเรากลับพบว่า โค กระบือ กลายเป็นสัตว์ที่มีมูลค่าสูงมาก และสามารถเลี้ยงและคืนกำไรได้อย่างรวดเร็ว

ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลพยายามที่จะส่งเสริมการเลี้ยงโค กระบือ ผ่านโครงการต่างๆ มากมายแต่กลับถูกมองว่าเป็นโครงการที่ทำไม่ได้จริง หรือบางครั้งมีการโยงไปถึงว่าเป็นเอื้อประโยชน์ต่อใครคนใดคนนึง ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปี มีหนึ่งโครงการที่มุ่งเป้าไปที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนั้นคือโครงการวัวล้านตัว ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็นโครงการ "โคล้านตัว" ในช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา จุดเริ่มต้นของโครงการดังกล่าวมีที่ไปที่มาอย่างไร

1.โครงการ "โคล้านตัว"  มีมานานกว่า 20 ปี ตั้งแต่ที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลายคนอาจมองว่านโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายตลก แต่เวลานี้ต้องยอมรับว่า การเลี้ยงวัวนั้น มีรายได้ ทำได้จริง

 

 

2.ย้อนกับไปในอดีต โครงการ "โคล้านตัว" เริ่มต้นในสมัยพรรคไทยรักไทย โดยใช้ชื่อว่า โครงการวัวล้านตัว โดยในช่วงปี 2547 นั้นนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โครงการดังกล่าวมีเงื่อนไข คือ การแจกโค ครัวเรือนละ 2-3 ตัว ชาวบ้านจะต้องเลี้ยง 4 ปี ก่อนขายได้กำไร ต่อมานโยบายนี้ได้ถูกนำไปใช้หาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2548 โดยมีเงื่อนไขแจกโค 5 ล้านตัว 1 ล้านครอบครัว ให้ทุกครัวเรือนที่ยากจน แต่นโยบายดังกล่าวกลับถูกมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์แก่นายทุน

 

 

 

3.ในช่วงที่นายสมศักดิ์ ได้กลับเข้ามาทำงานเป็นรัฐบาลอีกครั้งจึงได้ริเริ่มโครงการ"โคล้านตัว"  ด้วยการร่วมมือกับเอกชน โดยที่ผ่านมามีการมอบวัวให้ชาวบ้านได้เริ่มเลี้ยงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเวลานี้ กว่า 3 ปี 8 เดือน มีชาวบ้านได้วัวไปแล้วทั้งสิ้น 200 ครอบครัว วัวจำนวน 400 ตัว โดยมีลูกวัวแล้วทั้งสิ้น 313 ตัว เป็นตัวผู้ 146 ตัว ตัวเมีย 167 ตัว เรียกว่าเป็นโครงการที่แตก ดอก ออกผล อย่างเป็นรูปธรรม และยังสร้างความยังยืนให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคด้วย

 

 

 

4.นายสมศักดิ์ ยังเคยกล่าวเอาไว้ว่าหลังจากที่ชนะการเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย และได้เป็น สส. จ.สุโขทัย ว่า “การริเริ่มนโยบาย "โคล้านตัว"  มีมากว่า 20 ปี ตั้งแต่ผมเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เวลานี้ก็เป็นนโยบายหาเสียงของหลายพรรคการเมือง ผมเองมีความสุขเพราะสิ่งที่คิดไม่ได้หายไป เมื่อก่อนพูดกับใครมองว่าทำได้หรือ บางคนก็มองเป็นนโยบายตลก เวลานี้ต้องขอบคุณเกษตรกร ที่ทำให้เห็นว่าการเลี้ยงวัวนั้น มีรายได้ ทำได้จริงจากนี้ผมมองว่าภาครัฐต้องกลับมาทบทวนว่าจะทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้และผลักดันให้เป็นอาชีพหลัก หรือ อาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกร"

 

 

5. คงต้องจับตากันต่อไปว่า การกลับมาทำงานเป็นรัฐบาลอีกครั้งของนายสมศักดิ์ จะได้นั่งเก้าอี้กระทรวงที่สามารถขับเคลื่อนโครงการ "โคล้านตัว" ได้ต่อไปหรือไม่ และโครงการดังกล่าวจะถูกนำกลับมาทบทวนอีกครั้งหรือไม่ หากสามารถฟื้นโครงการโคล้านตัวได้ จะถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นโครงการที่เอื้อต่อนายทุนอีกหรือเปล่า หรือโครงการนี้จะถูกออกแบบให้เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแท้จริง จนท้ายที่สุดอาชีพเลี้ยงวัวกลายเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

 

 

 

6.ราคาซื้อ-ขาย วัว ในตลาด ราคาสูงไม่ใช่เล่น

ปัจจุบันราคาโคจะอยู่ที่ประมาณตัวละวัวตัวเมีย 30,000 บาท ตัวผู้ตัวละประมาณ 100,000  บาท  ขึ้นอยู่กับขนาดความสวยงาม และการเลี้ยงดู นอกการซื้อขายตัวโคแล้ว ยังสามารถขายน้ำเชื้อเพื่อการนำไปผสมพันธุ์ต่อ โดยราคาการซื้อ-ขายน้ำเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 900 บาท/หลอด  หรือสูงสุดอยู่ที่ 5,000 บาท /หลอด  สำหรับการซื้อ-ขายวัวผู้เลี้ยงวัวจะนำไปขายที่ตลาดนัดโคกระบือประจำจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายเพื่อนำไปเลี้ยงต่อ หรือบางกรณีเป็นการซื้อเพื่อนำไปเกร็งกำไรต่อ ส่วนการเลี้ยงโคเพื่อขุนไปทำเนื้อส่วนใหญ่จะนิยมใช้โคสายพันธุ์ต่างประเทศ ซึ่งจะมีกรรมวิธีการเลี้ยงที่แตกต่างออกไป เพื่อให้ได้เนื้อวัวที่ดีที่สุด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ